แปลเรียบเรียงจาก http://qz.com/219618/10-charts-that-explain-why-a-slave-probably-caught-the-shrimp-on-your-grill-this-summer/

ถ้าคุณเป็นคนกินอาหารทะเลในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น หรือยุโรป มีโอกาสสูงที่จะเกี่ยวข้องกับการที่ใครบางคนถูกทำร้าย ทรมาน และโดนหลอกลวงก่อนที่จะมาเป็นเมนูกุ้งบนโต๊ะอาหาร นั่นเป็นเรื่องราวที่ต้องอ่านของเดอะการ์เดียน(The Guardian) เรื่องการใช้แรงงานทาสอุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลไทย แผนภูมิต่อไปนี้จะอธิบายเรื่องราวอันสลับซับซ้อนของการที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยใช้แรงงานทาสและขูดรีดคนงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 90 (4.3 ล้านตัน) ของอาหารทะเลที่ผลิตในไทยทั้งหมด 4.6 ล้านตัน นั้นส่งออกไปต่างประเทศ  ประเทศในกราฟด้านล่างนี้เป็นตลาดรายใหญ่:

imports-of-thai-seafood_chartbuilder
​(ที่มา : Accenture)

​อาหารทะเลที่ส่งออกจากไทย จำนวนมากเป็นกุ้ง เป็นอาหารที่คนในประเทศร่ำรวยชอบกิน และประเทศไทยก็ครองเป็นเจ้าอุตสาหกรรมแห่งการส่งออกกุ้ง :

accenture_thailand-imports-of-shrimp

สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของการส่งออกอาหารทะเลของไทยไม่ได้มาจากการประมงในทะเล แต่มาจากการเพาะเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น เรือประมงไทยได้ผลผลิตจากการประมงในทะเลราวร้อยละ 40 น้อยกว่าที่เคยเป็นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา :

shifts-underway-in-thailand-s-seafood-industry-aquaculture-wild-caught_chartbuilder

การทำประมงหลายส่วนเป็นการจับปลาตัวเล็กหรือปลาเป็ด(trash fish) พันธุ์สัตว์น้ำที่คนในประเทศร่ำรวยไม่นิยมบริโภค ปลาเป็ดส่วนใหญ่กลายเป็น”ปลาป่น(fishmeal)”ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ทะเล) ประเทศไทยยังส่งออกปลาเป็ดในรูปของอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์ :

thailand-s-animal-food-exports-animal-food-exports_chartbuilder
​ประเทศไทยเปลี่ยนมาเป็นการประมงทะเลที่จับปลาตัวเล็ก(trash fish) และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง(aquaculture) ด้วยเหตุที่ว่าการประมงพาณิชย์ได้ทำการกวาดล้างพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นการประมงเกินขนาดที่จับเอาพันธุ์ปลาพื้นถิ่นอันมีคุณค่าทุกสายพันธุ์ ขึ้นมาหมด (pdf, p.16, 36):

thailand-boats-per-squm

​(“Characterizing Fishing Effort and Spatial Extent of Coastal Fisheries,” Stewart et al.)

นั่นหมายถึงเรือประมงต้องออกจับปลาไกลออกไปเพื่อหาพันธุ์สัตว์น้ำที่มีราคา รวมถึง ปลาทูน่าและหมึก:

thai-dept-cpue

(Department of Fisheries, Thailand)

ไต้ก๋งเรือเองก็ไม่ต้องการออกเรือไกล เพราะว่ามีค่าโสหุ้ยเพิ่มขึ้น ไหนจะค่าแรงลูกเรือและคนงาน ยิ่งกว่านั้น โครงสร้างประชากรไทยกำลังเข้าสู่สังคมคนชรา:

boaml_aging1
​(Bank of America Merrill Lynch)

ผลคือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก การเลือกงานทำได้ คนไทยจึงไม่ยอมทำงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่มีค่าแรงต่ำ หรืองาน 3D :
thailand-s-crazy-low-unemployment-rate-unemployment_chartbuilder

แทนที่จะลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตหรือจ่ายค่าแรงให้สูงขึ้น เจ้าของเรือประมงได้เอาแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีเศรษฐกิจด้อยกว่ามาแทน :

ejf_migrants

​(ที่มา : Environmental Justice Foundation)

คนงานพลัดถิ่นเหล่านี้ บางคนผ่านกระบวนการค้ามนุษย์โดยตรงจากพม่า ลาว หรือกัมพูชา อีกจำนวนมากถูกขูดรีดแรงงานทันทีที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย คนงานพลัดถิ่นเข้ามาหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจหาได้ในประเทศบ้านเกิดของตน :

purchasing-power-parity-gdp-per-capita-based-on-current-us-dollar-thailand-cambodia-laos-myanmar_chartbuilder

และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไม จากรายงานเจาะลึกของเดอะการ์เดียน(the Guardian) พวกเขาดังที่เห็นในภาพด้านล่างนี้ ได้ถูกขายให้กับเรือประมงในราคาเพียง 420 เหรียญสหรัฐ บ่อยครั้ง พวกเขาต้องโดนทรมาน โดนทุบตี เพื่อมิให้หลบหนีออกมา
myanmar-migrants-thailand-fishing-slavery
คนงานย้ายถิ่นชาวพม่าในท่าเรือประมงใกล้ๆ กรุงเทพฯ (ภาพ: Reuters/Damir Sagolj)