8 กุมภาพันธ์ 2553
นับตั้งแต่ธันวาคมที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่ท้าทายวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) เราควรที่จะกังวลหรือไม่? หรือเป็นเพียงเรื่องราวอันหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ล่าสุดมีเรื่องต่างๆ ที่ลงท้ายด้วยคำว่า “เกท(Gate)” และทั้งหมดเป็นคำถามต่อคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) ต่อไปนี้เป็นแนวทางค้นหาความจริงเบื้องหลัง “เกท(Gate) ต่าง ๆ เหล่านั้น แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ทำไมเรื่องราวเหล่านั้นจึงถูกเรียกว่า “เกท(Gate)”
คดีวอเตอร์เกทซึ่งเป็นคดีที่อื้อฉาวในช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1970 และทำให้ประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาต้องลงจากตำแหน่ง ชื่อ “เกท(Gate)” ถูกตั้งขึ้นเพราะมันเริ่มจากการเข้าไปในโรงแรมวอเตอร์เกทในวอชิงตัน ดีซี หลังจากการลาออกของประธานาธิบดีนิกสัน นายวิลเลียม ซาไฟร์ คอลัมนิสต์หัวอนุรักษ์นิยมและคนร่างสุนทรพจน์ของอดีตประธานาธิบดีนิกสันได้เริ่มเอาคำว่า “เกท(Gate)” พ่วงเข้าไปกับทุกเรื่อง กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผล และในเวลาต่อมาคุณสามารถที่จะทำเรื่องอะไรก็ได้ให้ดูเหมือนเป็นเรื่องอื้อฉาวโดยเพิ่มคำว่า “เกท(Gate)” เข้าไป ทำไมรึ? ก็เพราะว่าส่วนหนึ่ง นายซาไฟร์ต้องการทำให้อาชญากรรมของเจ้านายเก่าของเขาเป็นเรื่องที่ดูจริงจังน้อยลง และส่วนหนึ่งเพื่อทำให้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เขาเขียนดูเป็นเรื่องใหญ่โตจริงจัง (ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่)
และนี้ก็เป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ส่วนผสมนั้นง่ายมาก 1) นำเรื่องเล็ก ๆ มา ต่อท้ายด้วยคำว่า “เกท(Gate)” 2) ใส่เรื่องตื่นตูมเข้าไปเล็กน้อย และ 3) ขยายความให้เกินจริง กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวสำเร็จรูป ใช้ได้บ่อยเท่าที่คุณต้องการ
และต่อไปนี้คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น
แฮกเกอร์เกท(Hackergate)
แฮกกอร์เกทเริ่มจากการนำเสนอผ่านอินเทอร์เนตด้วยอีเมล์ราวหนึ่งพันและเอกสารอีกราวสามพันฉบับจาหน่วยวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมหาวิทยาลัยอีสแองเกลียร์ ซึ่งเป็นแหล่งสุมหัวของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอีเมล์กว่าพันฉบับที่เลือกมา ประโยคที่ถูกหยิบยกเพื่อพยายามทำให้กรณีนี้มีเรื่องที่ลับลมคมในเกิดขึ้น
วีดีโอด้านล่างนี้อธิบายได้อย่างดีทีเดียวว่าเรื่องมันเป็นอย่างไร
หิมาลายันเกท(Himalayagate)
จาก “แฮกเกอร์เกท” ก็ตามมาด้วย “หิมาลายันเกท” ในรายงานการประเมินครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2550 IPCC รายงานว่าธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยอาจหายไปอย่างเร็วที่สุดในปี พ.ศ. 2578 และกลายเป็นว่า คำอ้างดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องและไม่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ต่อมา IPCC ได้ถอนคำอ้าง เนื่องจากมันเป็นข้อผิดพลาด ไม่ใช่การหลอกลวง
นี่ไม่ได้หมายถึงว่าธารน้ำแข็งไม่ได้หดตัวลง แต่เป็นเพียงเพราะว่าอัตราการหดตัวนั้นไม่ได้สูงตามที่ IPCC ที่ได้ระบุไว้ จากกราฟด้านล่างของหน่วยบริการการติตดตามตรวจสอบธารน้ำแข็งแห่งโลก แท่งสีแดงเป็นปีที่ธารน้ำแข็งทั่วโลกหดตัวลงโดยเฉลี่ย แท่งกราฟสีฟ้าเป็นปีที่ธารน้ำแข็งขยายเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นคำตอบง่าย ๆ ว่าธารน้ำแข็งทั่วโลกกำลังเจอปัญหาหรือไม่? เป็นคำถามง่าย ๆ แล้วจะมีแท่งกราฟสีแดงหรือสีฟ้ามากกว่านี้หรือไม่?

อะเมซอนเกท(Amazongate)
จากหิมาลายันเกท เรามี “อะเมซอนเกท” ข้อกล่าวหาของเรื่องนี้คือเชิงอรรถที่อ้างว่าร้อยละ 40 ของผืนป่าอะเมซอนจะล่มสลายลง นั้นเป็นเรื่องผิดพลาด แต่ว่าข้ออ้างนั้นไม่ได้ผิดพลาด เพียงแต่เชิงอรรถนั้นที่ผิด รายงานที่มีเชิงอรรถนั้นไม่ได้รองรับข้ออ้างนั้นโดยตรง แต่รายงานวิทยาศาสตร์อีกอันหนึ่งที่เป็นตัวรองรับ(1) หลังจากนั้น ยังมีรายงานอีกสองฉบับ (2, 3) ที่ยืนยันเรื่องการที่ผืนป่าอะเมซอนอาจจะล่มสลาย ถือเป็นการทำเชิงอรรถที่ใช้ไม่ได้ แต่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่เลว และทั้งหมดก็มีแค่นี้
เรื่องยุคน้ำแข็งน้อย (The Mini Ice Age Story)
ถ้าคุณอาศัยในแถบยุโรปเหนือ หรือทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา คุณได้เจอกับอากาศหนาวเหน็บที่เริ่มในต้นปี พ.ศ. 2553 จากนั้น มีนักข่าวจำนวนมากได้ใช้โอกาสนี้ในการทำให้เป็นส่วนหนึ่งของ “เกท(Gate)” อากาศอันหนาวเย็นถูกนำมาอ้างว่ายุคน้ำแข็งน้อยกำลังจะมาถึง ถ้าเรื่องนี้ดูจะแปลกไปเล็กน้อย ใช่ คุณถูกแล้วล่ะ
เรื่องยุคน้ำแข็งน้อยดังกล่าวนี้ไม่ปรากฎในออสเตรเลีย เพราะว่าคนที่นั่นกำลังลำบากจากอุณหภูมิฤดูร้อนที่สูงเป็นประวัติการณ์ ด้านชายฝั่งตะวันตกของแคนาดาก็ไม่มีเรื่องยุคน้ำแข็งน้อย เพราะว่าทุกอย่างเริ่มอุ่นขึ้นโดยพวกเขาต้องทำการย้ายหิมะทำให้กีฬาโอลิมปิคฤดูหนาวเป็นไปตามแผน ส่วนเขตอาร์กติกในละติจูดสูงนั้นก็อุ่นมากขึ้นกว่าปกติ จริงๆ แล้ว การที่เขตอาร์กติกอุ่นขึ้นคือสาเหตุที่มำให้เกิดมวลอากาศเย็ยในยุโรป
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ให้นักข่าวเข้าถึงอินเทอร์เนต แต่ทำไมจึงมีนักข่าวไม่มากที่ใช้อินเทอร์เนตในการรวบรวมเรื่อง “ยุคน้ำแข็งน้อย” ของพวกเขาซึ่งเป็นอะไรที่เราไม่เคยรู้
อะไรอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
จากการอ่านข่าวกระแสหลัก คุณอาจคิดว่ามีการถกเถียงทางความคิดเห็นเกิดขึ้นในชุมชนวิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีอะไรมากไปกว่าความจริง ความเห็นร่วมในทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอในรายงานของ IPCC นั้นแข็งแกร่งและเชื่อถือได้ นักวิทยาศาสตร์ผู้สงสัยเรื่องภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ (Anthropogenic global warming-AGW) นั้นเหลืออยู่น้อยมากแล้ว ยกตัวอย่างเช่น บล๊อกของโรเจอร์ ฮาราบิน นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของ BBC e-mailed a climate-denier blog ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ขอให้ช่วยหานักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นสักคน เขาเขียนว่า “ผมพยายามคุยกับนักวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักรที่มีตำแหน่งทางวิชาการในปัจจุบันซึ่งมีข้อสงสัยเรื่อง ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ (Anthropogenic global warming-AGW) ผมหาไม่ได้เลยสักคน”
ข้ออ้างที่ไม่เที่ยงตรงอีกอันหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อสรุปของ IPCC ที่ว่าความเสื่อมโทรมของแนวปะการังที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นมาจากรายงานของกรีนพีซล้วน ๆ ข้อเท็จจริงก็คือ ข้อสรุปของ IPCC ในเรื่องนี้ได้ผ่านการทบทวนตรวจสอบอย่างหนักแน่น
เหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา การโจมตี IPCC มาจากกลุ่มรับจ้างของอุตสาหกรรมฟอสซิลหรือผู้ไม่หวังดี
เรื่องเหล่านี้มีความหมายอย่างไรต่อ IPCC
การประเมินทางวิทยาศาสตร์ของ IPCC นั้นเป็นกระบวนการที่หนักแน่นและเชื่อถือได้ อาจถือได้ว่าเป็นภารกิจทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีการจัดตั้งกันมา โดยมีนักวิทยาศาสตร์นับพันจากสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วโลก และข้อมูลอันมหาศาล ด้วยการที่เป็นภารกิจของมนุษย์ ดังนั้น มันจึงไม่สมบูรณ์แบบ รายงานการประเมินที่ถูกตั้งคำถามนั้นมีความหนากว่า 3,000 หน้า และผู้สงสัยและนักข่าวใช้ความพยายามกว่า 2 ปี เพื่อหาข้อผิดพลาด ซึ่งเป็นเพียงเชิงอรรถที่เลว ๆ อันหนึ่ง เรื่องของเทือกเขาหิมาลัยที่มีการระบุโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็เป็นแนวทางอย่างที่มันควรจะเป็น และเช่นเดียวกับคนื่อน ๆ ในเมื่อเราเองใช้รายงานของ IPCC เรากำลังแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดบนเว็บไซต์ของเราทั้งหมด หากคุณหาเจอสิ่งที่เราอาจพลาดไป เขียนมาบอกเรา
กรีนพีซมีความเชื่อมั่นและยังคงเป็นเช่นนั้นต่อ IPCC ไม่มีคู่มือวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่น่าเชื่อถือมากไปกว่ารายงานของ IPCC อีกแล้ว
มีรายงานข่าวในนิตยสารไทม์ reported in the Times ว่า จอห์น ซัวเวน ผู้อำนวยการบริการกรีนพีซสหราชอาณาจักรเรียกร้อง ดร. ราเจนดรา ปาจอรี ประธาน IPCC ลาออก ความคิดเห็นของเขาเก็บมาจากการสนทนาที่ยาวกว่านี้กับนิตยสารไทม์ในที่รับรองแขกและไม่ได้สะท้อนถึงการสนทนาเต็ม ๆ สำหรับกรีนพีซแล้ว เรามิได้เรียกร้อง ดร. ปาจอรีลาออก
วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความชัดเจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจริง และกำลังเกิดขึ้น และเกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทางออกนั้นยังคงอยู่ในเอื้อมมือของเรา โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด การใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด และการปกป้องป่าไม้ หากคุณต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ร่วมเป็น ผู้ปกป้องสภาพภูมิอากาศ ในวันนี้
เชิงอรรถ
[1] Cox, P. M., Betts, R. A., Jones, C. D., Spall, S. A. & Totterdell, I. J. 2000 Acceleration of global warming due to carbon-cycle feedbacks in a coupled climate model. Nature 408, 184–187
[2] Towards quantifying uncertainty in predictions of Amazon ‘dieback’ Chris Huntingford et al Phil. Trans. R. Soc. B 2008 363, 1857-1864
[3] Drought Sensitivity of the Amazon Rainforest Oliver L. Phillips et al Science 323, 1344 (2009);