มีวิธีการที่ใช้วัดการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการรณรงค์เพื่อการผลิตที่สะอาด  วิธีการเหล่านั้นทำให้เราเห็นภาพหรือตัวเลขโดยประมาณของวิธีการผลิตที่ไม่ยั่งยืน และช่วยสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

เครื่องมือชิ้นหนึ่งคือ ทุนทางนิเวศ (Ecological Rucksack) คำนี้ใช้กันในยุโรปเพื่ออธิบายถึงปริมาณของทรัพยากรที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ มักรู้จักกันในนาม วัตถุดิบที่ใช้ต่อหน่วยบริการที่ได้ (Material Input per Unit Service – MIPS) ดัชนีนี้ใช้วัดปริมาณพลังงานและของเสีย (ซึ่งไม่ใช่ของเสียเป็นพิษ) ที่ใช้และเกิดขึ้นในการบริการ

ตัวอย่าง: สถาบันวัปเปอร์ทัลในประเทศเยอรมนีคำนวณผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตน้ำส้ม 1 แก้ว โดยพิจารณาผลกระทบทางด้านปริมาณดิน พลังงาน น้ำ และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้  ผลการศึกษาพบว่าการผลิตน้ำส้ม 1 กิโลกรัม ต้องใช้วัตถุดิบและพลังงานสูงถึง 25 กิโลกรัม

ผลการศึกษานี้ทำให้กลุ่มผู้บริโภคในประเทศเยอรมนีหันมาโฆษณาถึงประโยชน์ของการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่อันป็นผลไม้ในท้องถิ่นซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี แต่ใช้ทุนทางนิเวศต่ำกว่า  พูดอีกนัยหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ซึ่งในที่นี้คือวิตามินซีในน้ำผลไม้ สามารถทดแทนได้ด้วยผลิตภัณฑ์อื่นที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยกว่า