ธารา บัวคำศรี เรียบเรียงจาก Seeing Forests for the Trees and the Carbon: Mapping the World’s Forests in Three Dimensions (By Michael Carlowicz, Design by Robert Simmon -January 9, 2012)
Saatchi กล่าวว่า เขารู้สึกทึ่งมากที่เห็นว่ามีคนจำนวนมากแค่ไหนที่ต้องการข้อมูลแผนที่ จากอีเมล์ที่เขาได้รับเป็นจำนวนมากกล่องอีเมล์ของ Kellndorfer ก็เต็มด้วย นักนิเวศวิทยา ผู้จัดการทรัพยากรป่าไม้ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ นักวางผังเมือง กลุ่มอนุรักษ์ที่ดิน บริษัทสัมปทานไม้ นักสร้างแบบจำลองภูมิอากาศ วิศกรก่อสร้าง นักชีววิทยา นักตกปลาและนักล่าสัตว์ จำนวนนับร้อยต่างก็ค้นหาแผนที่เพื่อนำมาใช้ในงานของเกือบทุกวัน ยังไม่นับถึงแผนที่ป่าไม้ที่จะนำไปใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ หากความตกลงระหว่างประเทศด้านโลกร้อนและตลาดคาร์บอนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลใหม่ด้านป่าไม้ทั่วโลกจะช่วยสังคมในการคาดการณ์และรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Photograph ©2006 *clairity*.)
Doug Morton ซึ่งประจำ ณ สถาบัน Goddard กล่าวว่า “งานที่พวกเราทำกันอยู่นี้จะช่วยระบุคุณค่าทางเศรษฐกิจของป่าไม้ ผู้กำหนดนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์ต้องการรู้ถึงปริมาณคาร์บอนของป่าไม้ในระดับที่ละเอียดมาก และประเทศต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงการประเมินปริมาณคาร์บอนของป่าไม้เพื่อเข้าร่วมในตลาดการค้าคาร์บอน เป็นเกมที่มีเดิมพันสูงในทางนโยบาย”
ประเทศกำลังพัฒนานำเอาประเด็นเรื่องปริมาณคาร์บอนของป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation) หรือ REDD โดยที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปจะถูกเรียกร้องให้ช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยี
Running กล่าวว่า “การซื้อขายเครดิตของคาร์บอนที่เก็บในป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดการค้าคาร์บอน ถ้าตลาดซื้อขายคาร์บอนจะกลายเป็นตลาดที่มูลค่านับพันล้านดอลลาร์แล้วละก็ การรู้ว่ามีปริมาณคาร์บอนเก็ยอยู่ที่ไหนและมีเท่าใดนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องมีแผนการติดตามตรวจสอบในระดับโลกที่ร่วมกันเพื่เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสและชอบธรรม
เอกสารอ้างอิง
AsiaOne News (2011, August 7) Googling Earth to fight graft. Accessed August 30, 2011
Bonan, G.B. (2008, June 13) Forests and Climate Change: Forcings, Feedbacks, and the Climate Benefits of Forests. Science 320, 1444.
Environmental Protection Agency (2010, June 22) Carbon Sequestration in Agriculture and Forestry: Frequent Questions. Accessed September 18, 2011.
Lefsky, M.A. (2010) A global forest canopy height map from the Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer and the Geoscience Laser Altimeter System. Geophysical Research Letters, 37, L15401.
Pan, Y., Birdsey, R., et al (2011, July 14) A Large and Persistent Carbon Sink in the World’s Forests. Science 333, 988–993.
Running, S.W., Nemani, R.R., Townshend, J.R.G., and Baldocchi, D.D. (2009) Next-Generation Terrestrial Carbon Monitoring (PDF). AGU Geophysical Monograph Series 183: Carbon Sequestration and Its Role in the Global Carbon Cycle, 49–69.
Ryan, M.G. (2008, June 4) Forests and Carbon Storage. U.S. Department of Agriculture, Forest Service, Climate Change Resource Center. Accessed September 18, 2011.
Saatchi, S.S. (2011, June 14) Benchmark map of forest carbon stocks in tropical regions across three continents. Proceedings of the National Academy of Sciences, Vol. 108, No. 24, 9899–9904.
Space News (2011, February 25) Two High-priority Climate Missions Dropped from NASA’s Budget Plans. Accessed September 28, 2011.
Tollefson, J. (2009, December 15) Satellites beam in biomass estimates.Nature 462, 834–835.
แหล่งข้อมูล
Jet Propulsion Laboratory (2011) Terrestrial Carbon Cycle Research. Accessed September 15, 2011.
Woods Hole Research Center (2011) National Biomass and Carbon Dataset.Accessed September 15, 2011.
อ่านเพิ่มเติม
NASA Earth Observatory (2011) Notes from the Field: Eco3D—Exploring the Third Dimension of Forest Carbon. Accessed September 15, 2011.
NASA Earth Observatory (2011, June 16) The Carbon Cycle. Accessed September 15, 2011.
NASA Scientific Visualization Studio (2011, April 8) Intro to Lidar 3D. Accessed January 4, 2012.
NASA Earth Observatory (2010, July 22) Forest Canopy Heights Across the United States. Accessed September 15, 2011.
NASA Earth Observatory (2008, February 2) Tree Canopy Height from 1650 to 1992. Accessed September 15, 2011.
NASA Earth Observatory (2008, February 1) Ancient Forest to Modern City.Accessed September 15, 2011.