แปลเรียบเรียงจากบทความของ จุนนิชิ ซาโตะ กรีนพีซญี่ปุ่น
IMG_2647

อุตสาหกรรมล่าวาฬเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากการรับรู้เดิมนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ในช่วงนั้นมีวาฬ 39,000 ตัวถูกฆ่าในแต่ละปี ในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาการล่าวาฬทั่วโลกลดลงเหลือเป้าหมายการฆ่า 1000 ตัว ทว่าในแต่ละปี มีวาฬจำนวนมากกว่าถูกฆ่าจากกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ และปัญหาที่ทำให้ประชากรวาฬลดจำนวนลงทั่วโลกในแต่ละปีนั้นกำลังส่งผลกระทบต่อปลาในท้องทะเล

มหาสมุทรของเรามีการเปลี่ยนแปลงในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ปนเปื้อนมลพิษมากขึ้น เป็นกรดมากขึ้นและมีการทำประมงเกินขนาดมากขึ้น นักนิเวศวิทยาทางทะเลจำนวนมากเห็นร่วมกันว่าการทำประมงเกินขนาดเป็นภัยคุกคุกคามใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเลในปัจจุบัน การบริโภคปลาของเราเกินขีดจำกัดทางนิเวศวิทยาของมหาสมุทร และส่งผลกระทบร้ายแรงโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเตือนว่าการทำประมงเกินขนาดส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งต่อมหาสมุทรของเรา บางทีอาจเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

การบริโภคปลาของเรากำลังเกินขีดจำกัดทางนิเวศวิทยาของมหาสมุทร และการประมงในมหาสมุทรนี้เองได้ทำลายสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมในแต่ละปีกว่า 300,000 ตัว สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ล่าบนสุดของห่วงโซ่อาหารในมหาสมุทรรวมถึงปลากำลังหายไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศมหาสมุทรทั้งหมด ปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจแทนด้วยปลาที่มีขนาดเล็กลงและปลาที่กินแพลงตอนเป็นอาหาร ในศตวรรษนี้เอง เรายังได้เห็นแมงกระพรุนเป็นอาหารมนุษย์แทนปลา

การทำประมงเกิดขนาดยังคุกคามการอยู่รอดของวาฬ นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานกับคณะกรรมาธิการล่าวาฬสากลประมาณว่า มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลอย่างวาฬและโลมาบาดเจ็บและตายจากการติดอวนและเครื่องมือทำประมงนับแสนตัว อุบัติเหตุเรือชนกับ มลพิษ เสียงในทะเลและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มเข้ามา

ในญี่ปุ่น ความต้องการผลิตภัณฑ์จากวาฬเกือบหายไป การบริโภคเนื้อวาฬในญี่ปุ่นลดลงเหลือ 1 ออนซ์ต่อคนต่อปี และส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยกลางคนและผู้อาวุโส เนื้อวาฬที่นำเสนอประมูลในตลาดไม่ได้รับความสนใจและถูกส่งกลับเข้าห้องเย็น การล่าวาฬกำลังจะหมดไปแต่ภัยคุกคามที่มีต่อประชากรวาฬในมหาสมุทรยังคงอยู่และเป็นเรื่องด่วนและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร มิใช่เพียงแต่สัตว์ทะเลพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด

เพื่อปกป้องวาฬ เราจำเป็นต้องฟื้นคืนสุขภาวะของมหาสมุทรของเรา