โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งผลิตซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะฝนกรดและผลกระทบต่อโอโซนระดับพื้นผิว (หมอกควัน) ฝนกรดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสารสองตัวนี้ทำปฏิกิริยากับน้ำ อ็อกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศและก่อให้เกิดกรดกำมะถันและกรดไนตริก

หมอกควันเกิดขึ้นเมื่อออกไซด์ของไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับสารเคมีในอากาศหรือแสงอาทิตย์ หมอกควันนี้ใกล้เคียงกับเขม่า หมอกควันนั้นสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่สภาพแวดล้อม มันสามารถทำลายระบบนิเวศทั้งหมดได้โดยการทำอันตรายต่อพืชและต้นไม้และทำให้พวกมันอ่อนแอและเสี่ยงต่อโรคและสภาวะอากาศที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นหมอกควันยังก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ แก่ผู้คนในวงกว้างเช่น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหอบหืด ปอดเสียหาย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ผลกระทบของสภาพแวดล้อมจากฝนกรดนั้นได้รับการบันทึกไว้เป็นอย่างดีส่วนใหญ่ สืบเนื่องมาจากความเสียหายที่เห็นได้ชัดเจนจนน่าตกใจกับป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้ในสแกนดิเนเวีย

เครื่องมือควบคุมมลพิษ อาทิ  เครื่องชะจับก๊าซหลังเผาไหม้ (flue gas scrubber)ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดสารพิษที่ออกมาจากปล่องควันโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงก็คือ ถ่านหินนั้นยังคงเป็นแหล่งกำเนิดใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวการในการปล่อยกำมะถันจากโรงไฟฟ้า ในปี 2004 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ร้อยละ 95 ของทั้งหมด 10.3 ล้านตัน และร้อยละ 90 ของออกไซด์ของไนโตรเจนจากทั้งหมด 3.9 ล้านตันถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในสหรัฐอเมริกา ราคาของผลร้ายที่เกิดจากฝนกรด หมอกควันและผลกระทบอื่นๆ จากก๊าซเหล่านั้นแพงยิ่งนัก และช่วยให้เราตระหนักถึงราคาที่แท้จริงของถ่านหิน

—————–

จาก ต้นทุนจริงของถ่านหิน : ผู้คนและโลกต้องจ่ายให้กับเชืิ้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกอย่างไร

จัดพิมพ์ภาษาไทยโดยกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คณะผู้เขียน: ดร.อีเรก้า เจอร์บาย, มาไรกา บริทเทน, ไอริช เชง, มาร์ธา คาเมียสกา, เออร์เนส มีแซค, วิคเตอร์ มุนนิค, จายาชรี นานดี, ซารา เพนนิงตัน, เอมิลี โรชอน, นีนา ชลูลซ์, นาฮิญา ชาฮับ, จูเลียน วินเซนต์และเมง ไว เรียบเรียงโดย: รีเบคกา ชอต แอนด์เดอะไรเตอร์

บรรณาธิการแปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย : ธารา บัวคำศรี