การทำเหมืองถ่านหินขัดขวางการทำงานของระบบนิเวศและทำให้มันกลายเป็นกากหางแร่(sand tailings) ดินหน้าแร่(overburden) และหิน(rock) เพียงแค่ในเขตพื้นที่เหมืองแห่งเดียวดินจำนวนกว่าล้านลูกบาศก์เมตรสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเหมืองนั้นได้ ความเสียหายนั้นสมบูรณ์เสียจนพื้นดินบริเวณนั้นเกือบทั้งหมดจะไม่สามารถฟื้นฟูได้
ในบางพื้นที่ มีความพยายามในการฟื้นคืนพื้นที่เสียหายบางแห่งให้กลายเป็นผืนดินที่ใช้ทำมาหากินได้ แต่อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของพื้นที่ได้รับผลกระทบที่สามารถนำมาฟื้นฟูได้หลังจากการทำเหมืองแล้วนั้นยังเปิดให้พิจารณากันอยู่ ผิวดินบนยอดเขาไม่สามารถฟื้นฟูได้เมื่อถูกระเบิดทำลายไปแล้ว หุบเขาและลำธารที่ถูกดินนับล้านตันทับถมกันอยู่ก็ไม่อาจฟื้นฟูได้ และโพรงหลุมที่เกิดจากการทำเหมืองแบบเปิดก็มีแนวโน้มที่จะยังคงสภาพเดิมอยู่เช่นนั้น การทำเหมืองนั้นส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานของระบบนิเวศทางธรรมชาติจนทำให้ไม่สามารถฟื้นฟูสิ่งที่สูญเสียไปกลับมาได้อย่างแท้จริง
ในสถานที่อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาฯ มีหลักฐานเพียงน้อยนิดที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้สามารถแก้ไขผลกระทบทั้งหมดของอันตรายที่มีต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการทำเหมือง นั่นก็เนื่องมาจากดินที่มีคุณภาพแย่ในพื้นที่ที่ทำการฟื้นฟู ดินที่ไม่ถูกรบกวนเป็นตัวกลางที่มีพลัง มีองค์ประกอบที่หลากหลายและเต็มไปด้วยชีวิต ดินที่พบในพื้นที่ทำการฟื้นฟูนั้นขาดโครงสร้าง ขาดธาตุอาหารที่มีประโยชน์และขาดแมลงและสารจุลินทรีย์ที่จำเป็นสำหรับพืชผลในการเจริญเติบโต ผลที่ตามมาคือระดับของการประสบความสำเร็จของการเติบโตของพืชผลมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ในบางพื้นที่ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ มีอัตราการอยู่รอดของต้นกล้าเพียงร้อยละ 10
—————
จาก ต้นทุนจริงของถ่านหิน : ผู้คนและโลกต้องจ่ายให้กับเชืิ้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกอย่างไร
จัดพิมพ์ภาษาไทยโดยกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะผู้เขียน: ดร.อีเรก้า เจอร์บาย, มาไรกา บริทเทน, ไอริช เชง, มาร์ธา คาเมียสกา, เออร์เนส มีแซค, วิคเตอร์ มุนนิค, จายาชรี นานดี, ซารา เพนนิงตัน, เอมิลี โรชอน, นีนา ชลูลซ์, นาฮิญา ชาฮับ, จูเลียน วินเซนต์และเมง ไว เรียบเรียงโดย: รีเบคกา ชอต แอนด์เดอะไรเตอร์
บรรณาธิการแปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย : ธารา บัวคำศรี