อุตสาหกรรมถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดสารปรอทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ด้วยมีปริมาณสารปรอทถึง 2,190 ตัน ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศในแต่ละปี กว่าครึ่งนั้นมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

การเผาไหม้ถ่านหินได้ปลดปล่อยสารปรอทจำนวนมากสู่บรรยากาศจากปรอทที่อยู่ในถ่านหิน สารปรอทนี้ในที่สุดจะตกไปสู่แม่น้ำ ลำธารและทะเลสาบจากการตกของน้ำฟ้า(ฝนและหิมะ)ฝุ่นละอองหรือจากแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อตกไปในแหล่งน้ำ มันจะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เริ่มจากสาหร่ายและคืบคลานไปสู่ฝูงปลา หลังจากนั้นก็เป็นนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ ความเข้มข้นของสารปรอทจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณตามระดับห่วงโซ่อาหารที่สูงขึ้น

สารปรอทสามารถทำร้ายมนุษย์ได้หรือไม่? คำตอบคือได้ สารปรอทนั้นเป็นสารพิษที่ก่อกวนระบบประสาท(Neurotoxin) ที่สามารถส่งต่อจากแม่ไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่สมอง สูญเสียการมองเห็น ลมชักและปัญหาอื่นอีกมากมาย การสัมผัสสารปรอทมักมาจากการกินปลาที่ปนเปื้อน

ในสหรัฐอเมริการ้อยละ 8 ของผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์มีสารปรอทในเลือดของตนมากกว่าระดับที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US EPA) กำหนดว่าปลอดภัย นี่ส่งผลให้เด็ก 410,000 คนที่เกิดมาในแต่ละปีได้รับสารปรอทในระดับที่เป็นอันตรายตั้งแต่อยู่ในครรภ์

—————-

จาก ต้นทุนจริงของถ่านหิน : ผู้คนและโลกต้องจ่ายให้กับเชืิ้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกอย่างไร

จัดพิมพ์ภาษาไทยโดยกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คณะผู้เขียน: ดร.อีเรก้า เจอร์บาย, มาไรกา บริทเทน, ไอริช เชง, มาร์ธา คาเมียสกา, เออร์เนส มีแซค, วิคเตอร์ มุนนิค, จายาชรี นานดี, ซารา เพนนิงตัน, เอมิลี โรชอน, นีนา ชลูลซ์, นาฮิญา ชาฮับ, จูเลียน วินเซนต์และเมง ไว เรียบเรียงโดย: รีเบคกา ชอต แอนด์เดอะไรเตอร์

บรรณาธิการแปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย : ธารา บัวคำศรี