ผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำเหมืองถ่านหินปรากฏชัดเจนอย่างรวดเร็วในอินโดนีเซียที่เป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่อันดับสองของโลก  ถ่านหินที่สกัดจากเหมืองในอินโดนีเซียถูกขนส่งไปทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่นและอิตาลี จังหวัดกาลีมันตันเป็นศูนย์กลางของภาคธุรกิจเหมืองถ่านหินของอินโดนีเซีย โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินถึงประมาณ 21 พันล้านตันจากทั้งหมด 76 ล้านตันในการผลิตถ่านหินของประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2543 มีถ่านหินถึงร้อยละ 85 ที่มาจากจังหวัดกาลีมันตัน

ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก บริษัททำเหมืองได้กว้านซื้อและทำสัญญาสัมปทานถ่านหิน ปัจจุบันมีพื้นที่หลายล้านเฮกตาร์ที่ซ้อนทับกับเขตป่าฝนเขตร้อนที่ยังหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ แผนที่พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายในช่วงปี 2543–2550 แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่นานมานี้เอง ได้มีการตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้นภายในบริเวณพื้นที่เหมืองถ่านหินที่ดำเนินการอยู่ ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของการทำเหมืองแบบเปิด(Strip Mining)

สถาบันเศรษฐกิจพลังงานแห่งญี่ปุ่นได้คาดการณ์เอาไว้ว่าผลผลิตถ่านหินจากจังหวัดกาลีมันตันจะเพิ่มมากขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2563 หากยังมีการขยับขยายเหมืองถ่านหินขึ้นจริงอุตสาหกรรมถ่านหินก็จะกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าบนเกาะบอร์เนียว

——————–

จาก ต้นทุนจริงของถ่านหิน : ผู้คนและโลกต้องจ่ายให้กับเชืิ้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกอย่างไร

จัดพิมพ์ภาษาไทยโดยกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คณะผู้เขียน: ดร.อีเรก้า เจอร์บาย, มาไรกา บริทเทน, ไอริช เชง, มาร์ธา คาเมียสกา, เออร์เนส มีแซค, วิคเตอร์ มุนนิค, จายาชรี นานดี, ซารา เพนนิงตัน, เอมิลี โรชอน, นีนา ชลูลซ์, นาฮิญา ชาฮับ, จูเลียน วินเซนต์และเมง ไว เรียบเรียงโดย: รีเบคกา ชอต แอนด์เดอะไรเตอร์

บรรณาธิการแปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย : ธารา บัวคำศรี