วันที่ 21 ธันวาคม 2556 เป็นทักษิณายัน(winter solstice) และครีษมายัน(summer solstice) ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ ณ ซีกโลกด้านใด เครื่องมือ MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) บนดาวเทียม Terra ขององค์การนาซาได้จับภาพสีธรรมชาตินี้ไว้ เป็นภาพนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของประเทศเปรูของปรากฎการณ์ทางแสงบนท้องฟ้าที่รู้เรียกกันว่า “กลอรี่ (Glory) ที่ส่องประกายท่ามกลางหมู่เมฆสีเทาซึ่งเป็นเมฆสตราโตรคิวมูลัสภาคพื้นทะเล
กลอรีเป็นปรากฏการณ์ทางแสงที่เกิดจากการกระจายแสงย้อนกลับ (backscattering) ที่ประกอบด้วยการกระจาย การสะท้อนและการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำขนาดใกล้เคียงกันกลับมาในทิศทางของแหล่งกำเนิดแสง
กลอรีอาจประกอบด้วยวงแสงสีหลายวง เมื่อละอองน้ำมีความสม่ำเสมอของขนาด ในกรณีที่ละอองน้ำมีขนาดต่างกัน วงแสงสีที่เกิดขึ้นอาจไม่ชัดเจน
เนื่องจากเรามักพบเห็นกลอรีจากเครื่องบิน ที่ถูกล้อมด้วยละอองน้ำ(เมฆ) จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Glory of the Pilot กลอรีอาจเกิดขึ้นพร้อมกับปรากฏการณ์อื่นได้ เช่น Brocken spectre และรุ้งหมอก(fog bow) ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ดูสวยงามแปลกตาขึ้นมาก
ปรากฎการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ยังสามารถเห็นได้จากอวกาศ ถึงแม้ว่าภาพที่ถ่ายได้จะไม่จำเป็นต้องมีลักษณะวงกลมเสมอไป
อ้างอิง
1) Atmospheric Optics About Glories. Accessed December 31, 2013
2) Comstock, K.K., Yuter, S.E., Wood, R., and Bretherton, C.S. (2007) The Three-Dimensional Structure and Kinematics of Drizzling Stratocumulus. Monthly Weather Review, 135, 3767–3784.
3) NASA image by Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS Rapid Response. Caption by Michael Carlowicz.