temperature_gis_2013การวิเคราะห์อุณหภูมิผิวโลกโดยนักวิทยาศาสตร์แห่งองค์การนาซาพบว่า ปี 2556 จัดอยู่ในอันดับเจ็ดของปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่คริสทศวรรษ 1880 เป็นต้นมา (เชื่อมโยงกับ พ.ศ. 2549 และ 2552) ปีที่ร้อนที่สุดทั้ง 10 อันดับ มีอยู่ 9 อันดับเกิดขึ้นนับตั้งแต่พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา โดยที่ พ.ศ. 2553 และ 2548 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุด นักวิทยาศาสตร์ที่ประจำอยู่ ณ Goddard Institute for Space Studies (GISS) ของนาซา รายงานว่า พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมานี้เป็นยังเป็นความต่อเนื่องของแนวโน้มระยะยาวของอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นผิวแผ่นดินและมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้น

แผนที่โลกด้านบนสุดแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวโลกใน พ.ศ. 2556 แผนที่ดังกล่าวมิได้แสดงอุณหภูมิสัมบูรณ์ แต่แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นหรือลดลงอย่างไรเทื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของปีฐาน (ค.ศ. 1951 ถึง 1980) ทีมงานของ GISS นำข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยาราว 6,300 แห่งทั่วโลก หอสังเกตการณ์บนเรือและเครื่องมือบนดาวเทียมที่วัดอุณหภูมิพื้นผิวทะเล รวมถึงเครื่องมือวัดของสถานีวิจัยในแอนตาร์กติก มาทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเพิ่มเติมว่างานวิเคราะห์ดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ World of Change: Global Temperatures.

อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในปี 2556 อยู่ที่ 14.6° เซลเซียส (58.3° ฟาเรนไฮต์) ซึ่งมีร้อนขึ้น 0.6°C (1.1°F) กว่าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในช่วงปีฐานกลางศตวรรษที่ 20 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกอยู่ที่ 0.8°C (1.4°F) นับตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1880 การจัดลำดับปีที่ร้อนที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับการนำเข้าข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์

GISS climatologist Gavin Schmidt นักสภาพภูมิอากาศวิทยาแห่ง GISS กล่าวว่า “แนวโน้มระยะยาวในอุณหภูมิผิวโลกนั้นไม่ปกติ และ พ.ศ. 2556 ได้ตอกย้ำถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดำเนินสืบเนื่องไป ในขณะที่แต่ละปีหรือแต่ละฤดูกาลนั้นมีผลโดยตรงจากเหตุการณ์สภาพอากาศที่มีแบบแผนไม่แน่นอน การวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการติดตามตรวจสอบระยะยาวอย่างต่อเนื่อง”

แบบแผนสภาพอากาศและวัฐจักรธรรมชาติอื่น ๆ เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของอุณหภูมิเฉลี่ยปีต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับภูมิภาคหรือในระดับท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ทั่วทั้งโลกประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอย่างสังเกตได้ในปี 2556 ที่ผ่านมา จากการวิเคราะห์ของ GISS ภาคพื้นสหรัฐอเมริกานั้นปี 2013 เป็นปีที่ร้อนอันดับที่ 42 ในทางตรงกันข้ามปี 2013 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในออสเตรเลียเท่าที่มีการบันทึกข้อมูลมา (hottest year in Australia’s recorded history)

ไม่ว่าจะมีความแตกต่างทางพื้นที่ในแต่ละปี ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องออกสู่ชั้นบรรยากาศนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในระยะยาว (rise in global temperatures) แต่ละปีปฎิทินนั้นไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าในปีก่อนหน้านี้เสมอไป จากอัตราการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่า แต่ทศวรรษจะร้อนขึ้นมากกว่าทศวรรษก่อนหน้า ดังแผนที่แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเป็นรายทศวรรษ

temperature_gis_2013_trend

กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มอุณหภูมิในระยะยาวนั้นยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เอลนีโญและลานีญา (El Niño and La Niña) จะฉุดให้อุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้นในปีใดปีหนึ่ง แถบสีส้มแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกในปีที่มี  El Niño ส่วนแถบสีแดงแสดงแนวโน้มระยะยาว (จัดแบ่งปีตาม NOAA Oceanic Niño Index.) แถบสีฟ้าแสดงปีที่มี La Niña และเส้นสีฟ้าแสดงแนวโน้ม ปีที่มีความสมดุลระหว่าง El Niño/La Niña เป็นแถบสีเทา และเส้นสีดำแสดงแนวโน้มอุณหภูมิโดยรวมนับตั้งแต่ปี  1950

temperature_gis_2013_graph

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกปัจจุบันมีระดับสูงกว่าห้วงเวลาใดในอดีตแปดแสนปีที่ผ่านมา ในปี 1880 เป็นปีแรกที่ GISS ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกอยู่ที่ 285 ส่วนในล้านส่วน (parts per million) และในปี 2013 มีระดับเพิ่มขึ้นเป็น 400 ส่วนในล้านส่วน คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ช่วยกักเก็บสะสมความร้อนในบรรยากาศโลกและมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการเปลี่ยนแปลงระบบสภาพภูมิอากาศของโลก แหล่งกำเนิดของคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมาจากการเกิดขึ้นในธรรมชาติและจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

Related Reading

NASA Earth Observatory (2012) World of Change: Global Temperatures.
NASA Goddard Institute for Space Studies GISS Surface Temperature Analysis (GISTEMP).
NASA Earth Observatory (2011, January 14) Different Records, Same Warming Trend.
NASA Earth Observatory (2007, November 5) Earth’s Temperature Tracker.
NASA Earth Observatory (2010, June 3) Global Warming.
NASA Earth Observatory (2013, March 26) Arctic Amplification.
NASA Earth Observatory (2013, September 27) Global Patterns of Carbon Dioxide.
NASA Earth Observatory (2011, June 16) The Carbon Cycle.
NASA images by Gavin Schmidt and Robert Simmon, based on data from the NASA Goddard Institute for Space Studies. Caption by Mike Carlowicz and Michael Cabbage.