ไฟและหมอกควันกลายเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ในภาพถ่ายดาวเทียมที่จับได้โดยเครื่อง Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) บนดาวเทียมอะควาขององค์การนาซาในวันที่ 18 มีนาคม 257 จุดเกิดไปเป็นสีแดง และเกิดขึ้นส่วนใหญ่ในเขตป่าไม้กึ่งเขตร้อนที่พบทั่วไปในทางตอนบนของอินโดจีน การเกิดไฟไหม้ส่วนใหญ่ในภูมิภาคแถบนี้เกิดขึ้นอย่างตั้งใจด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งรวมถึงการเกษตรกรรมที่เรียกว่าไร่เลื่อนลอย ซึ่งมีข้อถกเถียงในทางสังคมศาสตร์อย่างกว้างขวางว่ายังเป็นการอธิบายที่ไม่เพียงพอ
จากอวกาศ เครื่องมือ MODIS จับการเปลี่ยนแปลงขอความร้อน รวมถึงไฟ ประกายไฟ และการระเบิดของภูเขาไฟ จุดเกิดไปบนภาพจะครอบคลุมพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งหมายถึงว่ามีจุดเกิดไฟหนึ่งจุดหรือมากกว่านั้นในพื้นที่ครอบคลุม 1 ตารางกิโลเมตรบนพื้นดิน ในภาพที่มีความละเอียดขึ้น(large image) จะมีจุดเกิดไฟราว 850 จุด ดังนั้นจะมีการเกิดไฟขึ้นอย่างน้อยที่สุด 850 จุดในภาพ
การตรวจสอบการเกิดไฟป่าจากดาวเทียมมีประโยชน์มากเพราะว่าทำให้เรารู้ถึงความเข้มข้นของการเกิดไฟ แบบแผนในแง่ของเวลาและความถี่ของการเกิด ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินสถานะของพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกเผาไหม้ได้ พื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคนี้เป็นป่าไม้เต็งรังผสมกับป่าดงดิบและมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไผ่ ในขณะที่การเกิดไฟได้กระตุ้นให้มีป่าไม้เติบโตขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าไฟป่าเกิดถี่ครั้ง ธรรมชาติของป่าและความสามารถในการรับคาร์บอนจะเปลี่ยนแปลงไป
ภาพถ่ายดาวเทียมนี้ยังแสดงให้เห็นว่าควันไฟป่าได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ควันไฟมีส่วนผสมของอนุภาคและฝุ่นละอองต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ และส่งผลต่อสภาพอากาศในระดับท้องถิ่น ไฟป่ายังเป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศด้วย ทั่วทั้งโลก เกิดไฟป่าได้ปล่อยคาร์บอนราว 2 เพตากรัมออกสู่บรรยากาศทุกๆปี การทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศร้อยละ 8 (human carbon emissions) ในช่วงปี 2003 และ 2012 พบว่ามีแนวโน้มลดลง
References
- Chien, S. et al. Space-based sensorweb monitoring of wildfires in Thailand. (pdf) Accessed March 18, 2014.
- Global Carbon Project (2013, November 19) Carbon Budget 2013. Accessed March 18, 2014.
- Muller, D. et al. (2013, January 22) The value of satellite-based active fire data for monitoring, reporting, and verification of REDD+ in the Lao PDR. (pdf) Human Ecology. Accessed March 18, 2014.
- Van der Werf, et al. (2010) Global fire emissions and the contribution of deforestation, savanna, forest, agricultural, and peat fires (1997-2009). Accessed March 18, 2014. Atmospheric Chemistry and Physics. Accessed March 18, 2014.
NASA image courtesy Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS MODIS Rapid Response Team at NASA GSFC. Caption by Holli Riebeek.