แปลเรียบเรียงจาก Giles Parkinson 12 January 2015 ใน http://reneweconomy.com.au/2015/solar-grid-parity-world-2017
ธนาคาร Deutsche Bank ทำนายว่าไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์จะไปถึงจุดที่ต้นทุนเท่ากับหรือน้อยกว่าไฟฟ้าจากฟอสซิล คิดเป็นร้อยละ 80 ของตลาดพลังงานโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า และระบุว่าการลดลงของราคาน้ำมันมีผลน้อยมากในการชะลอการขยายตัวอย่างมหาศาลของพลังงานจากเซลแสงอาทิตย์
Vishal Shah นักวิเคราะห์ชั้นนำกล่าวว่า ในปี 2558 นี้ ไฟฟ้าจากแสงแดดจะไปถึงจุดที่ต้นทุนเท่ากับหรือน้อยกว่าไฟฟ้าจากฟอสซิลในหลายส่วนของโลกภายในปี 2560 นั่นเป็นเพราะว่าราคาไฟฟ้าในระบบสายส่งเพิ่มขึ้นทั่วโลกและต้นทุนของเซลแสงอาทิตย์นั้นลดลงเรื่อยๆ Shah ทำนายว่า ต้นทุนระบบเซลแสงอาทิตย์จะลดลงไปอีกร้อยละ 40 ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า
ถึงแม้ว่าราคาพลังงานจะมีความคงตัว สองในสามส่วนของโลกได้พบว่าเซลแสงอาทิตย์นั้นมีราคาถูกกว่าแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม หากราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี การฉายภาพอนาคตอันสดใสของธนาคาร Deutsche Bank ก็คือ ราวร้อยละ 80 ของประเทศทั่วโลก จะมีไฟฟ้าจากแสงแดดที่มีต้นทุนเท่ากับหรือน้อยกว่าไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานดั้งเดิม
ธนาคาร Deutsche Bank ระบุว่า ในปัจจุบัน ต้นทุนไฟฟ้าจากระบบเซลแสงอาทิตย์บนหลังคาในที่ใดๆ ก็ตามจะอยู่ระหว่าง 0.13 และ 0.23 เหรียญสหรัฐ/หน่วย(kWh) ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาไฟฟ้าขายปลีกในตลาดพลังงานทั่วโลก เศรษฐกิจของพลังงานแสงอาทิตย์ยกระดับขึ้นจากต้นทุนของแผงเซลแสงอาทิตย์ ต้นทุนทางการเงินและความสมดุลของต้นทุนระบบ ต้นทุนจะลดลงในอีกมากขึ้นเกิดจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของแผงเซล และการลดลงของสมดุลของต้นทุนระบบจากขนาดและการแข่งขัน
ต้นทุนทางการเงินก็ลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาแบบจำลองธุรกิจใหม่ และส่วนหนึ่งมาจากการที่มีการใช้มากขึ้นและการพัฒนาใช้แหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้า Shah ระบุว่า มีความชัดเจนว่าพลังงานแสงแดดจะกลายเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญของตลาดพลังงานโลก กราฟด้านล่างแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการผลิตติดตั้งใหม่ของพลังงานแสงแดด
ในขณะที่มีความไม่แน่นอนในทางนโยบาย โดยเฉพาะในญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ซึ่งทำให้เกิดความผกผันในการนำเอาระบบไฟฟ้าจากแสงแดดมาใช้ในปี 2557 แต่ธนาคาร Deutsche Bank ระบุว่า ความต้องการของระบบการผลิตไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ในประเทศทั้งสองที่มีเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลกนั้นกำลังทะยานขึ้น ในสหรัฐอเมริกา ความต้องการของระบบการผลิตไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ขยายเพิ่มขึ้นเป็นห้าเท่า โดยจะมีกำลังผลิตติดตั้งเพิ่มห้าเท่าเป็น16,000MW ในปี 2559 ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแซงหน้าจีน (ซึ่งคาดว่าจะมีการติดตั้งอยู่ที่ 13,000 MW)
การขยายตัวของตลาดไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระบบเซลแสงอาทิตย์บนหลังคา การขยายตลาดการเช่าซื้อ และแหล่งเงินทุนใหม่