#จักรยานสองขาท้าโลก

ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก

The Bicycle: Vehicle for a Small Planet, Worldwatch Paper #90, September 1989 เขียนโดย Marcia D. Lowe

ดาวน์โหลด pdf ไฟล์ จักรยาน พาหนะเพื่อโลกใบน้อย

——————-

ในแถบละตินอเมริกา มีธุรกิจบางแห่งใช้จักรยาน ซึ่งพ้นไปจากคำว่าจักรยานมีไว้สำหรับคนจน ที่โบโกตา-เมืองหลวงของโคลัมเบีย ร้านทำขนมปังปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ส่วนใหญ่ใช้รถสามล้อเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าให้กับร้านค้าปลีกมากกว่า 60,000 แห่ง นิคารากัวเป็นประเทศละตินอเมริกาชาติแรกที่ส่งเสริมจักรยานอย่างจริงจัง ในปี 2530 มีงบประมาณซื้อจักรยานจำนวน 50,000 คัน เพื่อนำมาแทนระบบการคมนาคมขนส่งที่ประสบความเสียหายจากสงคราม ส่วนหนึ่งรัฐบาลเป็นผู้ซื้อ อีกส่วนหนึ่งรับบริจาคประเทศอื่นๆ

พื้นที่ที่มีมลพิษขั้นรุนแรงหลายแห่งในยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียตได้รับการสนับสนุนให้ฟื้นฟูการใช้จักรยานโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสิ่งแวดล้อม เมือง Siauliai ในลิธัวเนียดำเนินโครงการ Comprehensive Cycling เมื่อ พ.ศ. 2522 ระบบเส้นทางจักรยานใหม่และขยายบริการที่จอดรถทำให้มีการใช้จักรยานในเมืองเพิ่มขึ้น เมืองเล็กๆ ในฮังการี มีการเดินทางด้วยจักรยานประมาณครึ่งหนึ่งของการเดินทางไปทำงาน

บรรดาประเทศอุตสาหกรรม มีจำนวนรถจักรยานต่อคนในอัตราที่น่าเหลือเชื่อ หลายประเทศมีจักรยานต่อคนมากกว่าประเทศที่มีลักษณะคล้ายกันในเอเชีย 2 หรือ 3 เท่า แต่ในพื้นที่ซึ่งผู้คนใช้รถยนต์ได้สะดวกการมีจักรยานไว้ในครอบครองไม่ได้หมายความว่ามีการขี่จักรยาน ชาวเมืองไบรตันส์ทุกๆ 4 คน จะมีจักรยาน 1 คน แต่ใช้เพื่อการเดินทางเพียง 1 เที่ยว เทียบกับการคมนาคมขนส่ง 33 เที่ยว ในสหรัฐอเมริกาโดยเปรียบเทียบแล้ว ในจำนวน 40 คัน มีจักรยานเพียง 1 คัน ที่ใช้สำหรับเดินทางไปมา ส่วนที่เหลือเป็นจักรยานเพื่อสุขภาพและเกมส์กีฬา

การเปรียบเทียบระหว่างการมีจักรยานและการมีรถยนต์ไว้ในครอบครอง ช่วยชี้ให้เห็นว่า มีการนำจักรยานไปใช้ในการคมนาคมขนส่ง ในสหรัฐอเมริกามีจำนวนต่อคนมากกว่าอินเดีย 7 เท่า แต่เนื่องจากว่าคนอเมริกาทุกๆ 2 คน จะมีมากกว่า 1 คนที่มีรถยนต์ – เทียบกับคนอินเดียทุกๆ 500 คน มีเพียง 1 คนที่มีรถยนต์ ดังนั้นจักรยานจึงมีบทบาทนำสมัยอย่างมากในระบบคมนาคมขนส่งของสหรัฐอเมริกา

ชาวยุโรปตะวันตกเป็นผู้ใช้จักรยานมากที่สุดในโลกอุตสาหกรรม ประเทศต่างๆ เช่น เดนมาร์ก เยอรมัน และเนเธอร์แลนด์ คนที่เป็นเจ้าของจักรยานมีอยู่จำนวนมาก การวางแผนส่งเสริมจักรยานในช่วง 20 ปีที่แล้ว (ซึ่งนอกเหนือไปจากการพูดถึงภูมิอากาศที่ดึงดูดใจหรือภูมิประเทศที่ราบเรียบ) ทำให้เห็นประเทศที่มีบรรยากาศเป็นมิตรกับจักรยานอย่างแท้จริงในยุโรปได้ชัดเจน เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กเป็นผู้นำอยู่ในกลุ่มนี้ กล่าวคือ การเดินทางแบบต่างๆ ทั้งหมดในเมืองทุกเมืองจำนวน 100 เที่ยว จะมีการเดินทางด้วยจักรยาน 20-30 เที่ยว เมืองหลายแห่งมีถึง 50 เที่ยว หลายประเทศในยุโรป ผู้ใช้บริการรถไฟในเขตชานเมืองและเขตเมืองเล็กๆ จำนวนร้อยละ 10-55 ขี่จักรยานเดินทางไปสถานีรถไฟ การจราจรติดขัดและอากาศเป็นพิษในช่วงทศวรรษที่แล้ว กระตุ้นผู้บริหารของสวิซเซอร์แลนด์ เยอรมัน และออสเตรียส่งเสริมการใช้จักรยานเพิ่มขึ้น ตรงกันข้าม กับสถานการณ์ในอังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศสและประเทศยุโรปตอนใต้นักขี่จักรยานยังพอใจอยู่กับการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

เขตเมืองทั้งหมดในอเมริกาเหนือและออสเตรเลียเป็นพื้นที่ที่การใช้รถยนต์ถึงจุดอิ่มตัว แต่ยังคงทิ้งจักรยานหันไปใช้รถยนต์ การขยายตัวของเมืองทำให้ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และการบริการต่างๆ กระจายห่างออกไปซึ่งเป็นอุปสรรคในการขี่จักรยานและการใช้บริการขนส่งมวลชน เมืองใหญ่หลายเมืองห้ามใช้รถจักรยาน ถนนและที่จอดรถสร้างไว้สำหรับรถยนต์เท่านั้น ขณะที่ออสเตรเลียมีการวางแผนและออกแบบแนวทางการคมนาคมขนส่งด้วยจักรยาน แต่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นไม่ค่อยสนใจ มองไม่เห็นทางเลือกในการคมนาคมแบบอื่นๆ นอกจากรถยนต์ ส่วนเมืองหลายแห่งในอเมริกาเหนือ เช่น ซีแอตเติล คัลการี และเมืองมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้เดินทางไปมาด้วยจักรยานอย่างชัดเจน แต่ก็มีข้อยกเว้น

คนทั่วไปมีทางเลือกในการขี่จักรยานเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ วิศวกรได้ออกแบบและสร้างจักรยานชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ทนทานมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แม้แต่การป้องกันจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ทางเลือกใหม่ๆ รวมถึงจักรยานวิบากที่แข็งแรงทนทาน และผู้ขี่เอนไปด้านหลังขณะขับขี่และจักรยานแบบใช้มือหมุนสำหรับผู้ที่ใช้ขาไม่ได้ จักรยานแบบเรียงต่อกันทำให้คนสองคนร่วมใช้พลังกล้ามเนื้อ จักรยานแบบพับเก็บทำให้คนที่เดินทางไปมาสามารถเก็บจักรยานไว้ใต้ม้านั่งหรือกระเป๋าได้

โลกของเรามียานพาหนะชนิดต่างๆ มาเกินพอแล้ว ช่วยกันทำให้จักรยานมีส่วนร่วมมากขึ้นในการคมนาคมขนส่ง ทุกปี ทั่วโลกผลิตจักรยานเกือบ 100 ล้านคัน คิดเป็น 3 เท่าของจำนวนรถยนต์ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตจักรยานรายใหญ่โดยเฉพาะโซนเอเชียมีความมั่นใจว่าสามารถขยายกำลังการผลิตออกไป