#จักรยานสองขาท้าโลก

ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก

The Bicycle: Vehicle for a Small Planet, Worldwatch Paper #90, September 1989 เขียนโดย Marcia D. Lowe

ดาวน์โหลด pdf ไฟล์ จักรยาน พาหนะเพื่อโลกใบน้อย

——————

คนส่วนใหญ่ในประเทศโลกที่สามไม่มีวันที่จะได้นั่งรถยนต์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ และงบประมาณของรัฐที่มีอยู่จำกัดก็ไม่สามารถจัดหาบริการขนส่งมวลชนอย่างเพียงพอแก่ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จักรยาน รถสามล้อ และรถถีบสี่ล้อ เอื้อให้มีการเดินทางของประชาชนเพิ่มมากขึ้นโดยใช้งบประมาณไม่มาก เพิ่มความสะดวกในการเดินทางไปใช้บริการที่สำคัญไปทุ่มให้กับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งด้วยรถยนต์ ไม่สนใจการเลือกการคมนาคมขนส่งโดยใช้แรงคนซึ่งสามารถใช้งบประมาณดังกล่าวมาพัฒนาได้ดีกว่า

รถยนต์ในประเทศกำลังพัฒนามีราคาสูงถึง 30 เท่าของรายได้ต่อคนต่อปีหรือ18 ถึง 125 เท่าของราคาจักรยานที่มี 1 เกียร์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในประเทศกำลังพัฒนานั้นมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่อรถยนต์ 1 คัน สูงมาก

รถจักรยานยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะชนิดหนึ่งที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยทั่วไปจะเพิ่มเร็วกว่ารถยนต์ส่วนตัว แต่ยังไม่ใช่พาหนะที่ใช้เดินทางของคนส่วนใหญ่ รถจักรยานยนต์นิยมใช้กันมากขึ้นในเมืองต่างๆ ของทวีปเอเชีย และดูเหมือนว่าจะเป็นพาหนะที่เหมาะสม แต่รถจักรยานยนต์นั้นก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อม

นอกจากการเดินเท้า คนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาจะใช้บริการรถประจำทางซึ่งเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่พวกเขาสามารถจ่ายเงินค่าโดยสารได้ แต่รถประจำทางที่วิ่งบริการในเมืองไม่เพียงพอ หลายเมืองในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกาที่ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้บริการรถประจำทาง ก็มีจำนวนรถประจำทางน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรถประจำทางที่วิ่งบริการทั่วเมืองในสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ซึ่งผู้โดยสารเลือกใช้บริการแบบใดก็ได้ ส่วนบริการรถประจำทางในเขตชนบทยิ่งซ้ำร้าย การขยายระบบและบริการคมนาคมขนส่งในประเทศโลกที่สามออกไป อาจดึงงบประมาณส่วนอื่นของรัฐที่ใช้เพื่อจัดหาปัจจัยสำคัญ เช่น ที่อยู่อาศัย ประปาและสุขาภิบาล เป็นต้น

บริษัทขนส่งเอกชนมีบทบาทสำคัญในการช่วยบรรเทาภาระการคมนาคมขนส่งของรัฐในประเทศกำลังพัฒนา แต่การบริการเหล่านี้มักประสบความล้มเหลงอย่างรวดเร็ว เพราะขาดอุปกรณ์และน้ำมันเชื้อเพลิง ปัญหาต่อมาคือถนนส่วนใหญ่แคบและทุรกันดาร

ยิ่งกว่านั้น แม้แต่พื้นที่ซึ่งมีบริการรถประจำทางที่ใช้ได้และน่าเชื่อถือ ประชาชนไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้ การสำรวจความเห็นของคนขี่จักรยานในเมืองเดลี ร้อยละ 35 บอกว่า พวกเขาขี่จักรยานเพราะบริการรถเมล์ไม่เพียงพอ และร้อยละ 43 บอกว่า พวกเขาไม่มีเงินจ่ายค่าบริการ การนำระบบขนส่งมวลชนมาตอบสนองความต้องการเดินทางของประชาชนในประเทศโลกที่สามเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่หลายประเทศไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้

ด้วยเหตุนี้ นอกจากการเดินเท้า ประชาชน(โดยแฉพาะในพื้นที่ชนบท)จึงมีทางเลือกน้อยมาก การคมนาคมขนส่งในชนบทของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการขนส่งเสบียงและสินค้าเกษตร และบรรทุกสิ่งของจำเป็นในครัวเรือน ได้แก่ น้ำและไม้ฟืน หลายครอบครัวใช้เวลานานมากเพื่อไปขนน้ำและเก็บฟืนในแต่ละวัน โดยมีผู้หญิงเป็นผู้รับภาระหนักอึ้งที่สุดเหล่านั้นเทินไว้บนหัวของเธอ การศึกษาที่เคนยา พบว่า ผู้หญิงต้องทำงานถึงร้อยละ 89 ของกิจกรรมเหล่านี้ การไปหาน้ำอาจเป็นปัญหาการขนส่งที่แสนสาหัส กล่าวคือ ชนบทหลายแห่งของแอฟริกาใช้พลังงานมากกว่าร้อยละ 25 ของความต้องการพลังงานในแต่ละวันของคนหนึ่งคน ผู้หญิงและเด็กอาจใช้เวลามากกว่า 3-6 ชั่วโมงต่อวัน ไปตักน้ำมาเก็บไว้ใช้ในครอบครัว

ในประเทศกำลังพัฒนา เกษตรกรจำเป็นต้องขนสัมภาระหนักตั้งแต่ 150 กิโลกรัมเป็นต้นไป เคลื่อนย้ายเป็นระยะทางไกลพอสมควร การบรรทุกสิ่งของเหล่านี้ไม่อาจเรียกหารถบรรทุกหรือรถยนต์ แต่พวกเขาขนย้ายโดยใช้พาหนะบางชนิดที่เหมาะสม พื้นที่แอฟริกาเขตร้อนทั้งหมดและหลายแห่งในเอเชีย แม้แต่สัมภาระขนาดเล็กหนัก 30 กิโลกรัม คือ ภาระที่หนักอึ้งเมื่อแบกไว้บนหัว หลังหรือไหล่ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อและช้ำใน รายงานจากบังคลาเทศ ครึ่งหนึ่งของอุบัติเหตุคอหักมีสาเหตุจากผู้ป่วยหกล้มขณะที่กำลังแบกของไว้บนหัว หลายประเทศ รถเข็น รถที่ใช้สัตว์ลากจูง และพาหนะที่ใช้แรงถีบไปใช่เพื่อขนย้ายของ บรรทุกสินค้าหรือสัมภาระ ถึงกระนั้นในพื้นที่ซึ่งมีการขนส่งโดยใช้สัตว์ลากจูงอยู่ทั่วไปก็ยังต้องแบกสิ่งของไว้บนหัวและหลัง