#จักรยานสองขาท้าโลก

ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก

The Bicycle: Vehicle for a Small Planet, Worldwatch Paper #90, September 1989 เขียนโดย Marcia D. Lowe

ดาวน์โหลด pdf ไฟล์ จักรยาน พาหนะเพื่อโลกใบน้อย

——————

ในโลกที่ถูกครอบงำด้วยรถยนต์ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ประเทศเพียงไม่กี่แห่งเลือกใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของระบบคมนาคมขนส่ง? ประเทศที่ใช้จักรยานจำนวนไม่กี่ประเทศเหล่านี้ ต่างก็มีมาตรฐานการครองชีพภูมิประเทศหรือภูมิอากาศไม่ต่างไปจากประเทศที่ไม่ได้ใช้จักรยาน การศึกษาของ John Pucher เกี่ยวกับระบบคมนาคมขนส่งในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ยืนยันว่าการตัดสินใจเดินทางของผู้คน ไม่ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ เทคโนโลยี หรือสภาพความเป็นเมือง แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายการคมนาคมขนส่งที่ชัดเจนและการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจัง

รัฐบาลจีนตระหนักถึงเรื่องนี้มานานแล้วว่า การคมนาคมขนส่งแบบใช่แรงมนุษย์สามารถเคลื่อนย้ายผู้คนได้มากกว่าและถูกกว่าการคมนาคมขนส่งแบบอื่น รัฐบาลเริ่มลงทุนโดยใช้งบประมาณไม่มาก ทำการผลิตจักรยานให้เป็นสินค้าที่มีจำนวนมากและราคาถูก เมื่อคนส่วนใหญ่ยังยากจนเกิดกว่าที่จะเป็นเจ้าของรถจักรยานสักคันหนึ่ง และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ เมื่อระบบพาณิชยกรรมเข้าไปถึงหมู่บ้านในต้นคริสตทศวรรษที่ 60 โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ยังเป็นเส้นทางที่สร้างไว้สำหรับคนเดินเท้า เกวียนหรือจักรยาน

เส้นทางจักรยานใหญ่เป็นพิเศษขนาด 5-6 ช่องทางมีอยู่ทั่วไปในเขตประเทศจีน เส้นทางรถยนต์แยกออกจากคนเดินเท้าและคนขี่จักรยานบนถนนสามช่องทาง และหลายเมือง แบ่งพื้นที่ให้กับรถจักรยานที่บรรทุกสิ่งของไว้ชัดเจน มีที่จอดรถจักรยานซึ่งอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยอยู่ทั่วไปและเป็นจุดที่รับบริการซ่อมและดูแลรักษา นอกจากนี้ มีร้านซ่อมจักรยานที่ขึ้นทะเบียนกับเมืองปักกิ่ง 173 ร้าน มีช่างซ่อมจักรยานเร่ริมทางเท้า 1,000 กว่าคน ตามถนนสายต่างๆ ในเมืองใหญ่ทั่วประเทศจีน ผู้บริหารเมืองใช้จักรยานเป็นสิ่งบรรเทาความกดดันจากรถประจำทางที่เต็มไปด้วยผู้คนมาเป็นเวลานาน โดยจ่ายเงินช่วยเหลือรายเดือนให้กับผู้ขี่จักรยานไปทำงาน เท่ากับว่า ประเทศจีนจักหาระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับประชาชนจำเป็นในการลงทุนระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ไว้ก่อน

แต่นโยบายนี้ไม่มองการณ์ไกลถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรยานในคริสตทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันจีน-อาณาจักรแห่งจักรยาน-กลับมีปัญหาจราจรคับคั่ง อันเนื่องมาจากจักรยาน สามล้อ และรถยนต์แย่งกันใช้ถนน นักวางแผนของจีนบางคนเสนอว่า คนขี่จักรยานก็เหมือนกับคนขับรถยนต์ในประเทศอุตสาหกรรม กล่าวคือ ควรส่งเสริมให้พวกเขาใช้บริการขนส่งมวลชนที่ขยายเพิ่มขึ้นในการเดินทางระยะไกล รถประจำทางต่างๆ ในประเทศจีนมีมากพอที่จะทำเช่นนั้นได้ ประมาณว่าต้องใช้รถประจำทางมากถึง 200,000 คัน ภายในปี พ.ศ.2543 เพื่อจัดให้พอกับความต้องการบริการที่เพิ่มขึ้นตามที่คาดคะเนไว้ ข้อมูลที่เก็บจากคนสัญจรไปมา ชี้ว่า ถ้าคนขี่จักรยานในเมืองปักกิ่ง เทียนจิน และเซี่ยงไฮ้ เมื่อปี 2528 จำนวนครึ่งหนึ่งตัดสินใจใช้บริการรถประจำทาง จะต้องใช้รถประจำทางเพิ่มอีก 12,000 คัน เพื่อตอบสนองความต้องการในเมืองทั้ง 3 แห่งนี้

รัฐบาลจีนพยายามแก้ปัญหาความแออัดของจักรยานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ใช้แรงงานเข้าไปใกล้สถานที่ทำงานมากขึ้น และพัฒนาศูนย์ธุรกิจการค้าในแต่ละพื้นที่ สลับเวลาทำงานเพื่อกระจายปริมาณจราจรให้คลอบคลุมทั้งวัน ศาสตราจารย์ Li Jia Ying แห่งมหาวิทยาลัยคมนาคมขนส่งภาคเหนือในเมืองปักกิ่งเสนอว่าควรให้ความสำคัญกับรถประจำทางในชุมทางต่างๆ เป็นอันดับแรก และทำเครื่องหมายทางลัดสำหรับการสัญจรไปมาด้วยจักรยาน ศาสตราจารย์ Li เสนออีกว่า ให้แยกเส้นทางจักรยานออกเป็นช่องทางย่อยที่ใช้ความเร็วในการขี่จักรยานต่างๆ กัน