http://europa.eu/rapid/press-release_IP-15-4806_en.htm

ใบแถลงข่าวคณะกรรมาธิการยุโรป

สหภาพยุโรปลงมือปฏิบัติการว่าด้วยการประมงผิดกฎหมาย: ประเทศไทยยังคงได้ใบเหลือง ส่วนเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์รอด

วันนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปเตือนอย่างเป็นทางการกรณีที่ประเทศไทยขาดมาตราการที่เพียงพอในการต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและไม่มีการควบคุม (IUU)

การเตือนดังกล่าวเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ทุกแง่มุมและพูดคุยปรึกษาหารือกับทางการไทยนับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา คณะกรรมกาธิการยังได้ระบุถึงความไม่พยายามของทางการไทยในเรื่องของระบบการติดตาม การควบคุมและการห้ามในภาคการประมงและสรุปว่าประเทศไทยมิได้ทำเรื่องเหล่านี้อย่างเพียงพอ

Karmenu Vella กรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเลและการประมงของสหภาพยุโรป กล่าวว่า “นโยบายที่เข้มงวดของอียูในเรื่องกิจกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การประมงผิดกฎหมาย รวมเข้ากับศักยภาพในการลงมือทำของเรานั้นประสบผล ผมเรียกร้องให้ประเทศไทยร่วมกับสหภาพยุโรปเพื่อต่อกรกับความล้มเหลวของการประมงที่ยั่งยืนเพื่อปฏิบัติการอย่างแข็งขันต่อการประมงผิดกฎหมาย”

การตัดสินใจในวันนี้จะเริ่มเป็นขั้นตอนการสนทนาอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐของไทยเพื่อทำให้เกิดมาตรการที่ถูกต้องซึ่งมีความจำเป็น ประเทศไทยมีเวลา 6 เดือนในการดำเนินแผนปฏิบัติการที่ถูกที่ควร

หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น สหภาพยุโรปจะมีการห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากประเทศไทย มาตรการดังกล่าวได้มีการใช้กับประเทศต่างๆ เช่น เบลิซ กินี กัมพูชา และศรีลังกา มีการห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากประเทศเบลิซในปีที่ผ่านมาแต่เนื่องด้วยความพยายามของทางการเบลิซ ได้มีการยกเลิกการห้ามนำเข้าในเวลาต่อมา

ในส่วนของข่าวดี คณะกรรมาธิาการยุโรปได้รับรองฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ที่ดำเนินการปฏิรูประบบกฎหมายที่เกี่ยวกับการประมง และประกอบกับมาตรากรในการจัดการกับการประมงผิดกฎหมายที่ชัดเจน ดังนั้น จึงมีการยุติขั้นตอนการระบุในการให้ใบเหลืองกับเกาหลีใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2556 และฟิลิปปินส์ในเดือนมิถุนายน 2557.

Karmenu Vella กล่าวว่า “โดยการใช้ให้น้ำหนักทางการตลาด สหภาพยุโรปเป็นผู้เล่นที่สำคัญ ทั้งเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์มีการกระทำที่รับผิดชอบ รับรองระบอบกฎหมายประทงที่เกี่ยวข้อง และเดินหน้าต่อต้านกับการประมงที่ผิดกฎหมายอย่างแข็งขัน

นับตั้งแต่ ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ได้รับการเตือน ทั้งสองประเทศมีการปฏิรูปกฎหมายและยกระดับธรรมาภิบาลด้านการประมง ระบบกฎหมายของทั้งสองประเทศสอดคล้องต้องกันกับกฎหมายประมงระหว่างประเทศ

ผลคือ คณะกรรมาธิการยุโรปยุติการอภิปรายอย่างเป็นทางการกับทางการเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ และหวังที่จะเห็นทั้งสองประเทศเป็นภาคีสำคัญในการจัดการประมงที่ยั่งยืนภายในกรอบองค์กรระดับโลกและระดับภูมิภาค