พ.ศ. 2492 อุบัติเหตุที่โรงงานของบริษัทมอนซานโตในมลรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ทำให้คนงานสัมผัสกับไดออกซิน

พ.ศ. 2496  อุบัติเหตุที่โรงงาน BASF ใน (อดีต) เยอรมันตะวันออก ปล่อยไดออกซินออกมาสู่ชุมชนใกล้เคียง 2 แห่ง

พ.ศ. 2500  ไดออกซินถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยของคนงาน, อุบัติการณ์ของโรคบวมน้ำในไก่คร่าชีวิตไก่จำนวนล้านตัวในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา สาเหตุเกิดจากอาหารไก่ที่มีเพนตาคลอโรฟีนอลซึ่งปนเปื้อนไดออกซิน

พ.ศ.2505–2513  เอเจนต์ออเร้นจ์ (เรียกกันทั่วไปว่าฝนเหลือง) ถูกนำใช้เป็นจำนวนมากในการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเวียดนาม

พ.ศ.2508 และ 2509 บริษัทดาว์เคมีคอลสนับสนุนเงินทุนเพื่อทดลองใช้ไดออกซินกับผิวของนักโทษที่เรือนจำ Holmesburg ในมลรัฐเพลซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2505-2510  การศึกษาอุบัติการณ์ของผลกระทบด้านพัฒนาการและภาวะเจริญพันธุ์ในนกกินปลามีถิ่นที่อยู่อาศัยในทะเลสาบใหญ่ทั้งห้าของทวีปอเมริกาเหนือ

พ.ศ. 2511 ประชาชนราว 1,800 คนในเมือง Yusho ประเทศญี่ปุ่นบริโภคน้ำมันรำข้าวที่ปนเปื้อนไดออกซิน (โพลีคลอริเนเตดไบฟีนิล(PCBs) และไดเบนโซฟูราน) อุบัติการณ์เดียวกันนี้ยังคล้ายคลึงกับที่เกิดจีนในเมือง YU-Cheng ใต้หวัน (2522) ซึ่งเป็นหลักฐานที่เห็นได้ของผลกระทบของไดออกซินที่มีต่อมนุษย์

พ.ศ.2511 สหรัฐอเมริกายุติปฏิบัติการณ์โปรยฝนเหลืองในเวียดนาม

พ.ศ. 2513 กากน้ำมันที่ปนเปื้อนไดออกซินถูกใช้เพื่อควบคุมฝุ่นบนถนนใน Times Beachs,มลรัฐมิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา มีการอพยพชาวเมืองในปี พ.ศ.2526 หลังจากน้ำท่วมพัดพาไดออกซินกระจายไปทั่วชุมชน, มีการพบว่าไดออกซินเป็นสาเหตุของการเกิดที่ผิดปกติในหนู

พ.ศ.2515–2519 มีการนำเสนอและพัฒนาทฤษฎีความเป็นพิษจากไดออกซินของสารโปรตีน ในร่างกายมนุษย์ที่เรียกว่า Ah receptor

พ.ศ. 2516 โพลีโบรมิเนตไบฟีนีลหลุดรั่วโดยบังเอิญไปรวมอยู่ในอาหารสัตว์ในมลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา คร่าชีวิตฝูงวัวนับร้อย ส่งผลกระทบต่อโรงฆ่าสัตว์ที่นำเนื้อสัตว์ออกสู่ตลาด

พ.ศ. 2517 พบไดออกซินที่ปนปื้อนในน้ำนมแม่ในเวียดนามตอนใต้

พ.ศ. 2519 โรงงานผลิตไตรคลอโรฟีนอล (Trichlorophenol) ของ Hoffman- Laroche ระเบิดในเมืองเซเวโซ, อิตาลี เป็นผลให้ประชาชนกว่า 37,000 คนสัมผัสกับหมอกควันพิษซึ่งปนเปื้อนไดออกซิน

พ.ศ. 2520 พบไดออกซินเป็นสาเหตุของมะเร็งในหนู, กรมป่าไม้สหรัฐอเมริกายุติการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนไดออกซินในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติ, สหรัฐยุติการผลิต PCBs ในเชิงพาณิชย์

พ.ศ.2521 พบไดออกซินใน Love Canal แถบน้ำตกไนแองการา นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีการอพยพ 240 ครอบครัวในเดือนสิงหาคม, มีการพบไดออกซินจากการปล่อยอากาศเสียของโรงงานเผาขยะเทศบาล, การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นมะเร็งในหนูทดลองที่สัมผัสกับ ไดออกซิน การศึกษานี้ถูกใช้เป็นหลักฐานสำหรับการประเมินความเสี่ยงของระดับการสัมผัสไดออกซินขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา, บริษัทดาวเคมีคอลเสนอทฤษฎี “ไดออกซินจากไฟป่า”

พ.ศ. 2522 องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอนุมัติให้มีการชะลอการใช้สารเคมีปราบวัชพืช 2,4,5-T เป็นการด่วนหลังจากผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงถึง ”การเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของการแท้งลูกในช่วง 2 เดือนอันเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีปราบวัชพืช”

องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐพบไดออกซิน 40ส่วนในล้านส่วนในกากของเสียที่โรงงาน Vertac ในเมืองแจ็คสันวิลล์ มลรัฐอาร์คันซอว์สหรัฐอเมริกา

การปนเปื้อนไดออกซินใน น้ำมันรำข้าวในเมือง Yu-cheng ใต้หวัน

ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสไดออกซินในสารเคมีปราบวัชพืช phenoxyacetic acid และมะเร็งที่เกิดที่เนื้อเยื่ออ่อน

พบไดออกซินเป็นตัวขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนและตัวรับฮอร์โมน

พ.ศ. 2524 อุบัติการณ์ไฟไหม้ตัวเก็บประจุในเมืองบิงแฮมตัน นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ทำให้ตึกที่ทำการของรัฐบาลปนเปื้อนด้วยไดออกซิน (PCBs และฟูราน)

พ.ศ. 2526 – 2528 พบชาวอเมริกันทั่วไปมีไดออกซินปนเปื้อนในร่างกาย

พ.ศ. 2528 องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐแถลงผลกระทบด้านสุขภาพจากไดออกซิน

พ.ศ.2529 พบไดออกซินในผลิตภัณฑ์กระดาษเนื่องมาจากการใช้คลอรีนฟอกกระดาษขาว

พ.ศ.2531 องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นทบทวนการประเมินผลไดออกซินครั้งแรก

พ.ศ.2533 การประชุมเรื่องไดออกซินซึ่งสนับสนุนเงินทุนโดยองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐและสถาบันคลอรีน

พ.ศ. 2534 การประชุมภาคประชาชนเรื่องไดออกซินเป็นครั้งแรกในเมือง Chapel Hill มลรัฐนอร์ทแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นพิษของไดออกซินกับประชาชนและนักกิจกรรมชุมชน มีการทบทวนการประเมินผลไดออกซินโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐครั้งที่สอง, การศึกษาภาวะการตายโดยสถาบัน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งชาติในกลุ่มคนงานโรงงานเคมีในสหรัฐพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดมะเร็งและการสัมผัสไดออกซิน

พ.ศ. 2535 รายงานประจำสองปีครั้งที่ 6 ของคณะกรรมาธิการร่วมนานาชาติสหรัฐ–แคนาดา เรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้คลอรีน

พ.ศ.2536 การศึกษาวิจัยที่เมืองเซเวโซ อิตาลี ค้นพบการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้นในประชาชน ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงานช่วงที่มีการระเบิดในปี พ.ศ. 2519

พ.ศ.2537 องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐแถลงรายงานฉบับร่างเรื่องการทบทวนการประเมินผลไดออกซิน มีการจัดประชุมใน 9 เมืองเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากสาธารณชน, กลุ่มประชาชนที่ทำงานรณรงค์ด้านสารพิษชื่อ ”the Citizens Clearinghouse for Hazardous Waste” เริ่มต้นงานรณรงค์กำจัดไดออกซิน

พ.ศ.2538 คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ขององค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐจัดประชุมเพื่อทบทวนร่างรายงานการประเมินผลของไดออกซิน

พ.ศ. 2541 ตัวแทนรัฐบาลจาก 100 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุมที่เมืองมอลทรีออล แคนาดา เริ่มต้นเจรจาสนธิสัญญาระดับโลกเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกและสุขภาพของมนุษย์ จากมลพิษที่เรียกกันว่า “สารมลพิษตกค้างยาวนาน“ ซึ่งไดออกซินเป็นหนึ่งในบัญชีรายชื่อ

พ.ศ. 2542 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเสนอรายงานระบุว่า โรงงานเผาขยะในประเทศญี่ปุ่นปล่อยไดออกซินเข้าสู่อากาศเกือบร้อยละ 40 ของการปล่อยไดออกซินทั่วโลก มลพิษจากไดออกซินกลายเป็นวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหม่ในญี่ปุ่นหลังจากกรณีโรคมินามาตะ

พ.ศ. 2544 การประชุม Diplomatic Conference ณ กรุงสต็อกโฮม สวีเดน เพื่อเปิดให้มีการรับรองและการลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม