ธารา บัวคำศรี – แปลเรียบเรียงจาก Energy Transition – The Germany Energiewende

http://energytransition.de/2012/10/energy-by-the-people/

GET_2A15_renewables_in_the_hand_of_the_people_l

ประเทศส่วนใหญ่ ภาคพลังงานตกอยู่ในมือของกลุ่มบรรษัทขนาดใหญ่เนื่องจากไฟฟ้าผลิตขึ้นจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่รวมศูนย์ พลังงานหมุนเวียนเปิดโอกาสใหม่เพื่อเปลี่ยนผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ไปสู่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กๆ จำนวนมาก และแนวทางการกระจายศูนย์นี้เปิดให้พลเมืองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เยอรมนีมีระดับของการมีส่วนร่วมของพลเมืองในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่สูงมาก

การเปลี่ยนแปลงทางพลังงานของเยอรมนีเป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย

บางประเทศเปลี่ยนระบบพลังงานหมุนเวียนโดยขอให้หน่วยงานด้านไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าสีเขียวโดยใช้นโยบายที่เรียกว่า “ระบบโควตา” นโยบายเหล่านี้ตั้งเป้าหมายให้หน่วยงานด้านไฟฟ้าได้บรรลุเป้าหมายและมีบทลงโทษหากเป้าหมายดังกล่าวนั้นไม่บรรลุผล ในกรณีนี้มักเน้นไปที่ประเด็นเรื่องราคา โดยอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าหน่วยงานด้านไฟฟ้าจะเลือกแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่แพงน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น สมาคมพลังงานลมแห่งสหราชอาณาจักรทำรายการโครงการพลังงานลมเป็นลักษณะการนำเสนอ โครงการที่ได้รับการอนุมัติ ไม่ได้รับอนุมัติ หรือสร้างแล้วเสร็จ เป็นแบบที่ไม่มีอยู่ในระบบ feed-in tariffs ของเยอรมนี ดังนั้น การไม่ได้รับอนุมัติโครงการจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ในกรณีของสหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกัน

ในทางตรงกันข้าม ไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งในเยอรมนีมีหน้าที่ทบทวนข้อเสนอโครงการทุ่งกังลมว่าควรจะอนุมัติหรือไม่ แต่รัฐบาลท้องถิ่นตัดสินใจว่าจะให้สร้างกังหันในบริเวณใดและจะมีการออกแบบอย่างไร(ทั้งในแง่พื้นที่ จำนวนกังหันลม และอื่นๆ) หน่วยงานด้านไฟฟ้าไม่ต้องเจอกับการลงโทษด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทเหล่านี้น้อยมากเลือกที่จะลงทุน ในภาพรวม ความแตกต่างระหว่างระบบโควต้าและ feed-in tariffs นั้นชัดเจนมาก ในระบบโควต้า มีเพียงระบบที่แพงน้อยที่สุดเท่านั้นที่ผ่านเข้าไปได้หลังจากผ่านการทบทวนโครงการด้วยเวลาอันยาวนาน และโครงการเหล่านั้นยังคงอยู่ในมือของบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ ส่วนในระบบ feed-in tariffs ทุกๆ อย่างที่จำเป็นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าเปลี่ยนถ่ายไปยังภาคพลเมือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เยอรมนีกำลังทำให้ระบบพลังงานของตนเป็นประชาธิปไตย

การเน้นไปที่ราคานั้นเหมาะสมกับระบบโควต้า (ลักษณะเดียวกัน Renewable Energy Standard ในสหรัฐอเมริกา) เนื่องจากผลกำไรส่วนเกินจะตกอยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัท ผู้สนับสนุนระบบโควต้ากล่าวอย่างถูกต้องว่าผลในด้านราคาของระบบ feed-in tariffs นั้นโดยทั่วไปมีมากกว่าในระบบโควต้า แต่พวกเขามองข้ามไปสองประเด็นคือ หนึ่ง ประเทศที่ใช้ระบบ feed-in tariffs โดยทั่วไปมีการติดตั้งกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากกว่า และ สอง หากมีการออกแบบอย่างเหมาะสม ผลกำไรจากระบบ feed-in tariffs จะกลับไปสู่ผู้ลงทุนรายย่อย มิใช่บริษัทพลังงานข้ามชาติ เป็นการพลังทลายการผูกขาดภาคพลังงานของบริษัทขนาดใหญ่ หรืออีกนัยหนึ่ง หลายคนที่เจอกับราคาไฟฟ้าขายปลีกที่กว่าเล็กน้อยนั้นจะได้รับผลกำไรจากส่วนที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้น

ผู้สนับสนุนระบบโควต้าแย้งว่า พวกเขาไม่ลำเอียงในทางเทคโนโลยี หมายถึงว่า พวกเขาไม่ชอบเลือกเทคโนโลยีอันหนึ่งว่าเหนือว่าอีกอันหนึ่ง พวกเขาเห็นว่า ระบบ feed-in tariffs นั้นเลือกผู้ชนะ แต่ความเห็นดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ปกติตามผลลัพท์ทางการตลาดที่แตกต่างกัน ระบบโควต้าสนับสนุนโครงการพลังงานหมุนเวียนที่แพงน้อยที่สุดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการกังหันลมบนฝั่ง ไม่น่าแปลกใจที่ระบบแผงเซลสุริยะซึ่งยังคงมีราคาแพงอยู่โดยเปรียบเทียบมักจะประสบความล้มเหลวในการประมูลโครงการหากมิได้มีการจัดวางเอาไว้แล้ว (อย่างไรก็ตาม สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากราคาของแผงเซลแสงอาทิตย์มีราคาที่ซื้อหาได้) ในทางตรงกันข้าม ตลาดพลังงานหมุนเวียนในระบบ feed-in tariffs นั้นเป็นไปเพื่อแหล่งพลังงานหมนุเวียนทุกแหล่ง และหากเราต้องการให้มีการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เราจะต้องการส่วนแบ่งที่เหมาะสมของแหล่งพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ มิใช่เพียงการเน้นไปที่แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ถูกที่สุดเท่านั้น

สิ่งที่เป็นเรื่องน่าขำ นโยบายโควต้าที่เน้นความเป็นกลางของเทคโนโลยีมักนำไปสู่การเน้นไปที่แหล่งพลังงานหมุนเวียนเพียงแหล่งเดียว (กังหันลมบนฝั่ง) ในขณะที่นโยบายที่ถูกกล่าวหาว่าเลือกผู้ชนะนั้นนำไปสู่ส่วนผสมของเทคโนโลยีพลังงานที่มีลักษณะเข้มแข็งกว่า นอกจากนี้ ในขณะที่การประมูลโครงการถูกพิจารณาว่า “มีลักษณะที่แข่งขัน” การแข่งขันเกิดขึ้นระหว่างแหล่งพลังงาน บริษัทยังต้องแข่งขันกับเจ้าของโครงการรายอื่นในการประมูล แต่การประมูลนั้นนำไปสู่การกระจุกตัวมากขึ้นของตลาด ระบบ Feed-in Tariffs นั้นก่อให้เกิดตลาดพลังงานที่เปิดกว้างมากกว่ามาก ด้วยมีผู้ลงทุนใหม่เข้ามาแข่งขันในเวทีระดับเดียวกันตามข้อกำหนดที่วางไว้

เมื่อเร็วๆ นี้เอง สมาคมพลังงานลมแห่งสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ส่วนหนึ่งบนเว็บไซต์ของตนที่เรียกว่า “โครงการ(Projects)” ซึ่งมีรายชื่อโครงการกังหันลมตามทำเลที่ตั้ง ขนาด และเจ้าของโครงการ ในขณะที่ เยอรมนีมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากกังหันมากที่สุดกว่าใครในโลก ถึงกระนั้น DEWI องค์กรที่ทำหน้าที่รวบรวมสถิติของพลังงานลมในเยอรมนีกล่าวว่า พวกเขาไม่เคยทำตารางขึ้นมา “เราไม่สามารถบอกว่าใครเป็นเจ้าของกังหันลมอันใดอันหนึ่งในเยอรมนีเพราะว่าความเป็นเจ้าของนั้นแตกย่อยออกไปตามลำดับ และบางครั้งมีกลุ่มธุรกิจและกลุ่มประชาชนเป็นร้อยราย”

ทุ่งกังหันลม Dardesheim ขยายอย่างเป็นขั้นตอนในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และกังหันลมใหม่ยังถูกสร้างเพิ่มขึ้น การไปเยี่ยมชมโครงการไฟฟ้าจากลมนี้เหมือนกับการไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ที่ฐานของกังหันลมด้านขวา เด็กๆ สามารถนำสีมาระบายรูปต่างๆ ขนาดเท่าของจริงได้

ตัวอย่างจากเยอรมนีนี้เป็นเรื่องทั่วไป ไม่มีข้อยกเว้น ฟาร์มกังหันลมที่ Dardesheim มิใช่โครงการแรกในปี 1994 ต้งยกความดีความชอบให้กับเมืองเล็กๆ ชื่อ Friedrich-Wilhelm-Lübke-Koog ใกล้กับชายแดนประเทศเดนมาร์ก ส่วนที่เมือง Freiburg ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนีที่มีขนาดประชากรราว 220,000 คน ประชาชนได้ลงขันราวหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในการลงทุนในโครงการกังหันลม 4 ตัว ที่สร้างขึ้นบนเนินเขา ส่วนที่เหลือมาจากการกู้ยืมธนาคาร ผู้จัดการโครงการบอกว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ในขณะที่โครงการสามารถจ่ายผลกำไรจนถึงร้อยละ 6 กลับไปหาผู้ร่วมทุนในชุมชน การลงทุนของประชาชนนั้นถือว่าเป็นกรรมสิทธิหุ้นส่วนในโครงการ หรืออีกนัยหนึ่ง ธนาคารจะให้ดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากหุ้นส่วนโครงการนั้นมีมาก ในอีกด้านหนึ่ง มีงานเอกสารจำนวนมากหากโครงการเกี่ยวข้องกับนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก แทนที่จะเป็นเงินกู้ก้อนโตจากธนาคาร เช่นเดียวกับโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ในเยอรมนี โครงการไฟฟ้าจากกังหันลมที่ Freiburg project เน้นไปที่การยอมรับของชุมชน ให้คนในชุมชนคุยกันเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มาจากที่อื่นที่มาทำให้สมาชิกในชุมชนรู้สึกว่าจะเข้ามาแสวงประโยชน์

โครงการล่าสุดที่พยายามทำให้ชุมชนมิใช่เป็นเพียงผู้ส่งออกไฟฟ้าสุทธิ – กล่าวคือขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบสายส่งและซื้อไฟฟ้ากลับเมื่อไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่เพียงพอ – หากยังสามารถพึ่งตนเองด้านพลังงานได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น เกาะ Pellworm ได้รวมเอาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวลและความร้อนใต้พิภพเข้าด้วยกันโดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งอัจฉริยะที่มีแหล่งกักเก็บพลังงานเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกของ 1,200 ครัวเรือน ลงร้อยละ 90

ยังมีโครงการไฟฟ้าจากชีวมวลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ ในปี 2547 เกษตรกรในหมู่บ้าน Jühnde ได้ตั้งสหกรณ์ขึ้นเพื่อปลูกพืชพลังงาน มากกว่าร้อยยะ 90 ของคนในหมู่บ้านเห็นด้วยที่จะเปลี่ยนระบบทำความร้อนใหม่ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบก๊าซชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวลใช้เชื้อเพลิงจากข้าวโพดที่เพาะปลูกในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านจ่ายค่าใช้จ่ายทำความร้อนให้กับกลุ่มเกษตรกรและธุรกิจแทนที่เงินจะไหลออกไปสู่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

เมื่อหมู่บ้าน Jühnde เปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานหมุนเวียนทำความร้อนในบ้านเรือน ก็มีคนสนใจทั่วประเทศ และเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ที่จะเดินรอยตาม มีการเพิ่มขึ้นของการใช้พืชพลังงานอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเกรงว่าพืชเชิงเดี่ยวจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิทัศน์ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ปลูกข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาตรงที่เรียกว่า corn belt และพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองขนาดใหญ่ในบราซิลหรือสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ในมาเลเซีย ก็จะพบว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดของเยอรมนีนั้นมีขนาดเล็กไปถนัดใจ

โครงการพลังงานหมุนเวียนโครงการใหม่ยังคงได้รับการสนับสนุนโดยขึ้นอยู่กับชุมชน หากพลเมืองในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนั้นไม่ต้องการถูกล้อมรอบด้วยทุ่งข้าวโพด ก็จะไม่มีการเดินหน้าโครงการ

โดยรวม ประมาณว่า สหกรณ์พลังงานหมุนเวียน โครงการพลังงานหมุนเวียนที่ชุมชนเป็นเจ้าของ มีเงินลงทุนมากกว่า 1.2 พันล้านยูโร จากประชาชนมากกว่า 130,000 คน ในปี 2556 อาจกล่าวได้ว่า คนรวยเท่านั้นจะลงทุนแบบนั้นได้ หรือข้ออ้างที่ว่า คุณต้องมีบ้านเป็นของตนเองจึงจะมีเซลแสงอาทิตย์บนหลังคาได้ แต่มากกว่าร้อยละ 90 ของสหกรณ์พลังงานในเยอรมนีได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหุ้นหนึ่งหุ้นในสหกรณ์พลังงานเหล่านั้นมีค่าน้อยว่า 500 ยูโร ประมาณสองในสามส่วนของจำนวนสหกรณ์ทั้งหมด สหกรณ์บางแห่งหุ้นหนึ่งหุ้นมีค่าน้อยกว่า 100 ยูโร ประธานสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์กล่าวว่า “สหกรณ์พลังงานได้สร้างประชาธิปไตยของแหล่งพลังงานขึ้นในเยอรมนีและเปิดให้ทุกๆ คนได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงาน แม้ว่าพบวกเขาจะไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง”

นอกจากนี้ สหกรณ์พลังงานยังไปมากกว่าการผลิตไฟฟ้า โดยเข้าไปเกี่ยวข้องการเป็นเจ้าของสายส่ง ในทศวรรษ 1990 การเคลื่อนไหวเริ่มขึ้นโดย Schönau Power Rebels สมาชิกของชุมชนในเขตป่าดำที่กดดันให้หน่วยงานด้านไฟฟ้าอนุญาตให้พวกเขาซื้อระบบสายส่งในพื้นที่ ปัจจุบัน การขับเคลื่อนยังคงแผ่ยายไปทั่วประเทศ ในปี 2557 ฮัมบูรกร์ เมืองใหญ่อันดับสองของเยอรมนีโหวตให้มีการซื้อคืนระบบสายส่ง อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ในกรุงเบอร์ลินประสบความล้มเหลว พลเมืองยังสามารถซื้อหุ้นในระบบสายส่งที่ขยายเชื่อมต่อกับโครงการกังหันลมนอกชายฝั่งอีกด้วย แม้จะยังมีขอบเขตที่จำกัด

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงระบบพลังงาน หรือ The Energiewende ของเยอรมนีมิใช่เป็นเพียงความท้าทายทางเทคนิค มันเป็นความท้าทายของเราทุกคนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วย หากต้องการให้บรรลุเป้าหมาย เยอรมนีจะต้องรับเอายุทธศาสตร์ว่าด้วยความพอเพียง(sufficiency strategies) ที่เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งมิอาจเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ใช้เวลาและอาศัยการปลูกจิตสำนึก เยอรมนีเป็นสังคมที่ผู้คนรักอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบาย เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องมั่นใจว่า ผู้คนจะไม่ตัดสินใจว่ารถที่มีประสิทธิภาพในการเดินทางมากขึ้น กินเชื้อเพลิงน้อยลง นั้นหมายถึง พวกเขาจะขับรถยนต์มากขึ้นกว่าเดิม การอภิปรายว่าด้วยนโยบายนี้เพิ่มเริ่มขึ้นในเยอรมนี แร่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า แบบจำลองธรุกิจใหม่ (เช่น สหกรณ์พลังงาน) จะมิเพียงเปิดให้ผู้คนเกี่ยวข้องกับแนวทางใหม่ๆ แต่รวมถึงการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นและความตระหนักในการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม แบบแผนของความยืดหยุ่นจำเป็นจะต้องมีการทดลอง สมาคมบ้านจัดสรรกำลังทำงานในประเด็นแนวคิดบ้านจัดสรรที่ยืดหยุ่นโดยทำให้พื้นที่ในบ้านง่ายต่อการจัดแบ่งโดยง่าย เพื่อที่จะเป็นกลไกในการชะลอการเพิ่มขึ้นของขนาดพื้นที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ในอาคารที่พักอาศัยขณะนี้ได้มีเครื่องซักผ้าที่มีประสิทธิภาพสูงใช้รวมกันในบริเวณด้านล่างของอาคาร โครงการนั่งรถยนต์ไปด้วยกัน(car sharing) ทำให้ผู้คนเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความจำเป็นของแต่ละคน แต่ไม่ควรจะบังคับให้ผู้คนยอมรับความคิดดังกล่าว แต่หากทำให้คนทั้งหลายคิดค้นทางทางออกด้วยตัวของพวกเขาเองในขณะที่มีความตระหนักต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับราคาพลังงานที่ผันผวนและผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีต่อสังคม