TARAGRAPHIES

A Conversation With Society

วิกฤตสภาพภูมิอากาศ Climate Change, Opinions

บันทึกจาก Copenhagen — สถานีกู้วิกฤตโลกร้อน

คนจำนวนมากยังคงยืนเข้าคิวรอการลงทะเบียนเพื่อเข้าไปใน Bella Center อยู่ ผมพบปะผู้คนทุกวันที่มีแนวคิด อุดมการณ์และวิสัยทัศน์ต่อการแก้ปัญหาโลกร้อนและผลที่จะออกมาจากการประชุม COP 15 ที่คล้ายๆ กัน ผู้คนกว่า 25,000 คนจากทั่วโลกหลั่งไหลกันมาเพื่อเป็นพยานในการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งผู้นำประเทศอีกกว่า 110 คนด้วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระบบรักษาความปลอดภัยจะเข้มงวดขนาดไหน โดยเฉพาะตรงทางเข้า Bella Centre และที่ผมชอบก็เห็นจะเป็น ทีวีจอใหญ่มหึมาตรงทางเข้า ที่ฉายเรื่อง Climate Defender Camp ที่อินโดนีเซียด้วย

เมื่อผ่านเข้ามาใน Bella Centre แล้ว สิ่งที่น่าสนใจจุดหนึ่งที่ผมอยากเข้าไปชมมากที่สุดก็คือ Climate Rescue Station (CRS) หรือ สถานีกู้วิกฤตโลกร้อน ซึ่งกลุ่ม NGO ที่เป็นสมาชิกของ Global Campaign for Climate Action หรือ GCCA ร่วมกันจัดขึ้น โดยมีกิจกรรมตลอดช่วงการประชุม ทั้งการแสดงภาพถ่าย การอภิปรายพูดคุย ฉายภาพยนตร์ แล้วยังมีกาแฟฟรีให้ดื่มกันทุกเช้าอีกด้วย
CRS_COP15
Climate Rescue Station (CRS)  ก็มีประวัติอยู่เหมือนกัน โดยเริ่มในปี 2551 ที่เมืองพอซนาน ประเทศโปแลนด์ ในครั้งนั้น สถานีตั้งอยู่ตรงพื้นที่ขอบเหมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปเพื่อรณรงค์และเปิดโปงต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน ตำแหน่งตรงขอบเหมืองก็เสมือนการใช้ถ่านหินเป็นตัวการหลักที่ผลักดันให้เราเข้าสู่ขอบหรือห้วงโค้งสุดท้ายของโลก เหล่านักกิจกรรมของ Greenpeace ได้ร่วมกับชุมชนและนายกเทศมนตรีในการเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติด้านพลังงานและเรียกร้องพลังงานสะอาดในเมืองพอซนานด้วย

และในช่วง COP 14 สถานีนี้ก็ย้ายไปที่เมืองมาดริด ประเทศสเปน และเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการฉลองครบรอบ 25 ปี ของ Greenpeace สเปน มีการจัดกิจกรรมสาธารณะและนิทรรศการมากมาย เพื่อให้ความรู้เรื่องผลกระทบจากโลกร้อนต่อสเปน เป็นสถานที่จัด Concert การอภิปรายพูดคุยทางการเมือง และเป็นศูนย์เพื่อการศึกษาให้กับเด็กๆ เรื่องพลังงานหมุนเวียน

และการจัดที่เมือง Glastonbury ในประเทศอังกฤษ ช่วงเดือนมิถุนายน 2551 มีนิทรรศการและเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับการรณรงค์ของ Greenpeace ประเทศอังกฤษที่กำลังต่อต้านการสร้าง runway ที่สนามบิน Heathrow และการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในอังกฤษ

และผมก็มีโอกาสได้เห็นผู้อำนวยการบริหารของ Greenpeace International คุณ Kumi Naidoo คำพูดที่กินใจ และนิทรรษการภาพถ่ายที่น่าทึ่งด้วย

ผมยังได้แนะนำเพื่อนคนไทยที่มาร่วมประชุมที่นี่ ให้เข้ามาเยี่ยมชมสถานีนี้ นอกจากจะมีกาแฟฟรีให้ดื่มแล้ว ยังใช้เป็นที่หลบหลีกจากความวุ่นวายและการถกเถียงอันยาวนานของ COP15 อีกด้วย

อ่านฉบับภาษาอังกฤษที่นี่ บันทึกวันที่ 3 และ บันทึกวันที่ 4
เขียนโดย ธารา บัวคำศรี
แปลและเรียบเรียง สุรัจนา กาญจนไพโรจน์

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: