เป็นที่น่าเสียดายมากที่ผมพลาด highlight ของงานวันแรก ตอนที่ คุณ Leah Wickham เยาวชนจากฟิจิเป็นตัวแทนคนนับล้านที่ร่วมลงชื่อกับ tcktcktck เรียกร้องให้เกิดข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย รวมทั้งผมยังพลาดพิธีเปิดที่มี Abigail Jabines ผู้แทนจาก International Solar Generation รวมถึง Yvo De Boer เลขาธิการระดับสูงของ UNFCCC และ Connie Hedegaard ประธานคนใหม่ของ COP 15 คุณ Wickham จบการพูดลงด้วยประโยคที่ทุกคนก็พูดถึงอย่างติดปากเลยว่า “the time for talking is over and now it’s time for action“ หรือ “เวลาแห่งการพูดคุยกันหมดลงแล้ว ตอนนี้เป็นเวลาที่ต้องลงมือดำเนินการทันที”
เห็นบรรทัดหนึ่งในหนังสือพิมพ์ COP 15 ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่เกาะติดเรื่องการประชุมนี้โดยเฉพาะ จัดทำโดย CPHPOST.DK ที่พูดถึงคำกล่าวของ Yvo De Boer ต่อข้อเรียกร้องของคุณ Wickham น่าขันทีเดียว de Boer สรุปตอนท้ายว่า …but I hope you will be a bit patient and give us two more weeks of talking and then we will deliver on the action…” แปลตรงๆก็คือ “…ผมขอให้คุนอดทนอีกนิด และให้เวลาพวกผมอีกวัก 2 อาทิตย์ในการพูดคุย แล้วเราก็จะได้ลงมือทำหลังจากนั้น” จะคอยดู…
เรารู้ว่าในอีก 2 สัปดาห์ จะต้องมีการพูดคุยเจรจาในหลายประเด็นมาก เริ่มจากเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับในช่วงพันธะกรณีที่ 2 และหลังจากนั้นไปอีก รวมไปถึงว่าข้อตกลงใหม่นี้จะรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการบินหรือไม่ เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) ซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ชัดเจนและมีราคาแพงจะสามารถดำเนินการภายใต้ CDM ได้หรือไม่ จะมีมาตรการเพื่อยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าอย่างไร โดยเฉพาะป่าร้อนชื้นในประเทศกำลังพัฒนา ที่รู้จักกันว่า การลดการปล่อยก๊าซจากการตัดไม้ทำลายป่าและการเสื่อมโทรมของป่า หรือ REDD และยังมีอีกมากมาย แต่ในท้ายที่สุด เราต้องการเหล่าผู้นำให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน ไม่ใช่เหล่านักการเมืองที่ดีแต่พูด
ที่สถานีรถไฟ Central Station หลังจากออกมาจาก Bella Centre ผมพบกับกลุ่มวัยรุ่นเดินแจกใบปลิวเชิญชวนคนผ่านไปมาให้ไปยังเวทีด้านโลกร้อนอีกเวทีหนึ่งชื่อ Klima Forum 09 ซึ่งเป็นเวทีของภาคประชาสังคมจากทั่วโลกที่มาเข้าร่วมการประชุมที่ COP 15 นี้ ผมไปยัง DBI-Byen Copenhagen ซึ่งเป็นอาคารกีฬา ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ Central Station
และที่ Klima Forum 09 นอกจากจะมีนิทรรศการต่างๆ การสัมมนา การพูดคุย และดนตรีแล้ว ผลก็ต้องหยุดชะงักที่ภาพๆหนึ่ง เป็นภาพเรือที่เรียงลำดับการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP ตั้งแต่ปี 2535 มาเลย โดยเริ่มจาก
การประชุมสุดยอดของโลกที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ปี 2535
COP 1 เบอร์ลิน เยอรมนี ปี 2538
COP 2 เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ปี 2539
COP 3 เกียวโต ญี่ปุ่น ปี 2540
COP 4 บัวโนส ไอเรส อาร์เจนติน่า ปี 2541
COP 5 บอนน์ เยอรมนี ปี 2542
COP 6 กรุงเฮก ปี 2543
COP 6+ บอนน์ เยอรมนี ปี 2544
COP 7 มาราเคช โมรอคโค ปี 2544
COP 8 นิว เดลี อินเดีย ปี 2545
COP 9 มิลาน อิตาลี่ ปี 2546
COP 10 บัวโนส ไอเรส อาร์เจนติน่า ปี 2547
COP 11 มอนทรีออล แคนาดา ปี 2548
COP 12 ไนโรบิ เคนย่า ปี 2549
COP 13 บาลี อินโดนีเซีย ปี 2550
COP 14 พอซแนน โปแลนด์ ปี 2551
COP 15 โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ปี 2552
ใช่แล้ว Mr. Boer คุณมีเวลาเพียงแค่ 2 อาทิตย์เท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้ พอก็คือพอ และก็เป็นที่ชัดเจนว่า เราต้องการดำเนินการ หรือ action เพื่อจัดการกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเร็วในขณะนี้
อ่านฉบับภาษาอังกฤษที่นี่
เขียนโดย ธารา บัวคำศรี
แปลและเรียบเรียง สุรัจนา กาญจนไพโรจน์