แผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกจะดับความหวังในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และบั่นทอนการกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น(INDCs)

ปารีส 1 ธันวาคม 2015 จากการวิเคราะห์ล่าสุดของกลุ่ม Climate Action Tracker ณ การประชุมสุดยอดโลกร้อนที่กรุงปารีส หากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในแผนที่จะก่อสร้างทั้งหมดเกิดขึ้น ภายในปี 2573 การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเพิ่มมากขึ้น 400 เปอร์เซ็นต์ของระดับที่สอดคล้องต่อการคงไว้ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส

แม้ว่าจะไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นใหม่ ในปี 2573 การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะยังคงเพิ่มมากกว่า 150 เท่า ของระดับที่จำเป็นต่อการคงไว้ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส

โดยการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลติดตามโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกของ Coal Swarm (1) ภายใต้แนวทางที่จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และ 1.5 องศาเซลเซียส กลุ่ม Climate Action Tracker ได้ทำการคำนวณผลการปล่อยคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกเทียบกับศักยภาพของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีการคาดการณ์ตลอดจนแนวนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบัน

มีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ในแผนที่จะก่อสร้าง 2,440 แห่งทั่วโลก (2) โดยมีกำลังการผลิตรวมกัน 1,428 กิกะวัตต์ ซึ่งจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ราวร้อยละ 16-18 ของปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สามารถปล่อยได้ในปี 2573

เมื่อรวมเข้ากับกำลังการผลิตที่มีอยู่และอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เลยปี 2573 ไป การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมีมากถึง 12 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2573

แม้ว่าจะมีความจำเป็นในการลดละเลิกการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ไห้มากกว่าไปกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรม รัฐบาลหลายประเทศ รวมถึง กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 28 ประเทศ(EU28)ก็ยังคงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ่้น ส่วนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 28 ประเทศ(EU28) โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมเป็นส่วนใหญ่

กลุ่ม Climate Action Tracker ยังได้พิจารณาไปที่ 8 ประเทศที่มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกำลังการผลิตรวมกันมากกว่า 5 กิกะวัตต์ ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ตุรกี ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ รวมถึงกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 28 ประเทศ

มี 7 ประเทศ จาก 9 ประเทศในการศึกษา คือ จีน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 28 ประเทศอินเดีย ตุรกี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในแผนการจะส่งผลให้การกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น(INDCs) ไม่อาจบรรลุผล

ทุกประเทศที่มี การกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น(INDCs) นั้นถูกจัดลำดับโดย Climate Action Tracker ว่า “ไม่เพียงพอ” หรือ “ไม่มุ่งมั่น” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่พอที่จะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสได้ และมีแนวนโยบายในปัจจุบันที่ไม่มุ่งมั่นมากพอ

กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่รวมกันทั้งหมดในประเทศเหล่านี้จะเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในราว 1.5 กิกะตัน

หากรวมเอาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ยังไม่ก่อสร้างหรือยังไม่ได้รับอนุมัติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะอยู่ในราว 3.5 กิกะตัน การยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยในราว 2 กิกะตันซึ่งมีระดับที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในนโยบายปัจจุบัน ทำให้ประเทศเหล่านี้เข้าใกล้เป้าหมาย INDCs มากขึ้น Pieter Van Breevoort จาก Ecofys กล่าวว่า “มีทางออกต่อประเด็นการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินในแผนมากเกินไป ทางออกที่ว่าคือ ยกเลิกมันซะ” พลังงานหมุนเวียนและมาตรฐานมลพิษที่เคร่งครัดทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกเป็นของล้าสมัย การถอดถ่านหินออกจากแผนพลังงานได้เร็วเท่าไร ต้นทุนที่จะต้องแบกรับในอนาคตยิ่งจะน้อยลง

Markus Hagemann จาก NewClimate Institute กล่าวว่า ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนที่ลดลงเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

มีความเป็นไปได้น้อยมากที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางเลือกคาร์บอนต่ำอื่นๆ ไปถึงจุดที่แข่งขันได้ หากพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้นได้เร็วตามที่คาดการณ์ไว้ การลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งก็ต้องชะงัก หรือไม่เดินหน้าต่อไปได้ภายใต้สภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่อย่างยิ่ง

Bill Hare จาก Climate Analytics ระบุว่า เพื่อที่จะรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่มากกว่าไปกว่า 2 องศาเซลเซียส ภาคพลังงานจะต้องมุ่งไปสู่ทิศทางคาร์บอนต่ำให้ได้อย่างรวดเร็ว

มากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกเรียกร้องเพื่อให้ข้อตกลงที่ปารีสใช้ระดับอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เป็นระดับอ้างอิง ถึงแม้ว่า การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ทั่วโลกจะทำให้สถานการณ์นี้ไปไกลกว่าฉากเหตุการณ์ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน เรารู้ว่าประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น อินเดียจะเห็นประโยชน์ร่วมจากการลดมลพิษทางอากาศและประเด็นผลกระทบสุขภาพที่ประชาชนเผชิญอยู่