บทสารคดีโดย สถานีโทรทัศน์ NHK แปลจากภาษาญี่ปุ่นโดย Yuka
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น สารไดออกซินที่ใช้ในการทดลองถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดีในตู้นิรภัยเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากไดออกซินเป็นสารที่มีอันตรายมาก มีเจ้าหน้าที่เพียง 3 คนในห้องปฏิบัติการแห่งนี้ที่มีสิทธิเปิดตู้นิรภัยนี้ได้
- ไดออกซินเป็นชื่อสามัญของกลุ่มสารเคมีที่มีอันตรายที่สุดในโลกในปัจจุบัน สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติระบุว่ามันเป็นสารก่อมะเร็งตัวสำคัญ
- ในขวดนี้เป็นสารไดออกซินปริมาณ 1 กรัม เพื่อป้องกันการรั่วไหล จึงต้องห่อขวดไว้อีกชั้นหนึ่ง สารไดออกซินมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไดออกซินสังเคราะห์ขึ้นมาในห้องทดลอง มันเป็นสารประกอบเป็นพิษที่ร้ายแรงที่สุดที่มนุษย์เคยสร้างขึ้น
- ปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่น ปัญหาไดออกซินระบาดไปทุกที่
- แหล่งกำเนิดไดออกซินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น คือโรงงานเผาขยะ
- ไดออกซินเกิดจากการเผาขยะที่คนผลิตขึ้นมาในชีวิตประจำวัน
- ในขยะส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของคาร์บอน ส่วนหนึ่งเป็นพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ถ้าเราเผาขยะในอุณหภูมิน้อยกว่า 800 องศาเซลเซียส จะเกิดไดออกซินขึ้น
- ไดออกซินจากโรงงานเผาขยะ มีลักษณะเป็นอนุภาคที่ละเอียดขนาดเล็กมาก ๆ ที่ระบายจากท่อ และเข้าไปสะสมในสิ่งแวดล้อมและร่างกายของมนุษย์
- ไดออกซินที่เกิดขึ้นเป็นฝุ่น ค่อยๆ สะสมในตัวเรา
- การสะสมไดออกซินในร่างกายของเรามาจากหลายทาง เมื่อมันออกจากโรงงานเผาขยะ เราอาจหายใจสูดเอาไดออกซินเข้าไปโดยตรง เราอาจรับไดออกซินจากอาหารที่เรากิน ไดออกซินจากแหล่งกำเนิดลงไปในแม่น้ำ และทะเล ในทะเลมีแพลงตอนเป็นอาหารของปลา ปลาเล็กกินแพลงตอน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ในที่สุดไดออกซินเข้าไปอยู่ในปลาใหญ่ เมื่อเทียบปริมาณไดออกซินในทะเลกับในตัวปลา จะมีปริมาณมากกว่าถึง 3,000 เท่า เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงรับไดออกซินมากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในห่วงโซ่อาหาร เพราะเรากินอาหารในชั้นบนสุดของห่วงโซ่อาหาร
- จากผลการสำรวจมากมายในปัจจุบันนี้พบว่า ไดออกซินที่เกิดจากโรงงานเผาขยะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์
- ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 1998 กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนระเบียบของกระทรวง มีการจำกัดปริมาณไดออกซินจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ โดยออกเป็นกฎกระทรวง
- นี่คือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น เขากล่าวถึงการที่กระทรวงกำหนดระเบียบใหม่ขึ้นมา ก็เพื่อลดความกังวลใจของประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับไดออกซิน
- (ภาพเอกสาร) ข้อกำหนดในกฎกระทรวงระบุว่า ให้หน่วยงานต่าง ๆ ลดการปล่อยไดออกซินลงให้น้อยกว่า 80 นาโนกรัมต่อ ลบม.
- ค่ามาตรฐานนี้เกิดจากผลสำรวจที่ว่า ถ้ามีค่าไดออกซินเกินกว่านี้ จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นี่เป็นข้อมูลจากการสำรวจในสัตว์ทดลองต่าง ๆ
- (สนามเบสบอล) ปริมาณ 80 นาโนกรัมต่อ ลบม. เทียบกับเกลือที่อยู่ในมือของผมต่อความจุของสนามเบสบอลทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเรานำเกลือนี้ละลายเข้าไปในน้ำที่มีความจุเท่ากับสนามเบสบอลแห่งนี้นั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่า ไดออกซินปริมาณเพียงนิดเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้
- (ภาพเอกสารหลาย ๆ ใบ) เอ็นเอชเคได้ส่งแบบสำรวจไปตามรัฐบาลท้องถิ่นที่มีการเผาขยะ และได้คำตอบจากหลายแห่ง จากการสำรวจพบว่า มีโรงงานเผาขยะ 110 แห่งที่ก่อให้เกิดไดออกซินมากกว่า 80 นาโนกรัม ต่อ ลบม.
- มีการคำนวณปริมาณขยะที่เผาทุกวัน และได้ตัวเลขประมาณการว่าเกิดไดออกซินมากน้อยเท่าไร
- (ภาพแผนที่) การเกิดไดออกซินมีมากที่สุดที่จังหวัดชิบะ โดยมีไดออกซินถึง 235 กรัมต่อปี จังหวัดนี้เป็นแหล่งกำเนิดไดออกซินที่มากที่สุดในญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 25 ของไดออกซิน มีแหล่งกำเนิดในกรุงโตเกียวและอีก 3 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกัน รองลงไปเป็นจังหวัดฟูกูโอกะและฮิโรชิมา
- (ภาพที่จังหวัดไซตามา) ที่จังหวัดไซดามามีการสำรวจพบว่ามีไดออกซินมากกว่า 150 เท่าของที่กระทรวงกำหนด ประชาชนเพิ่งรู้ข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้เกิดความหวาดกลัว
- (ภาพประชุม) ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชน ที่เปิดเผยข้อมูลล่าช้า ปัจจุบันปัญหานี้ได้ถูกดำเนินการแก้ไขแล้ว ปริมาณไดออกซินที่เกิดจากการเผาขยะลดลง และขณะนี้อยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย
- ชาวบ้านผู้หญิง “ทางจังหวัดบอกลดลง ไม่น่าเชื่อเลย เพราะปริมาณขยะก็ไม่ได้ลดลงเลย”
- ผู้ชาย “ผมไม่ไว้ใจการทำงานของจังหวัด เขาเปิดเผยข้อมูลล่าช้าและไม่ชัดเจนด้วย”
- ที่จังหวัดอิราบากิ เมืองซิงโตเนะ ที่นี่มีการสำรวจการปล่อยไดออกซินด้วยตัวเอง โดยชาวบ้านเก็บดินบริเวณโรงงานเผาขยะ ส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าดินนั้นมีไดออกซินเท่าไร
- พวกเขาเก็บตัวอย่างดินบริเวณรอบโรงงานเผาขยะในรัศมี 2 กิโลเมตร รวม 60 จุด ส่งไปยังมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ศึกษาเรื่องไดออกซิน
- ผลสำรวจ คือ สถานที่ที่อยู่ใกล้โรงงานเผาขยะ จากจุดสีเขียวนี้ มีค่าไดออกซินเฉลี่ยสูงกว่า 10 เท่า ของที่อื่น
- (ภาพทะเล) ที่เมืองฮอนโดะ จังหวัดมาโมโตะ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น มีการสำรวจบริเวณรอบโรงงานเผาขยะ พบว่า มีค่าไดออกซิน 83 นาโนกรัม สูงกว่าที่กระทรวงกำหนด ชาวบ้านบริเวณนี้เป็นกังวลอย่างมาก
- การเกิดไดออกซินจะทำให้สุขภาพเขาแย่ลงหรือเปล่า มีคนสงสัยกันมาก ทางเมืองจึงได้จัดบริการตรวจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
- ผู้หญิง “เราก็กลัวเหมือนกัน กลัวที่สุดเห็นจะเป็นผลกระทบต่อลูกหลาน พวกเราอาจจะไม่เป็นไรก็ได้ แต่เป็นห่วงลูกหลาน”
- ผู้ชาย “ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำงานเร็ว ๆ ที่ผ่านมาการทำงานของจังหวัดล่าช้ามาก”
- (ภาพมหาวิทยาลัยเอชิเมะ ที่มีการศึกษาเรื่องไดออกซิน) ที่มหาวิทยาลัยเอชิเมะจะมีการสำรวจว่าในมนุษย์เรามีไดออกซินสะสมมากแค่ไหน
- อาจารย์วาคิโมโตะกำลังทำการวิจัยว่า ในไขมันของเรานี้สะสมไดออกซินมากแค่ไหน ผลงานที่เขาวิจัยเริ่มมาตั้งแต่ปี 1976 ทำให้เรารู้ว่าไดออกซินที่สะสมอยู่ในร่างกายมนุษย์จะไปสะสมในไขมัน และในประเทศญี่ปุ่นมีปริมาณไดออกซินเพิ่มขึ้น ตามการเผาขยะที่มากขึ้นเรื่อยๆ
- เส้นสีฟ้าเป็นปริมาณการเผาขยะ ส่วนเส้นสีขาวคือปริมาณไดออกซินที่อยู่ในตัวเรา
- (การสัมภาษณ์ของอาจารย์วาคิโมโตะ จากมหาวิทยาลัยอาคิเมะ) “ในอดีต ไม่เคยมีการวิจัยแหล่งกำเนิดไดออกซิน และในธรรมชาติไดออกซินจะสะสมมาเรื่อยๆ ตามแหล่งกำเนิดต่างๆ ที่ผ่านมาไม่มีการสำรวจว่าไดออกซินเกิดที่ไหนอย่างไร แล้วทำให้สิ่งแวดล้อมของโลกสะสมไดออกซินมากขึ้น ทำให้ปริมาณไดออกซินเพิ่มมากขึ้น”
- (ภาพโรงงานเผาขยะ) “ถ้าเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว การเผาขยะในญี่ปุ่นมีมากที่สุด และเกิดไดออกซินมากที่สุดด้วย ถ้าเทียบกับยุโรปหรืออเมริกา ปริมาณของไดออกซินในอากาศและสิ่งแวดล้อม ในญี่ปุ่นมีมากกว่า 10 เท่า”
- ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นจึงทำงานล่าช้ามาก ในการส่งแบบสอบถาม NHK ทราบว่า หน่วยงานและรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ มองว่า การทำงานของรัฐบาลกลางล่าช้า คือไม่ได้บอกชัดเจนในเรื่องไดออกซินว่ามากน้อยแค่ไหน อันตรายอย่างไร การทำงานจึงซับซ้อนและล่าช้า
- (ภาพเมืองคึจิ จังหวัดอิบาเตะ) เขาได้ตัวเลขที่ไม่ชัดเจนจากรัฐบาลกลาง และใช้ตัวเลขนี้เป็นค่ามาตรฐานควบคุมโรงงานเผาขยะทำให้เกิดปัญหา และรัฐบาลท้องถิ่นทำงานล่าช้า
- เมื่อ 2-3 ปีก่อน ชาวบ้านและสภาท้องถิ่นเรียกร้องให้รัฐบาลท้องถิ่นสำรวจปริมาณไดออกซินที่อยู่รอบโรงงานเผาขยะ และได้ผลศึกษาออกมาว่า
- โรงงานเผาขยะ 9 แห่ง มีไดออกซินมากกว่าที่กระทรวงกำหนดไว้ถึง 6 เท่า แต่สมัยนั้นไม่มีใครรู้ว่าตัวเลขนี้สูงมาก เกินมาตรฐาน
- (ภาพเอกสาร) รายงานที่เปิดเผยในสภาท้องถิ่น ตัวเลข 480 คือปริมาณไดออกซิน และมีตัวเลข 1250 อยู่ติดกัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ออกมาก่อนหน้านั้นจากคณะกรรมการของรัฐบาล ดังนั้น ไม่มีใครคิดว่าปริมาณไดออกซิน 480 นี้จะมีปัญหา เพราะต่ำกว่า 1250 ของคณะกรรมการ แต่ตามกำหนดของกระทรวงต้องมีไดออกซินน้อยกว่า 80 นาโนกรัม ต่อ ลบม.
- ผู้รับผิดชอบโรงงานเผาขยะให้สัมภาษณ์ว่า “สมัยนั้นมีตัวเลข 1250 ไม่เห็นมีตัวเลขอื่นที่รัฐบาลเสนอออกมา เขาคิดว่า ถ้าน้อยกว่า 1250 คิดว่าได้มาตรฐาน ไม่มีปัญหา”
- ทำไมค่า 1250 ที่มีอยู่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นค่ามาตรฐาน ตัวเลขนี้มาจากการประชุม เมื่อปี 1984 ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่ศึกษาเรื่องนี้คาดไว้ว่า ปริมาณ 1250 นาโนกรัม เป็นการเกิดไดออกซินที่มากที่สุดที่เกิดจากโรงงานเผาขยะ ไม่ใช่ค่ามาตรฐานอย่างที่เข้าใจกัน สมัยนั้นไม่มีใครรู้ว่าไดออกซินอันตรายแค่ไหน จึงไม่มีใครคิดว่าปริมาณไดออกซินขนาดนี้ คือ 1250 จะเป็นอันตราย ผู้เชี่ยวชาญก็คิดว่าไม่เป็นอันตราย ไม่มีใครรู้ว่าการสะสมไดออกซินในมนุษย์มาจากไหน เขาจะคำนวณจากการปล่อยทางอากาศเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วมนุษย์รับไดออกซินจากการกินด้วย ตัวเลขที่คิดว่าไม่มีปัญหา ที่จริงมีปัญหามาก
- คุณโคบายาชิ อดีตหัวหน้าแผนกในกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า “สมัยนั้นไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนที่สามารถจะเป็นไกด์ไลน์ได้ ก็เลยมีแค่ 1250 เท่านั้น หน่วยงานต่างๆ เลยเข้าใจว่า ตัวเลขนี้เป็นมาตรฐานที่เขากำหนดไว้”
- หลังจากนั้น 6 ปี (1990) กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดประชุมอีกครั้ง เรียกผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดออกซินเข้ามาทำไกด์ไลน์ นี่คือครั้งแรกที่มีการศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาไดออกซินจากโรงงานเผาขยะได้ นี่เป็นการปรึกษากันครั้งแรกในญี่ปุ่น
- (ภาพอาจารย์) อาจารย์ทาชิกาวา จากมหาวิทยาลัยอิชิเมะ สมัยนั้นเขาอยู่ในคณะกรรมการ และเป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาไดออกซินที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ เขาเป็นคนแรกในญี่ปุ่น ในที่ประชุม เขาเสนอว่า กระทรวงจะต้องกำหนดตัวเลขที่ชัดเจนว่าเกิดไดออกซินได้แค่ไหน กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้อง
- “ถ้าเราจะกำหนดตัวเลขให้ชัดเจน หน่วยงานต่าง ๆ ของญี่ปุ่นมีความสามารถที่จะกำหนดให้เป็นไปตามนั้นได้ ถ้ามีตัวเลขชัดเจนทุกหน่วยงานจะช่วยกันทำให้ได้มาตรฐาน”
- (ภาพที่ทิ้งขยะ) ในช่วงนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเติบโตมาก ขยะที่เกิดจากบ้านเรือน จากการใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในการประชุมครั้งนั้น ตัวแทนรัฐบาลท้องถิ่นบอกว่า ถ้ามีตัวเลขที่กำหนดชัดเจน การจัดการขยะจะยากมากขึ้น จึงปฎิเสธที่จะให้มีตัวเลขที่ชัดเจนออกมา
- คุณเทราชิมะ จากรัฐบาลโตเกียว อดีตผู้รับผิดชอบเรื่องขยะ “ถ้าตัวเลขมีความชัดเจนจะส่งผลกระทบต่อการจัดการขยะประจำวัน เขาจึงปฏิเสธไม่ให้มีตัวเลขที่ชัดเจน “
- ในการประชุมตกลงกันว่า ถ้าหน่วยงานไหนจะสร้างโรงงานเผาขยะขึ้นมาใหม่ ค่ามาตรฐานการปล่อยไดออกซินต้องน้อยกว่า 5 นาโนกรัม มีการตกลงกันอย่างนี้ แต่โรงงานเผาขยะรุ่นเก่า ไม่ได้รวมอยู่ในมาตรฐานที่ออกมาใหม่ ดังนั้น ค่า 1250 คงยังอยู่เหมือนเดิม
- ทาง NHK คำนวณไว้ว่า ถ้าโรงงานเผาขยะรุ่นเก่าไม่ได้รวมอยู่ในค่ามาตรฐานใหม่ จะเกิดไดออกซินมากขึ้นเท่าไร และได้ตัวเลขออกมาประมาณ 2731 กรัมจากโรงงานเผาขยะที่มีอยู่แล้ว ตัวเลข 0.5 คือค่าไดออกซินจากโรงงานเผาขยะที่สร้างใหม่ ดังนั้น ประมาณ 90% ของไดออกซินเกิดจากโรงงานเผาขยะที่มีอยู่แล้วซึ่งไม่ได้อยู่ในมาตรฐานของกระทรวงที่ออกมาใหม่
- เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ไม่ได้ทำไกด์ไลน์ ทั้งๆ ที่การทำไกด์ไลน์เป็นเรื่องที่ดี เขาบอกว่า ในตอนนั้นทุกคนเห็นด้วยว่าพยายามจะทำเท่าที่จะทำได้ นี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำงานได้ต่อไป….
- อาจารย์ทาชิกาวะโต้ว่า “การที่ไม่มีไกด์ไลน์ในสมัยนั้นทำให้มีปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คือไม่มีการแก้ไข ไม่มีการแก้ปัญหา คิดว่ากระทรวงสาธารณสุขขาดความรับผิดชอบ ทำให้เกิดสภาพที่เป็นอยู่ขึ้น”
- จากการสำรวจโดยแบบสอบถามของ NHK พบว่า สาเหตุที่เกิดไดออกซินมากอีกประการหนึ่ง คือ เกิดจาก
- (แผนที่) มีสถานที่ที่เกิดไดออกซินมากกว่า 80 นาโนกรัมอยู่ 110 แห่ง ในจำนวนนี้ มี 76 แห่ง มีเครื่องกรองฝุ่น คือใช้ระบบไฟฟ้าเก็บฝุ่น เพื่อลดมลพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีไดออกซินมากขึ้น
- นี่คือแผนผังการทำงานของเครื่องกรองฝุ่นแบบประจุไฟฟ้า ของโรงงานเผาขยะ
- เป็นเครื่องที่ใช้ระบบไฟฟ้า และมีอุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เกิดไดออกซินได้มาก
- (คำอธิบาย) ซ้ายมือเป็นเตาเผาขยะ ภาพกลางเป็นการทำให้อากาศที่เกิดจากการเผาขยะเย็นลง ภาพขวาเป็นภาพที่เก็บฝุ่นที่เขียนว่าอุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส ออกจากเครื่องนี้แล้วปล่อยออกสู่อากาศ
- ที่จริง การพบว่าอุณหภูมิในเครื่องป้องกันมลพิษเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไดออกซินมากขึ้นนี้ มีการสำรวจมาแล้วโดยอาจารย์คนหนึ่ง อาจารย์คาโต เคยสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ เขาสำรวจเรื่องไดออกซิน ที่โรงงานเผาขยะแห่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานจริง ได้ผลชัดเจนว่า ถ้าอุณหภูมิของเครื่องที่เก็บฝุ่นลดลงเป็น 200 องศาเซลเซียส จะทำให้ไม่เกิดไดออกซินมาก
- “เครื่องป้องกันมลพิษทำให้เกิดไดออกซินมากมาย มีวิธีแก้ คือต้องลดอุณภูมิให้เป็น 200 องศาเซลเซียส จึงจะแก้ปัญหาได้”
- ในบันทึกการประชุม อาจารย์คาโตเสนอว่า ต้องให้อุณหภูมิในเครื่องนั้นลดลงถึง 200 องศาเซลเซียส เขาเสนอขึ้นมาแล้ว
- แต่อาจารย์คิราโอกะ จากมหาวิทยาลัยเกียวโตไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนั้น “ถ้าให้อุณหภูมิในเครื่องเก็บฝุ่นลดเป็น 200 องศา ต้องใช้งบประมาณมากมายและต้องปรับปรุงโรงงานเผาขยะอีกมาก ผมคิดว่า การที่จะลดอุณหภูมินี้เป็นไปไม่ได้”
- ในไกด์ไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าให้อุณหภูมิอยู่ที่ 250-280 องศาเซลเซียส
- คุณซากาโมโต อดีตหัวหน้าแผนกสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข “ถ้าทำไกด์ไลน์ที่เป็นไปไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ แต่ไม่กำหนดก็ไม่ได้ เลยทำไกด์ไลน์นี้ขึ้นมาเท่าที่จะทำได้ในแง่ของเทคโนโลยี”
- (ภาพกราฟ) : หากอุณหภูมิอยู่ในไกด์ไลน์นี้ …. กราฟที่เห็นนี้แสดงความเข้มข้นของไดออกซินและอุณหภูมิในเครื่องดักฝุ่น ซึ่งถ้าสูงกว่า 250 องศาเซลเซียส จะเกิดไดออกซินเยอะมาก สาเหตุที่ญี่ปุ่นมีไดออกซินมาก เนื่องจากไม่ได้กำหนดให้อุณหภูมิอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 200 องศาเซลเซียส
- (ภาพปล่องควัน) : เพื่อจะใช้ระบบเดิม กระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ได้ออกกฎข้อบังคับ ทำให้การแก้ปัญหาไดออกซินล่าช้า
- (ภาพรถเครนสีเหลือง) เนื่องจากโรงงานเผาขยะในแต่ละเมือง มีขยะที่มาจากอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง โดยบริษัทก่อสร้างรับเหมาให้เอกชนทำ สถานที่แบบนี้เป็นแหล่งกำเนิดไดออกซินเช่นกัน
- ขยะอุตสาหกรรม คือ เศษต่างๆ จากการก่อสร้างและพลาสติกต่างๆ และเนื่องจากเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ กระทรวงจึงไม่ได้เก็บข้อมูลเรื่องการปล่อยไดออกซิน
- (ภาพทางอากาศ) จังหวัดไซตามะ อยู่ติดกับกรุงโตเกียว ทางภาคใต้ของไซตามะ มีโรงงานเผาขยะของเอกชนตั้งอยู่เยอะมาก
- (เป็นพื้นที่เห็นปล่องควันเยอะ)
- ผู้ชาย : ดูทุกวันๆ น่าเป็นห่วงมาก
- ผู้หญิง : น่ากลัวมาก ขนลุก เพราะเราสูดเข้าไปทุกวันๆ ไม่หายใจก็ไม่ได้
- (ภาพควัน) มีโรงงานเผาขยะอุตสาหกรรมของเอกชนแบบนี้เข้ามาตั้งแต่ 5 ปีก่อน
- สถานที่นี้ บริษัทใช้เป็นที่เก็บรวบรวมขยะก่อนที่จะส่งออกไป การที่มีการเผาขยะกลางแจ้งจำนวนมาก จังหวัดไซตามะจึงสนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานเผาขยะขึ้นมา การเผาขยะเป็นแบบง่าย ๆ จึงทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
- นักวิชาการชี้แจงว่าเตาเผาแบบนี้ทำให้เกิดไดออกซินได้ง่าย
- เจ้าของบริษัทคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ในตอนที่สร้างเตาเผาขยะแบบนี้ จังหวัดไม่ได้ให้คำแนะนำอะไรเลย
- คุณนากาฮามะ เจ้าของบริษัท “ตอนนั้น รัฐบาลไม่ได้บอกว่าให้ตั้งเครื่องอะไรบ้าง คิดว่าแค่นี้ก็คงพอแล้ว บริษัทก็ทำตามข้อบังคับของจังหวัด”
- ทุกวันนี้ยังมีการเผาขยะกลางแจ้งอยู่ การเผาอย่างนี้น่าจะเกิดไดออกซินมากกว่าอย่างอื่น แต่ทางราชการก็ชี้แจงไม่ได้ ต้องไปดูว่าเผากันอย่างไร
- คนถือร่ม “ก็รู้อยู่ว่าไม่ดี แต่แค่นิดเดียวเดี๋ยวมันก็ดับ ไม่มีใครว่าเราหรอก”
- (กลุ่มคนเดินเข้าไป) ชาวบ้านได้รวมตัวกันเพื่อให้เข้าไปดูการเผาขยะ เพราะเป็นห่วงว่าจะเกิดไดออกซิน
- ชาวบ้าน : “ช่วยฟังข้อเรียกร้องของเราด้วย ควันจะถึงบ้านเรา”
- บริษัท : “ถ้ากลิ่นเหม็นถึงบ้านคุณ คุณจะให้เราเข้าไปดูในบ้านคุณหรือเปล่า”
- ชาวบ้าน : “ขอดูข้างในอย่างเดียว”
- (ศาลากลางจังหวัดไซตามะ) จากแรงกดดันของกลุ่มชาวบ้าน ทางจังหวัดจึงยอมตรวจปริมาณไดออกซินที่อยู่ในดิน ทางแถบตอนใต้
- (แผนผังที่ตั้ง) ทางจังหวัดไซตามะและอำเภอซายามะสำรวจดิน 10 จุด ใน 10 จุดนี้ มีไดออกซินมากกว่าเมืองอื่นๆ ถึง 9 จุด โดยเฉพาะใน 3 จุด พบว่ามีค่าไดออกซินมากกว่าค่าเฉลี่ยในแต่ละเมือง ถึง 5 เท่า
- ไม่มีการบอกชัดเจนว่า ไดออกซินเกิดจากการเผาขยะ ทางจังหวัดบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายควบคุม ดังนั้นการเข้าไปตรวจในโรงงานเผาขยะจึงเป็นไปไม่ได้
- (ตึกกระทรวงสาธารณสุข) ทำไมกระทรวงสาธารณสุขจึงไม่แก้ปัญหานี้ เพราะว่ามีข้อมูลที่ทำไว้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ในข้อมูลระบุถึงปริมาณไดออกซินที่เกิดจากสถานที่ต่าง ๆ
- นั่นคือ โรงงานเผาขยะของแต่ละพื้นที่ มีปริมาณ 3100-7400 นาโนกรัม
- โรงงานเผาขยะของเอกชน 545-705 นาโนกรัม
- ตัวเลขนี้ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ของโรงงานเผาขยะของจังหวัด จึงไม่มีการตรวจ
- ผู้ที่นำเสนอข้อมูลนี้ คือ อจ. ชิราโอกะ ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาไกด์ไลน์ เกี่ยวกับไดออกซิน
- ในข้อมูลนั้น ใช้ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกามาเป็นตัวคำนวณ เพราะตอนนั้นที่ญี่ปุ่นไม่มีข้อมูล
- ถ้าเทียบกันแล้วการเผาขยะในญี่ปุ่น เป็นระบบง่ายมาก หลายคนบอกว่าน่าจะเกิดไดออกซินมากกว่าที่สหรัฐอเมริกาเยอะ
- อจ.ชิราโอกะ “สมัยนั้นไม่มีตัวเลขของญี่ปุ่น เราต้องการมีตัวเลขที่ชัดเจนจึงเอาของอเมริกามาใช้ ไม่คิดว่าทางกระทรวงจะเอาตัวเลขนี้มาใช้ต่อไปอีก
- “เพื่อจะควบคุมไดออกซิน ในตอนนั้นเราต้องการตัวเลขคาดประมาณ แต่ว่าตัวเลขจริงมันต้องต่างกัน ผมรู้สึกว่าน่าจะเยอะกว่านี้”
- (ตึกกระทรวงสาธารณสุข) ทางกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า ที่ผ่านมาไม่เคยสำรวจโรงงานเผาขยะเอกชน จึงไม่มีโอกาสทบทวนตัวเลขที่ทำไว้
- เจ้าหน้าที่กระทรวงที่รับผิดชอบขยะอุตสาหกรรม : “สมัยนั้นไม่มีข้อมูลที่คำนวณไดออกซินทั้งหมด พวกเราก็เข้าใจว่า อาจารย์ทำไว้ก็เพื่อคำนวณคร่าวๆ”
- กรมสิ่งแวดล้อม เปิดเผยข้อมูลไดออกซินที่เกิดจากโรงงานเผาขยะของเอกชน โดยสำรวจโรงงาน 50 แห่ง ค่าสูงสุดอยู่ที่ 2200 นาโนกรัม ตัวเลขเฉลี่ยเป็น 2 นาโนกรัม ซึ่งสูงกว่าตัวเลขที่รัฐบาลกำหนดไว้คือ 80 นาโนกรัม
- (รถแมคโคร) สาเหตุที่การแก้ปัญหาล่าช้า เพราะกระทรวงสาธารณสุขใช้ตัวเลขที่ไม่สะท้อนความจริง
- (แผนที่โลก) การกำหนดไดออกซินของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ล่าช้ามาก
- ในสวีเดน เมื่อปี 1986 สวีเดนตั้งไกด์ไลน์อยู่ในช่วง 5-2 นาโนกรัมต่อ ลบม. ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
- เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยคำนวณจากเทคโนโลยีสุดยอดในปัจจุบัน กำหนดไว้ที่…
- ที่ประเทศเยอรมันกำหนดไว้ที่ 1 สหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 0.2-3 นาโนกรัม
- เดือนสิงหาคม ปี 1997 ที่เมืองอินเดียน่าโพลิส สหรัฐอเมริกา มีการประชุมไดออกซิน มีนักวิชาการจากทั่วโลกมารวมตัวกัน และมีเสียงเรียกร้องว่าต้องกำหนดปริมาณไดออกซินให้เข้มกว่านี้อีก
- ปัญหาจากไดออกซินก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ความพิการในเด็ก
- และปัจจุบัน การวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของภาวะเจริญพันธุ์ จากการวิจัยในสัตว์ทดลองเป็นเวลา 4 ปี พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในมดลูก
- การทดลองในหนู เมื่อแม่หนูที่กำลังท้องกินไดออกซินเข้าไป ลูกหนูที่เกิดมาจะมี sperm ลดลง
- ปัญหาก็คือ การลดภาวะเจริญพันธุ์นี้ เกิดจากไดออกซินจำนวนน้อยมากๆ
- เนื่องจากมีผลสำรวจออกมาเรื่อยๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของไดออกซิน ทั่วโลกพยายามผลักดันให้มีปริมาณไดออกซินเป็นศูนย์
- ที่ญี่ปุ่นเริ่มจะมีการควบคุมไดออกซิน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 1997 ทางกระทรวงสาธารณสุขออกกฎหมายกำหนดว่า ภายใน 1 ปี ต้องควบคุมให้ปริมาณไดออกซินอยู่ใน 80 นาโนกรัม
- และภายใน 5 ปี ต้องอยู่ในตัวเลขใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงานเผาขยะ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ยังเป็นปริมาณที่สูงกว่ายุโรป และอเมริกา
- กฎหมายนี้กำหนดการเดินเครื่องโรงงานเผาขยะด้วย อุณหภูมิในเตาต้องมากกว่า 800 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิในเครื่องดักฝุ่นต้องต่ำกว่า 200 องศาฯ ถ้าโรงงานใดทำตามมาตรฐานไม่ได้ ต้องหยุด
- การแก้ปัญหาอีกแบบหนึ่งคือ การขยายพื้นที่เก็บขยะให้กว้างขึ้น เนื่องจากมีการสำรวจว่า โรงงานเล็ก ไดออกซินยิ่งมาก จึงต้องส่งขยะเข้าโรงงานขนาดใหญ่
- (แผนภาพ) การขยายพื้นที่เก็บขยะหมายความว่า สร้างโรงงานใหญ่ ยุบโรงงานเล็ก นี่เป็นแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่า โรงงานใหญ่มีไดออกซินออกมาน้อยกว่า
- ทางกระทรวงแนะนำว่า ถ้ามีการสร้างโรงงานเผาขยะแห่งใหม่ จะต้องเผาขยะได้มากกว่า 100 ตันต่อวันขึ้นไป ถ้าที่ไหนสร้างโรงงานเล็กกว่าที่กำหนด จะไม่มีงบประมาณจากส่วนกลางสนับสนุน
- แต่ละจังหวัดกำลังวุ่นวายกับข้อกำหนดใหม่ ทาง NHK ได้ส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อกำหนดของกระทรวงและได้รับคำตอบกลับมาว่า 41% คิดว่าเป็นไปไม่ได้ภายใน 5 ปี
- อุปสรรคที่ใหญ่สุดคืออะไร คำตอบคือ งบประมาณที่จะสร้าง ประมาณ 50% เห็นเช่นนั้น
- (ภาพ) นี่เป็นโรงงานเผาขยะของจังหวัดนางาซากิ จากการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว มีไดออกซิน 590 นาโนกรัม ทางโรงงานจึงรีบเปลี่ยนเตาเผา แต่สภาพโรงงานทรุดโทรมมาก ทางตำบลกำลังวางแผนว่าจะสร้างใหม่
- ที่อำเภอโอบามะ วางแผนว่าจะรวมโรงงานเผาขยะที่อยู่ใกล้กัน 2 แห่ง แต่ถ้ารวมตัวกันจะเผาขยะได้ประมาณ 50 ตันต่อวัน จึงไม่ได้งบประมาณจากกระทรวง
- หัวหน้าสภาตำบล : “ถ้าไม่ได้งบจากส่วนกลาง ต้องเอางบประมาณของตำบลทั้งหมด ความหมายคือเฉพาะงบของตำบลไม่สามารถทำได้ ต้องวางแผนเก็บขยะให้มากขึ้น”
- (แผนที่) : ถ้ารวมโรงงานเผาขยะอีก 6 แห่ง จะเผาขยะได้วันละ 170 ตัน ปัญหาคือโรงงานขนาดเล็กแต่ละแห่งอายุไม่เท่ากันจึงรวมตัวกันยาก มีสองแห่งที่ใกล้เคียงกันซึ่งอยู่ในแผนเก่า สร้างมากว่า 15 ปี แล้ว อาจสร้างใหม่พร้อมกันได้ แต่อีกแห่งหนึ่งกำลังสร้างอยู่จึงไม่ได้อยู่ในแผน อีกสองแห่งสร้างมาได้เกือบ 10 ปี และยังไม่ได้ชำระหนี้
- (รถวิ่งเข้าโรงงาน) โรงงานที่ตำบลอะริยาเกะ สมัยสร้างใช้งบประมาณ 700 ล้านเยน
- 18% ใช้งบประมาณของตำบล อีก 20 % มาจากจังหวัดและรัฐบาลกลาง นอกนั้นเป็นเงินที่รัฐบาลให้กู้ และยังเหลืออีก 250 ล้านเยนที่ต้องจ่ายคืนให้รัฐบาล
- หัวหน้าสภาหมู่บ้านของอะริยาเกะ : “การขยายพื้นที่เก็บขยะ พูดง่ายทำยากหรือเปล่า เขาไม่แน่ใจ แม้จะมีคำสั่งกระทรวงออกมาแล้ว”
- ทางภาคเหนือของจังหวัดโอกายามะ มีการเผาขยะวันละ 5ตัน เนื่องจากปริมาณขยะน้อย ถ้าใช้ขยะเปียกจะมีไดออกซินมากขึ้น
- จากการสำรวจในเดือนมกราคม 1997 พบไดออกซิน 87 นาโนกรัม
- ตำบลซิงโจว อยู่ในอำเภอมานิวะ มีโรงงานเผาขยะ 3 แห่ง ถ้ารวมขยะทั้งหมดจะได้ประมาณ 50 ตันเท่านั้น รอบๆ อำเภอไม่มีโรงงาน ถ้าจะรวมโรงงานก็เป็นไปได้ยากเพราะอยู่ห่างกันถึง 40 กิโลเมตร
- (รถวิ่ง) เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นภูเขา ถ้าขับรถไปที่อื่นต้องใช้เวลานานชั่วโมงครึ่ง ช่วงฤดูหนาวมีหิมะตก การเดินทางลำบากขึ้น
- ปัจจุบัน ที่นี่เก็บขยะ 5 ตัน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถ้าจะเก็บขยะ 100 ตัน ต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และต้องเปลี่ยนรถ แต่ถ้าเก็บขยะได้ไม่ถึง 100 ตัน รัฐบาลก็ไม่ช่วยเหลือ
- ผู้รับผิดชอบของตำบล : “ถ้าออกคำสั่งจากกระทรวงก็ต้องทำตาม ถ้าเป็น 20-30 ตัน แต่ละจังหวัดก็น่าจะดีใจกว่า”
- การแก้ปัญหาเป็นอุปสรรคสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น
- การออกระเบียบกระทรวงครั้งนี้ แต่ละท้องที่ต้องกำกับดูแลโรงงานเผาขยะของเอกชนด้วย
- เพื่อไม่ไห้เกิดไดออกซิน ต้องสร้างระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันนี้โรงงานเผาขยะอุตสาหกรรมเป็นอย่างนี้ ไม่มีระบบป้องกันไดออกซิน
- (แผนผัง) ต้องเพิ่มพื้นที่ขนถ่ายขยะโดยอัตโนมัติ ต้องสร้างเครื่องลดอุณหภูมิ เครื่องดักฝุ่น
- โดยในการสร้างเครื่องดักฝุ่น ต้องใช้งบประมาณ 100 ล้านเยน ตามกฎกระทรวงที่ออกมาใหม่ ถ้าบริษัทไม่มีเครื่องนี้ ต้องหยุดดำเนินการ
- ในกลุ่มอุตสาหกรรมเผาขยะมองว่า มีสมาชิกประมาณ 90 % ต้องสร้างโรงงานเผาขยะขึ้นมาใหม่
- คนหันหลังพูด “ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี ไม่รู้จะหาเงินที่ไหน ลงทุนแล้วจะมีกำไรหรือเปล่า ที่จริงแล้ว อยากจะหยุดกิจการ”
- ผู้ชายกอดอก / คุณนากาฮามา เจ้าของโรงงาน “เราต้องลงทุน 100 200 300 ล้าน ทางกระทรวงพูดมาง่าย ๆ เมื่อเราถามว่า เราจะเงินมาจากไหน เขาก็ตอบไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้ช่วยตัวเอง เราจะทำได้อย่างไร”
- ทางกลุ่มโรงงานเผาขยะจัดสัมมนา เชิญกลุ่มบริษัทก่อสร้างที่เผาขยะมากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจต่อบริษัทที่เผาขยะ
- เจ้าของโรงงานเผาขยะ “ใน 1-2 ปี ในคันโต ไม่มีบริษัทไหนเอาตัวรอดได้ ในการสัมมนานี้ทางกลุ่มโรงงานชี้แจงว่าต้องขึ้นค่าเก็บขยะ เพราะต้องลงทุนเรื่องไดออกซินมาก บริษัทก่อสร้างเข้าใจปัญหา แต่ถ้าให้เสียเงินเพิ่ม มันเป็นไปไม่ได้”
- พนักงานบริษัทก่อสร้าง “เราพยายามให้ค่าใช้จ่ายลดลง การเพิ่มค่าใช้จ่ายเป็นไปไม่ได้”
- “ ในตลาดก็มีการแข่งขันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราก็ไม่ได้จ้างบริษัทที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว”
- โรงงานเผาขยะแห่งนี้ไม่ได้รับขยะจากบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ได้ 3 ปี แล้ว เนื่องจากเมื่อถึงเวลาปรับปรุงระบบ บริษัทนี้ไม่ได้เสียค่าใช้จ่าย จึงไม่ได้รับขยะ เจ้าของให้สัมภาษณ์ว่า ถึงแม้ว่าไดออกซินเป็นปัญหา แต่เขาไม่สามารถหวังอะไรจากบริษัทก่อสร้างได้
- คนหันหลังพูด : “บริษัทก่อสร้างสั่งให้เราทำงานด้วยราคาถูกมาก ผมคิดว่าพวกเราต้องร่วมกันประท้วงหยุดทำงาน ถ้าเราได้รับผลกระทบจากมาตรการลดไดออกซิน แต่ละคนต้องรับผิดชอบเอง แต่ละคนเผาขยะที่หน้าบ้าน ไดออกซินก็ออกมาที่นั่นเยอะแยะ”
- โรงงานเผาขยะที่รับเผาขยะอุตสาหกรรม ไม่ได้ถูกกำกับจากหน่วยงานใดเลย ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ข้อบังคับ แต่ยังไม่มีการรับผิดชอบที่แท้จริง
- ไดออกซินเกิดจากสังคมบริโภคที่ใช้ของต่างๆ อย่างมักง่าย กินทิ้งกินขว้าง ไดออกซินเป็นของเหลือใช้ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจในกระบวนการเผาใหม้ สารเคมีที่ร้ายแรงมากชนิดนี้ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วประเทศญี่ปุ่น
- พวกเราจะทบทวนเพื่อเลิกใช้ชีวิตที่สร้างขยะ และหยุดอุตสาหกรรมที่ผลิตขยะออกมาจำนวนมาก ได้หรือไม่
- ใครจะรับผิดชอบงบประมาณมหาศาลที่ใช้ควบคุมไดออกซิน
- ถึงแม้เรายังมองไม่เห็นอนาคต แต่วันนี้ ที่ญี่ปุ่นเราเริ่มมีข้อบังคับมิให้เกิดไดออกซินขึ้นแล้ว