เดือนกุมภาพันธ์ 2016 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีของการตรวจวัดอุณหภูมิในยุคสมัยใหม่ เป็นเดือนที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากกว่าปกติของเดือนใดๆ ที่มีการบันทึกกันมา
ผลจาก การวิเคราะห์อุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง(ongoing temperature analysis) โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ NASA’s Goddard Institute for Space Studies (GISS) อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 0.5 องศาเซลเซียส (0.8 องศาฟาเรนไฮท์) ร้อนกว่าที่มีการตรวจวัดที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ 1998) เดือนกุมภาพันธ์ 2016 มีค่าแตกต่างที่ 1.35 องศาเซลเซียสจากค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปี 1951–80 ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ 1998 มีค่าความแกต่างอุณหภูมิอยู่ที่ 0.88 องศาเซลเซียสจากค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปี 1951–80 โดยทั้งสองปีเหตุการณ์นั้นเป็นช่วงที่มีปรากฎการณ์เอลนิโญรุนแรง
ภาพด้านบนแสดง ความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก(temperature anomalies) ของเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ไม่ได้เป็นการแสดงอุณหภูมิสัมบูรณ์(อุณหภูมิพื้นผิวที่วัดได้ในขณะนั้น) แต่ียบปเป็นแผนที่โลกที่แสดงว่าอุณหภูมิพื้นผิวร้อนขึ้นหรือเย็นลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิในปีฐาน 1951 ถึง 1980.
เกือบทุกแห่งบนโลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นอย่างผิดปกติในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 พื้นที่ที่ร้อนสุดๆ คือในเอเชีย อเมริกาเหนือ และอาร์กติก ยกเว้นบริเวณคาบสมุทรคามชัตกาและพื้นทีส่วนเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เห็นว่ามีอุณหภูมิเย็นกว่าปกติ(เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิในปีฐาน 1951 ถึง 1980) แผนที่ยังแสดงให้เห็นชัดเจนถึงผลของเอลนิโญ(El Niño)รุนแรงในเขตมหาสมุทรเส้นศูนย์สูตร
แผนภาพด้านบนแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในแต่ละเดือนนับตั้งแต่ปี 1980โดยเดือนกุมภาพันธ์จะแสดงเป็นจุดสีแดง ทุกๆ จุด ทั้งสีแดงและสีเทา แสดงถึงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกว่าอยู่สูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิในปีฐาน 1951 ถึง 1980 แม้ว่าจะมีการผันแปรเดือนต่อเดือน แต่แนวโน้มระยะยาวอันเนื่องมาจาก ภาวะโลกร้อน(global warming) นั้นชัดเจนและโดยเฉพาะระดับอุณหภูมิที่สูงอย่างผิดปกติของเดือนกุมภาพันธ์ 2016
อ้างอิง
- NASA Goddard Institute for Space Studies (2016, March 14) GISS Surface Temperature Analysis (GISTEMP). Accessed March 14, 2015.
อ่านเพิ่มเติม
- Climate Central (2016, February 14) What To Know About February’s Satellite Temp Record. Accessed March 16, 2016.
- Mashable (2016, February 14) February obliterated global temperature records: The 5 most important implications. Accessed March 16, 2016.
- Spencer, R. (2016, February 14) UAH V6 Global Temperature Update for Feb. 2016: +0.83 deg. C (new record).Accessed March 16, 2016.
- The Washington Post (2016, March 14) The planet had its biggest temperature spike in modern history in February. Accessed March 16, 2016.
- Weather Underground (2016, March 13) February Smashes Earth’s All-Time Global Heat Record by a Jaw-Dropping Margin. Accessed March 16, 2016.