indochina_vir_2016078

ฤดูมรสุม(monsoon) ของเอเชียเป็นลักษณะเด่นของสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกและอากาศร้อน ส่วนในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่อากาศเย็นและแห้ง ช่วงที่ฤดูแล้งมาถึง การเกิดไฟขยายวงกว้าง (ทั้งที่เกิดโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจทั่วทั้งคาบสมุทรอินโดจีนเมื่อคนใช้วิธีการเผาเพื่อจัดการพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ที่สร้างเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

ในวันที่ 19 มีนาคม 2016 เครื่องมือวัด Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม Suomi NPP จับภาพที่สีตามธรรมชาติไว้ได้โดยแสดงให้เห็นจุดเกิดไฟกระจายทั่วคาบสมุทร จะสังเกตว่าหมอกควันหนาที่ครอบคลุมภาคตะวันตกของไทยและตะวันออกของเมียนมาร์บดบังจุดเกิดไฟ แผนที่ด้านล่างที่ใช้เครื่องมือ  infrared ของ VIIRS แสดงตำแหน่งจุดความร้อนที่มีการเกิดไฟ (จุดสีแดง)

indochina_vir_2016078_map

แม้ว่าการเกิดไฟจะมาจากความตั้งใจทำให้เกิด ธรรมชาตินั้นก็เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ปัญหาขยายวงกว้างขึ้น การเกิดไฟในบางพื้นที่อยู่สถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังตกอยู่ในวิกฤตภัยแล้ง เวียดนามเผชิญกับ วิกฤตภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด ในรอบ 90 ปี ฝนทิ้งช่วงทำให้เกิดการรุกของน้ำเค็ม ในพื้นที่นาข้งและพืชอื่นๆ ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทางการไทยผลักดันให้มี การผันน้ำ มาแก้ปัญหาภัยแล้งในภาคเกษตรกรรม  กลายเป็นประเด็นกังวลต่อประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ปัญหาความตึงเครียด จีนได้ประกาศในเดือนมีนาคมเพื่อปล่อย น้ำเพิ่มเติม จากเขื่อนจิงหง.

ข้อมูลอ้างอิง

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

NASA image (top) by Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS Rapid Response. NASA Earth Observatory map (bottom) by Joshua Stevens. Caption by Adam Voiland.