http://energydesk.greenpeace.org/2016/04/15/peabody-why-the-worlds-largest-private-coal-miner-went-bust-in-one-graph/

Peabody2

โลกการเงินต้องสั่นสะเทือนในช่วงสัปดาห์นี้จากการประกาศล้มละลายของพีบอดี้ บริษัทเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เราย้อนกลับไปในปี 2012 และพบว่าภาพนี้ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทพิจารณาถึงความต้องการถ่านหินของจีนผิดพลาดโดยสิ้นเชิงอย่างไร

ย้อนหลังไปสองสามปีก่อน พีบอดี้คาดการณ์ว่าการนำเข้าถ่านหินในจีนจะขยายเพิ่มเป็นสองเท่าจากปี 20111-2016 แต่ในความเป็นจริง การนำเข้าถ่านหินไปยังจีนลดลงไปอยู่ที่ระดับในปี 2011 และลดลงไปอีกร้อยละ 40 ของจุดสูงสุดในปี 2013

peabody1.png

ความแตกต่างของมูลค่าของตลาดถ่านหินในจีนอยู่ที่ราว 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

นี่คือสิ่งที่พีบอดี้บอกกับนักลงทุนในปี 2012 ความต้องการการนำเข้าถ่านหินของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปี 2011-2016 พีบอดี้ได้คาดหวังถึงแผนธุรกิจและการลงทุนทั้งหมดไว้ที่การขยายตัวของการใช้ถ่านหินในจีน รวมถึงอินเดีย ซึ่งความต้องการนำเข้าถ่านหินนั้นลดลงร้อยละ 15 ในช่วงปีที่ผ่านมา

Peabody2

เหตุผลหลักที่เกิดการตาลปัตรในการใช้ถ่านหินของจีนคือ 1) การขยายตัวของพลังงานสะอาด และการจัดสมดุลทางเศรษฐกิจหลังจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างไม่สมดุลของอุตสาหกรรมแบบปล่องควัน พีบอดี้ยืนกรานไม่รับรู้แนวโน้มดังกล่าวนี้ บริษัทเหมืองถ่านหินยักษ์ใหญ่นี้เข้าลงทุนเหมืองถ่านหินใหม่ในออสเตรเลียและอินโดนีเซียเพื่อเป็นช่องทางเข้าถึงตลาดในจีนและอินเดีย

Peabody4.png

พีบอดี้ใช้เงินลงทุนมากกว่าห้าพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อซื้อเหมืองถ่านหิน Macarthur ในออสเตรเลีย (ซึ่งนิตยสารอิคอโนมิสต์ระบุว่าไม่เคยมีผลประกอบการที่เป็นกำไรใดๆ) และยังเข้าลงทุนในโครงการ Gateway Pacific Terminal เพื่อขยายกำลังผลิตเพื่อการส่งออกถ่านหินจำนวน 24 ล้านตันต่อปี จากปริมาณรวม 48 ล้านตันต่อปี ในช่วงที่มีการเซ็นสัญญากับ Gateway Pacific Terminal ซีอีโอของพีบอดี้ Greg Boyce ประกาศว่า

“เปิดประตูไปสู่ยุคใหม่ของการส่งออกถ่านหินของสหรัฐอเมริกาจากภูมิภาคที่มีถ่านหินมากที่สุดและใหญ่ที่สุดไปยังตลาดถ่านหินที่ดีที่สุด ประเทศในเอเชียเป็นผู้นำในการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการผลิตทางอุตสาหกรรม”

“การส่งออกถ่านหินจากเขตลุ่มน้ำเพาเดอร์(ในสหรัฐฯ)คือการส่งออกถ่านหินสะอาดที่ยั่งยืน สร้างงานให้คนอเมริกันและนำเสนอแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเอเชีย”

เช่นเดียวกับบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลยักษ์ใหญ่อื่นๆ พีบอดี้สร้างนิสัยการคาดการณ์ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งกลายเป็นความผิดพลาด