https://theconversation.com/ideas-for-australia-lets-retire-the-idea-that-australia-depends-on-digging-up-coal-and-other-resources-57219?utm_medium=email&utm_campaign=Latest+from+The+Conversation+for+April+15+2016+-+4674&utm_content=Latest+from+The+Conversation+for+April+15+2016+-+4674+CID_be18135eca5a748f4cb0055df43f28c5&utm_source=campaign_monitor&utm_term=Ideas+for+Australia+Lets+retire+the+idea+that+Australia+depends+on+digging+up+coal+and+other+resources

เรามักคิดกันว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมักจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างเช่น กรณีของออสเตรเลีย ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ส่งออกถ่านหินอันดับต้นของโลก เป็นต้น

นักวิชาการหลายคนในออสเตรเลียแย้งว่า ไอ้ความคิดที่ว่าถ่านหินนั้นมีบทบาทหลักในเศรษฐกิจของออสเตรเลียนั้นไม่เป็นความจริงในแง่ของการจ้างงาน ข้อมูลจากเวบไซต์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน(industry’s Little Black Rock website) กิจการเหมืองถ่านหินมีการจ้างงาน 14,000 คน คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ

หรือถ้าเป็นการจ้างงานทางอ้อม(ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้ดูใหญ่ขึ้น) ตัวเลขก็จะขึ้นมาเป็น 111,000 คน หรือร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ส่วนการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนในอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินคิดเป็น 6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งดูน่าประทับใจ ตัวเลขนี้สะท้อนถึงการจ้างงานเต็มเวลาที่มีฐานเงินเดือนที่สูงในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ แต่ในภาพรวม มันก็ยังน้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายได้รวมทั้งหมดของออสเตรเลียทั้งประเทศ

คนออสเตรเลียได้ประโยชน์จากการที่บริษัทอุตสาหกรรมเหมืองแร่จ่ายภาษีและค่าภาคหลวงให้กับรัฐบาล ข้อมูลจากเวบไซต์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน(industry’s Little Black Rock website)ระบุว่าในช่วง 4 ปีคือ ปี 2015-16 และ 2018-19 ค่าภาคหลวงจากกิจการเหมืองถ่านหินรวมแล้วคาดว่าจะอยู่ในราว 15,000 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

นั่นคือประมาณ 4 พันล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี หรือน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการเก็บภาษีโดยรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงความยากลำบากในการบริหารงบประมาณของรัฐบาลออสเตรเลีย การเก็บภาษีได้จากทุกกิจการเล็กๆน้อยๆ ก็ช่วยได้ แต่สิ่งที่ได้จากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินถือว่าน้อยมาก