สถานการณ์ฝุ่นละอองที่รายงานโดยกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ต้นปี 2559 ที่ผ่านมา เป็นการรายงานการวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน(PM10) ความเข้มข้นมันพุ่งทะลุค่ามาตรฐาน(120 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.) เป็นช่วงๆ มาจนถึงปัจจุบัน เชียงรายเจอหนักสุด ค่าความเข้มข้นสูงสุดของ PM10 ขึ้นเป็นสองเท่ากว่าค่ามาตรฐาน #prayformaesai
เมื่อดูวิสัยทัศน์ “ภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี 2563” ที่มีดัชนีชี้วัด 3 อัน ดูแล้ว ผมไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะทำได้จริงตามนั้น เพราะหมอกควันพิษจากการเกิดไฟจะยังคงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่ไม่มีการแก้ปัญหาที่รากเหง้า
ปัญหารากเหง้าประการสำคัญอันหนึ่งคือ “การครอบงำของบรรษัท/เจ้าสัว/” ยิ่งในยุค “ประชารัฐ” นี้ด้วยแล้ว ยิ่งฝังรากลึกมากและสยายปีกไปทั่วทั้งองคาพยพของสังคม และคววบคุมห่วงโซ่อุปทานไว้หมด ในขณะที่จริตของสังคมไทยยังคงเป็นเรื่องของการโยนบาปไปให้กับคนตัวเล็กตัวน้อย
พิจารณาจากทิศทางลมแล้ว กระแสลมตรงบริเวณตอนเหนือของจังหวัดเชียงรายนั้นนิ่งมาก ความเร็ว 0 หรืออย่างมากไม่เกิน 1-2 เมตรต่อวินาที (พื้นที่ในเฉดสีม่วง) แถมยังเป็นพื้นที่ที่มีการเคลื่อนตัวของอากาศเข้ามาจากทุกด้านเป็นเหตุให้มีการสะสมของฝุ่นละอองจากหมอกควันไฟทั้งในเขตไทยและที่มาจาก สปป ลาว และรัฐฉาน จุดสีส้มแสดงจุดเกิดความร้อน(hotspot)นอกประเทศ ในหลายกรณี จุดเกิดความร้อนไม่ได้หมายถึงจุดเกิดไฟ เซ็นเซอร์ของดาวเทียมจะเก็บข้อมูลไว้หมด
เจอแบบนี้ กรมควบคุมมลพิษควรจะรายงานค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เพราะมันเป็นตัวหลักของผลกระทบสุขภาพ PM10 ไม่พอแล้วครับในสถานการณ์แบบนี้
วันที่ 18 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา หมอกควันไฟ (ซึ่งจริงๆ สมควรจะเรียกว่าหมอกควันพิษจากการเกิดไฟ) ปกคลุมไปทั่ว ไม่เว้นทั้งในที่ราบหุบเขาและเขตภูเขา รวมถึงในเขต สปป. ลาว ด้านที่ติดกับจังหวัดเชียงราย