acquired 2016
เมื่อ 2 ปีก่อน เราได้เขียนว่า “ปี ค.ศ.2014 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดในรอบ 134 ปี นับตั้งแต่ที่มีการจดบันทึกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก ปีที่แล้ว เราเขียนว่า “ปี ค.ศ.2015 เป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีการจดบันทึกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก แต่นั่นก็ยังไม่ใกล้เคียง” ปีนี้ ค.ศ.2017 เราไม่รู้จะเขียนอธิบายอย่างไรแล้ว
จากบทวิเคราะห์ที่เป็นอิสระโดย NASA และองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ(the National Oceanic and Atmospheric Administration-NOAA) ในปี 2016 อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกร้อนที่สุดที่เคยมีมานับตั้งแต่มีระบบบันทึกเก็บข้อมูลที่ทันสมัยในปี 1880 นี่เป็นปีที่สามติดต่อกันที่ทุบสถิติการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก กรมอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร และองค์กรอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นประกาศข้อสรุปในแบบเดียวกัน
จากการวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ NASA’s Goddard Institute for Space Studies (GISS) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในปี 2016 อยู่ที่ 0.99 องศาเซลเซียส (1.78 องศาฟาเรนไฮต์) ร้อนกว่าค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งของสถานีตรวจวัดและวิธีปฏิบัติในการวัดอุณหภูมิได้เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป จึงอาจมีความไม่แน่นอนในการตีความความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกปีต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อนำคามไม่แน่นอนดังกล่าวมารวมเข้าไปด้วย การวิเคราะห์ของ GISS มีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 95 และฟันธงว่า ปี 2016 เป็นปีที่ร้อนที่สุด
แผนที่ด้านบนแสดงความผันแปรของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในปี 2016 แผนที่นี้ไม่ได้แสดงอุณหภูมิแบบสัมบูรณ์ แต่ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนใดของโลกร้อนขึ้นหรือเย็นลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ใช้เป็นฐานเปรียบเทียบในช่วงปี 1951 ถึง 1980
นาย Gavin Schmidt ผู้อำนวยการ GISS กล่าวว่า “เราไม่คาดว่าจะมีการทุบสถิติทุกๆ ปี แต่แนวโน้มในระยะยาวของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกนั้นชัดเจน” อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นราว 1.1 องศาเซลเซียส (2.0 องศาฟาเรนไฮต์) นับตั้งปลายศตวรรษที่ 19 อันเป็นมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ โลกที่ร้อนขึ้นเกิดขึ้นในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา
acquired 1880 – 2016
ผลจากการวิเคราะห์ย้อนกลับโดยแบบจำลอง Research and Applications, version 2 (MERRA-2) ของ NASA’s Global Modeling and Assimilation Office กราฟด้านบนแสดงถึงความผันแปรของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในแต่ละเดือนนับตั้งแต่ปี 1880 แต่ละเส้นแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในแต่ละเดือนมีสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อปีในช่วงปี 1980–2015 คอลัมม์ด้านขวาเป็นรายการของแต่ละปีเมื่อมีการทุบสถิติการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก
ไม่เพียงแต่ปี 2016 เป็นปีที่ร้อนที่สุด หากเป็นช่วงปีที่มีเดือน 8 เดือน จากเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน ยกเว้นเดือนมิถุนายน นั้นเป็นช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดติดต่อกัน เดือนตุลาคมและพฤศจิกายนเป็นช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับสอง ตามหลังสถิติของปี 2015
เหตุการณ์เอลนิโญและลานิญา —การที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกในแถบเส้นศูนย์สูตรร้อนขึ้นและเย็นลงซึ่งทำให้เกิดความผันแปรของแบบแผนอากาศและกระแสลมในระดับโลก มีส่วนที่ทำให้เกิดความแปรปรวนในระยะสั้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก เหตุการณ์เอลนิโญกินเวลาเกือบทั้งช่วงปี 2015 และช่วงหนึ่งในสามของปี 2016 นักวิจัยประเมินว่า มันทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในปี 2016 เพิ่มขึ้น 0.12 องศาเซลเซียส
พลวัตรสภาพอากาศมักจะส่งผลต่ออุณหภูมิในระดับท้องถิ่น ในช่วงปี 2016 ไม่ใช่ทุกๆ แห่งบนโลกที่เผชิญกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ พื้นที่บางแห่งของสหรัฐอเมริการ้อนขึ้นเป็นอันดับสองเมื่อเทียบกับสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ก็ร้อนขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก ส่วนเขตอาร์กติกนั้นร้อนขึ้นมากที่สุดเท่าที่เคยประสบมา สอดคล้องพื้นที่ทะเลน้ำแข็งที่ลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
นักวิจัยรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศราว 6,300 ทั่วโลก นับตั้งแต่ เรือ ทุ่นลอย ไปจนถึงสถานีวิจัยในแอนตาร์ติกา การวิเคราะห์ใช้วิธีการที่ผนวกการกระจายตัวของสถานีตรวจวัดอากาศและปรากฎการณ์เกาะความร้อนของเมืองที่ส่งผลต่อการแปนปรวนของข้อมูล (ดูเพิ่มเติมได้ที่ World of Change: Global Temperatures.)
นักวิทยาศาสตร์จาก NOAA, JMA, and the UK Met Office ใช้ข้อมูลอุณภูมิที่เป็นข้อมูลดิบแบบเดียวกัน แต่ใช้ช่วงปีฐานที่แตกต่างกันหรือแนวทางการวิเคราะห์เขตพื้นที่ขั้วโลกและอุณภูมิโลกที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย
อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม
- NASA Goddard Institute for Space Studies GISS Surface Temperature Analysis (GISTEMP). Accessed January 18, 2017.
- NASA Earth Observatory (2015) World of Change: Global Temperatures.
- NOAA National Climatic Data Center (2017, January 18) Global Analysis: Annual 2016. Accessed January 18, 2017.
- National Oceanic and Atmospheric Administration (2017, January 18) 2016 marks three consecutive years of record warmth for the globe. Accessed January 18, 2017.
- UK Met Office (2017, January 18) 2016: one of the warmest two years on record. Accessed January 18, 2017.
- Japan Meteorological Agency (2016, December 19) Global temperature for 2016 to be the highest since 1891. Accessed January 18, 2017.
- The Washington Post (2017, January 18) Scientists react to Earth’s warmest year. Accessed January 18, 2017.
- NASA Earth Observatory (2010, June 3) Global Warming.
NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, based on data from the NASA Goddard Institute for Space Studies. Caption by Kate Ramsayer, NASA Goddard Space Flight Center, with Mike Carlowicz.
- Instrument(s):
- Model
- In situ Measurement