สรุปความจาก A Stress Test for Coal in Europe under the Paris Agreement – Scientific Goal Posts for A Coordinated Phased-Out and Divestment, February 2017, Climate Analytics.
การปิดตัวของโรงไฟฟ้าถ่านหินลงเกือบทั้งหมดในสหภาพยุโรปในช่วงอีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้าถือเป็นความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ ตกลงที่การประชุมสุดยอดโลกร้อนที่กรุงปารีส นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานให้ไปพ้นจากถ่านหินจะช่วยหลีกเลี่ยงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอันมหาศาล
เมื่อเร็วๆ นี้ การปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นทำให้ถูกลงจากต้นทุนที่ลดลงอย่างรวดเร็วและอย่างมากของพลังงานหมุนเวียน แม้ว่าพลังงานลมและแสงอาทิตย์จะมีความท้าทายในตัวของมันเอง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาสภาพอากาศ ทางเลือกต่างๆ เช่น การจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาระบบสายส่งและระบบการกระจายศูนย์นั้นมีอยู่เพื่อจัดการกับความท้าทาย ในขณะเดียวกัน พลังงานหมุนเวียนนั้นมีประโยชน์จากการเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและขยายขนาดได้ซึ่งเอื้อให้เกิดแบบจำลองธุรกิจใหม่และนำไปสู่การจ้างงาน รวมถึงในพื้นที่ที่จะมีการปิดตัวลงของโรงไฟฟ้าถ่านหิน
แผนที่แสดงแผนการละทิ้งถ่านหินของสหภาพยุโรป (แสดงในรูปของจำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เหลืออยู่และถ่านหินที่ใช้ในโรงไฟฟ้าต่อคนในปี 2573) ผ่านกลไกทางข้อบังคับและกลไกทางการตลาด)
บทบาทของถ่านหินลดลงในประเทศที่เป็นสหภาพยุโรปและแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป และเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระจากความพยายามของแผนการที่ละทิ้งถ่านหิน ด้วยการเจาะทะลุทะลวงตลาดที่เพิ่มมากขึ้นของพลังงานหมุนเวียนและจากการที่มันมีราคาลดลง นักลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงเผชิญกับความยากลำบาก
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมถ่านหินยังต้องเผชิญกับมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มงวดขึ้นและการคัดค้านการเปิดเหมืองถ่านหินใหม่ ผลสะเทือนที่เห็นชัดเจนคือการลดลงของลงทุนด้านนี้
การไปให้ถึงเป้าหมายของข้อตกลงปารีสในเป้าหมายเรื่องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในระยะยาว การละทิ้งถ่านหินจำเป็นต้องเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เป็นอยู่ ในขณะที่มีนโยบายต่างๆ อยู่แล้ว เช่น ระบบการค้าคาร์บอน(EU ETS) หรือนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เป็นต้นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการละทิ้งถ่านหินของสหภาพยุโรปหากมีการเสริมความเข้มแข็งและยกระดับ การละทิ้งถ่านหินจำเป็นต้องดำเนินการให้สอดคล้องอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่จะนำไปสู่การคาดการณ์และการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของการเปลี่ยนผ่านนี้