ในหนังสือ Yoshida’s Dilemma ผู้เขียน Rob Gilhooly ซึ่งใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมายาวนานและทำงานเป็นสื่อมวลชนและช่างภาพเชิงข่าวสารคดีได้รวบรวมหลักฐานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าผ่านประสบการณ์ตรงของนายนาโอตะ คัน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น(ในเวลานั้น) ไปจนถึงเรื่องของคนที่ทำงานเพื่อช่วยประเทศให้พ้นจากหายนะภัยจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และคลื่นสีนามิถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ

เหตุอันสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ได้เน้นไปที่นายมาซาโอะ โยชิดะ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงานของเขาเอาชีวิตเข้าเสี่ยงกับรังสีนิวเคลียร์ ศัตรูที่มองไม่เห็น และเรื่องเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยอมจำนนโดยละทิ้งบ้านเรือนของตนและวิถีชีวิตที่ตกทอดกันมาหลายชั่วรุ่นคน ในขณะที่ บริษัทพลังงานและเจ้าหน้าที่รัฐบาลพยายามปกปิดซ่อนเร้นความจริงที่เกิดขึ้นกับหายนะภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงนับตั้งแต่เชอร์โนบิล

ในขณะที่ Rob Gilhooly ผู้เขียนระมัดระวังที่จะเข้าข้างวิวาทะของกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับพลังงานนิวเคลียร์ แต่ข้อสรุปที่หนีไม่พ้นคือพลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีอันตรายอย่างยิ่ง อาจจะอันตรายยิ่งกว่าแม้ว่าจะใช้แบบจำลองทางธุรกิจแบบญี่ปุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยที่ กลุ่มมหาอำนาจนิวเคลียร์ทั้งหลาย(nuclear village)ต่างปิดปากไม่วิพากษ์วิจารณ์ และแม้กระทั่งองค์ความรู้ของการตัดสินใจและแนวปฏิบัติเชิงการดำเนินการที่เป็นอันตรายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หนังสือ Yoshida’s Dilemma ได้เป็นเสียงปลุกให้ตื่นต่อประเทศอื่นๆ ที่เป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ ไม่ว่าประเทศเหล่านั้นจะต้องเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เข้าทำลายฟุกุชิมะหรือไม่ และเป็นหนังสือที่ต้องอ่านในเชิงการพิจารณาและการตั้งคำถามถึงการจัดการและการผลักดันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ซึ่งไม่เฉพาะในญี่ปุ่น แต่ในประเทศอื่นๆ ด้วย