แปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียมในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561
ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงการเกิดไฟทั่วทั้งพื้นที่ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้มีอากาศแห้งซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พอเหมาะในการเกิดไฟ
เครื่องมือ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม Suomi NPP รวบรวมข้อมูลภาพถ่ายที่แสดงถึงจุดเกิดไฟหลายร้อยจุดในกัมพูชา เวียดนาม ไทย ลาวและเมียนมาร์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 จุดสีแดงแต่ละจุดบนแผนที่ด้านบนแสดงถึงการตรวจพบจุดความร้อนในหนึ่งจุดโดยเครื่องวัด VIIRS 750-meter active fire data product (หมายเหตุ : ยังมีเครื่องวัด 375-meter active fire data product ที่มีขีดความสามารถตรวจสอบการเกิดไฟได้มากกว่า แต่ผลจากเครื่องมือ 750-meter นั้นก็เพียงพอสำหรับนำมาใช้ในการทำแผนที่)
ในวันดังกล่าว มีจุดความร้อนมากอย่างมีนัยสำคัญในกัมพูชากว่าประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รายรอบ เครื่องมือ VIIRS บนดาวเทียมตรวจจับจุดความร้อนทั้งหมด 1,868 จุดในกัมพูชา 185 จุดในลาว 77 จุดในเมียนมาร์ 217 จุดในไทย และ 144 ในเวียดนาม จุดความร้อนจำนวนมากในกัมพูชาเป็นจุดที่เครื่องมือ VIIRS สังเกตพบมากที่สุดในช่วงหนึ่งวันของปี พ.ศ.2561 แบบแผนดังกล่าวมีความสอดคล้องกันเมื่อเร็วๆ นี้ จากที่แสดงให้เห็นในแผนที่ด้านล่าง เครื่องมือวัด VIIRS ได้ตรวจจับจุดความร้อนมากสี่ถึงห้าเท่าทางตอนเหนือของกัมพูชาเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในเวียดนามและไทยระหว่างเดือนสิงหาคม ปี 2559 และกุมภาพันธ์ ปี 2561 ภาคเหนือของลาวก็พบจุดความร้อนเป็นจำนวนมากด้วย
แปลผลจากข้อมูลดาวเทียมระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557-24 กุมภาพันธ์ 2561
แผนที่แสดงจุดความร้อนระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม 2559-21 กุมภาพันธ์ 2561 (แปลผลจากข้อมูลดาวเทียมในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561)
ประมวลผลจากภาพถ่ายดาวเทียมวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 256
การเผาไหม้ในที่โล่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นาย Evan Ellicott ผู้เชี่ยวชาญด้านรีโมตเซนซิ่งและการเกิดไฟแห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์กล่าวว่า “ถ้าไม่มีข้อมูลจากคนในภาคสนาม มันเป็นได้ยากที่จะรู้ว่าสาเหตุการเกิดไฟนั้นคืออะไรจากภาพถ่ายดาวเทียม แต่มีความชัดเจนมากว่า การตรวจจับจุดความร้อนจำนวนมากในกัมพูชาโดยภาพถ่ายดาวเทียมนั้นเชื่อมโยงกับพื้นที่ป่าไม้ที่สูญเสียไป(forest cover loss) ไฟที่เกิดมากขึ้นในแต่ละปี พื้นที่ป่าไม้ก็สูญเสียมากตามไปด้วย
แรงกดดันทางประชากรที่เพิ่มขึ้นและการขยายพื้นที่การเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น จุดความร้อน/การเผาไหม้ในที่โล่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(รวมถึงอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี) นั้นมีส่วนอย่างน้อย ร้อยละ 10 หรือมากกว่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งทั่วโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพและเพิ่มก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลก
อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม
• Agroforestry World (2015, March 15) Less swidden agriculture in Southeast Asia: effects on livelihoods and ecosystems. Accessed February 27, 2018.
• Environmental Investigation Agency (2017, May) Repeat Offender: Vietnam’s persistent trade in illegal timber. Accessed February 27, 2018.
• Hurni, K. et al, (2016) Mapping the Expansion of Boom Crops in Mainland Southeast Asia Using Dense Time Stacks of Landsat Data. Remote Sensing, 9 (4), 320.
• Li,P. et al, (2014) A Review of Swidden Agriculture in Southeast Asia. Remote Sensing,, 6 (2), 1654-1683.
• Lasko, K. et al, (2017) Satellites may underestimate rice residue and associated burning emissions in Vietnam. Environmental Research Letters, 12 (18), 085006.
• Luu, H. & Pinto, F. (2014) Dipterocarp oleoresin in Vietnam and Cambodia: harvesting techniques, resource management and livelihood issues: A report from an exchange visit to Cambodia. Accessed February 27, 2018.
• The Diplomat (2017, October 30) The Difficult Discussion on Cambodia’s Forests. Accessed February 27, 2018.
• The Phnom Penh Post (2016, February 9) Blazes seen across Kingdom. Accessed February 27, 2018.
• The Phnom Penh Post (2017, May 1) Logging ban flouted as Vietnamese nationals strip protected forests in Ratanakkiri. Accessed February 27, 2018.
• Radio Free Asia (2016, January 19) Hun Sen Creates Committee to Tackle Illegal Timber Trade in Cambodia Accessed February 27, 2018.
• Reuters (2016, February 25) Cambodian PM tells troops to fire rockets at illegal loggers. Accessed February 27, 2018.
• The Wildlife Conservation Society (2012) A wildlife survey of southern Mondulkiri province, Cambodia. Accessed February 27, 2018.
• University of Maryland VIIRS fire map. Accessed February 27, 2018.
• Van der Werf, G.R. et al, (2010) Global fire emissions and the contribution of deforestation, savanna, forest, agricultural, and peat fires (1997-2009). Atmospheric Chemistry and Physics, 10, 11707-11735.
• Vadrevu, K. et al, (2014) Spatial Variations in Vegetation Fires and Carbon Monoxide Concentrations in South Asia. Remote Sensing Applications in Environmental Research.
• Vadrevu, K. et al, (2017) Land cover, land use changes and air pollution in Asia: a synthesis. Environmental Research Letters, 12, 120201.
• World Wildlife Foundation (2018, January) Eastern Plains Landscape case studies show unrelenting illegal activities, but successful interventions amidst wider national crack down. Accessed February 27, 2018.
NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using fire data from the VIIRS Active Fire team and Landsat data from the U.S. Geological Survey.
Story by Adam Voiland.