สายฝนแห่งฤดูมรสุมถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลคือก่อให้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรัฐเคลาราของอินเดียนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2467) เหตุเริ่มจากปริมาณฝนที่เทลงมาในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 มีผู้คนนับล้านต้องอพยพ อีกหลายร้อยชีวิตต้องสูญเสีย บ้านเรือนเสียหายราว 50,000 หลัง ถือเป็นการตกของฝนที่มีปริมาณมากที่สุดของรัฐเคลาราในฤดูมรสุมนี้
ภาพบนแสดงปริมาณฝนตกสะสมระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคมถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ปริมาณการตกสูงสุดในรัฐเคราลาเกิดขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม และไปถึงระดับสูงผิดปกติระหว่างวันที่ 8 และ 16 สิงหาคม นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 เป็นต้นมา พื้นที่แถบนี้รับการตกของฝนมากกว่าร้อยละ 42เทียบกับปริมาณการตกตามปกติในช่วงเวลาเดียวกัน ในช่วง 20 วันแรกของเดือนสิงหาคม รัฐเคราลามีฝนตกมากขึ้นร้อยละ 164 มากกว่าปริมาณการตกของฝนตามปกติ
ฝนยังตกแบบถล่มถลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ภาคตะวันตกของเมียนมาร์เจอกับฝนที่กระหน่ำลงมาในช่วงกลางเดือนกรกฏาคมและเดือนสิงหาคม ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คน 150,000 คน ต้องอพยพในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงในรอบ30 ปี ระดับน้ำในแม่น้ำ Bago และ Sittaung เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 50 ปี แม่น้ำ Sittaung มีระดับสูง 7 ฟุต เกินระดับปลอดภัยของพื้นที่
ภาพเคลื่อนไหวด้านบนแสดงปริมาณฝนตกสะสมระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคมถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ปริมาณการตกสูงสุดในเมียนมาเกิดขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม
ข้อมูลข้างต้นมาจากเครื่องมือวัด Integrated Multi-Satellite Retrievals (IMERG) ภายใต้ภารกิจ Global Precipitation Measurement (GPM) ดาวเทียม GPM เป็นหัวใจสำคัญของการสังเกตการณ์การตกของฝนรวมถึงเครื่องมือวัดจาก Nasa องค์กรสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นและองค์ระดับประเทศและสากลอีก 5 หน่วย การวัดปริมาณการตกของฝนภาคพื้นดินอาจมีระดับที่มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ที่มาข้อมูล : NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using IMERG data from the Global Precipitation Mission (GPM) at NASA/GSFC. Story by Kasha Patel.