4 พฤศจิกายน 2561
10 เมษายน 2561
ฝนในฤดูกาลแห่งมรสุมทิ้งให้บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีน้ำขัง ภาพแรกแสดงสภาพของพื้นที่ในไทยและกัมพูชาในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 หลังจากน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำและทะเลสาปและทำให้พื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง ภาพที่สองถ่ายในวันที่ 10 เมษายน 2561 เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างก่อนฤดูมรสุมจะเริ่มขึ้น
ภาพถ่ายดาวเทียมสีผสมเท็จ(false-color images) ทั้งสองภาพได้มาจากเครื่องมือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) บนดาวเทียม Terra ของนาซา เป็นภาพที่มาจากแสงอินฟาเรดและแสงที่มองเห็นได้ซึ่งทำให้ง่ายต่อการระบุพื้นที่ที่มีน้ำท่วม พื้นที่ที่มีน้ำมีสีฟ้าเข้มไปถึงสีดำ พืชพรรณเป็นสีเขียวสด เมฆเป็นสีฟ้า และพื้นที่โล่งเป็นสีน้ำตาล
ในกัมพูชา ฝนตามฤดูกาลทำให้ระดับน้ำเอ่อท้นแม่น้ำโขงและและแผ่กระจายในที่ราบน้ำท่วมถึง มากบ้างน้อยบ้างในบางปี จากการรายงานข่าว มีปรากฏการณ์ฝนสลับแล้งในช่วงฤดูฝนของปี 2561 ทั่วทั้งกัมพูชา ส่งผลต่อการผลิตทางเกษตรกรรม
น้ำท่วมตามฤดูกาลยังมีความสำคัญต่อพื้นที่ชุ่มน้ำของโตนเลสาป เหล่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พึ่งพาพื้นที่ชุ่มน้ำ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 สะตึงเซน(Stung Sen) พื้นที่ชุ่มน้ำชายขอบโตนเลสาปได้รับการขึ้นทะเบียนในแรมซาร์ไซต์—พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ
พื้นที่น้ำท่วมยังปรากฏให้เห็นใกล้ๆ กรุงเทพฯ ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนใต้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร มีนำ้ท่วมฉับพลันที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินหลังจากมีฝนตกหนักในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561
แปลเรียบเรียงจาก NASA Earth Observatory images by Lauren Dauphin, using MODIS data from NASA EOSDIS/LANCE and GIBS/Worldview. Story by Kathryn Hansen.