อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ ที่อยู่กลุ่มประเทศ G20 (G20 ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้บริหารธนาคารกลางจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ รวมกับสหภาพยุโรป เวทีประชุมสุดยอด G20 ถือว่าเป็นเวทีประท้วงของกลุ่มองค์กรต่อต้านโลกาภิวัตน์ด้วย ในรายงาน The Brown to Green Report ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยและองค์กรพัฒนาเอกชนกว่า 14 แห่ง จับตาดู G20 เรื่องความโปร่งใสของปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
รายงานบอกว่า มีช่องว่างใหญ่มากระหว่างแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มประเทศ G20 และการคงให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เพิ่มากไปกว่า 1.5 เซลเซียส แหล่งพลังงานขั้นปฐมภูมิของกลุ่มประเทศ G20 ถึง 82% มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
ไม่มีกลุ่มประเทศไหนในกลุ่ม G20 ที่ตั้งเป้าระบบพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2050
อินโดนีเซีย อาร์เจนตินาและบราซิลมีอัตราการทำลายป่าไม้สูงสุด
เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมฟอสซิลในกลุ่มประเทศ G20 เป็นจำนวน 147,000 ล้านเหรียญ
ในกรณีของอินโดนีเซีย เมื่อดูจากนโยบายที่มีอยู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังจะเพิ่มขึ้นไปอีก(แม้ว่าจะไม่รวมการปล่อยจากภาคป่าไม้) และแน่นอนว่ามันไม่สอดคล้องกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความตกลงปารีส
แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศที่อินโดนีเซียเสนอเข้าไปใน UNFCCC รวมถึงนโยบายรายสาขาไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน ประสิทธิภาพพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและการทำลายป่าไม้ ก็เช่นกัน ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้โลกเมื่อพิจารณาถึงการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
อ่าน The Brown to Green Report 2018 ซึ่งเป็นการรีวิว ปฏิบัติการกู้วิกฤตโลกร้อนของG20 เพิ่มเติมได้จาก https://www.climate-transparency.org/g20-climate-performance/g20report2018#1531904804037-423d5c88-a7a7