เมื่ออ่านรายงาน “โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล” ที่จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ https://bit.ly/2MLTDOO เราจะพบว่า เรามีแทบทุกอย่างที่พร้อมรับมือกับวิกฤตมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น( Note : ที่เรียกว่าวิกฤตนั้นดูจากวันที่เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา https://bit.ly/2WDDm2U)

รายงานดังกล่าวที่ตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม 2561 มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการรวม 60 คน จากกรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมการขนส่งทางบก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กองบังคับการตำรวจจราจร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มหาวิทยาลัย 6 แห่ง และสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อเสนอจากรายงานแบ่งเป็น “…แนวทางระยะสั้นที่ต้องดำเนินการในขณะที่เกิดปัญหา และแนวทางระยะยาว เพื่อเตรียมการรับมือและลดความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่อาจเกิดขึ้นอีกในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 และปีต่อๆ ไป…”
เรามีแผนรับมือและผู้เชี่ยวชาญมากมาย เรายังขาดอะไร?
เครดิตภาพ:
http://air4thai.pcd.go.th/webV2/history/
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/825901

