แพลงตอนบูมในทะเลสาบอีรี่ (ที่มา : NASA image courtesy Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS MODIS Rapid Response Team at NASA GSFC. Caption by Mike Carlowicz)
แพลงตอนบูมในทะเลสาบอีรี่ (ที่มา : NASA image courtesy Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS MODIS Rapid Response Team at NASA GSFC. Caption by Mike Carlowicz)

ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก https://www.smithsonianmag.com/smart-news/toledo-ohio-just-granted-lake-erie-same-legal-rights-people-180971603/

ในช่วง 50 ปีท่ีผ่านมา เกิดแพลงตอนบูมเป็นประจำในช่วงฤดูร้อนในทะเลสาบอีรี่ แพลงตอนบูมจะขยายตัวในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมเมื่ออุณหภูมิน้ำเพิ่มสูงขึ้นและน้ำทะเลสาบมีลักษณะเป็นชั้น แพลงตอนจะบูมสูงสุดในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน บางครั้งส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายน้ำประปาในเมืองที่ตั้งอยู่ในทะเลสาบทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

การผ่านประชามติที่มีข้อถกเถียงนี้นำไปสู่บัญญัติสิทธิ(Bill of Rights) สำหรับทะเลสาบอีรี่พื้นที่ 9,940 ตารางไมล์และได้รับสถานะในฐานะบุคคลที่มีสิทธิในการฟ้องร้องผู้ก่อมลพิษ

Sigal Samuel จากสำนักข่าว Vox ระบุว่าประชามตินี้ถือเป็นครั้งแรกของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับสถานะทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศในเมื่อเร็วๆ นี้

ตำนานของเรื่องราวสถานะบุคคลของทะเลสาบอีรี่เริ่มต้นในฤดูร้อนปี ค.ศ.2014 เมื่อเกิดการบูมของสาหร่ายพิษในทะเลสาบอันเกิดมาจากมลพิษทางน้ำจากภาคเกษตรกรรมและมลพิษอื่นๆ มีเหตุเกิดขึ้นนำไปสู่การประกาศภาวะฉุกเฉิน ทำให้ประชาชนกว่าครึ่งล้านขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้เป็นเวลา 3 วัน เหตุดังกล่าวนี้ทำให้เกิดกลุ่ม Toledoans for Safe Water ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์เพื่อทำความสะอาดและปกป้องแม่น้ำตามการรายงานของ Yessenia Funes ใน Earther

กลุ่มเครือข่ายประชาชนร่วมมือกับองค์กร Community Environmental Legal Defense Fund ผลักดัน Lake Erie Bill of Rights Charter Amendment ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายที่ระบุว่า “ทะเลสาบมีสิทธิในการดำรงอยู่ เติบโตและวิวัฒน์ตามธรรมชาติ” ให้มีการลงประชามติ กระบวนการลงประชามติได้ผ่านกฎหมายนี้ร้อยละ 61 ต้องกล่าวในที่นี้ว่า ประชาชนออกมาลงประชามติน้อยกว่าร้อยละ 9 ของผู้มีสิทธิลงคะแนน อย่างไรก็ตาม Nicole Javorsky ที่ CityLab ระบุว่าการที่คนไม่ออกมาลงคะแนนเป็นเรื่องปกติในการเลือกตั้งแบบพิเศษ

กฎหมายที่ให้ทะเลสาบมีสิทธิในทางกฏหมายและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนให้ส่งเสริมสิทธิดังกล่าวเมื่อมีการถูกละเมิด เช่น การฟ้องร้องผู้ก่อมลพิษ Markie Miller จากกลุ่ม Toledoans for Safe Water กล่าวว่า “เราใช้กฎหมายเดิมมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วเพื่อปกป้องทะเลสาบ แต่ชัดเจนว่ามันไม่ได้ผล ในวันนี้ จากการลงคะแนนครั้งประวัติศาสตร์ ชาวเมือง Toledo และแนวร่วมของเราภูมิใจกับยุคใหม่ของสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมโดยรับรองถึงสิทธิของทะเลสาบอีรี่

บัญญัติสิทธิแห่งทะเลสาบอีรี่(The Lake Erie Bill of Rights) เป็นหนึ่งในกระบวนการเคลื่อนไหวสิทธิตามกฎหมายของธรรมชาติตามแนวคิดของนักกฎหมายสิ่งแวดล้อมชื่อ Christopher Stone ที่ตีพิมพ์ในวารสาร the Southern California Law Review ในปี ค.ศ.1972 แนวคิดนี้วางอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในอันที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี(the legal concept of standing) โดยหลักการคือ ก่อนที่จะมีการเยียวยาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น ฝ่ายโจทก์ต้องแสดงว่าให้เห็นว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากกิจกรรมนั้นๆ โดยการให้สิทธิต่อทะเลสาบ ทะเลสาบอีรี่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ก่อมลพิษได้ (ด้วยความช่วยเหลือจากทนายที่เป็นบุคคล)

ยุทธศาสตร์ทางกฎหมายนี้มีความก้าวหน้าในส่วนอื่นของโลก เช่น แม่น้ำวังกานูอิที่มีความยาว 200 ไมล์ ของประเทศนิวซีแลนด์มีสิทธิและสถานะทางกฎหมายขเป็นบุคคลในปี ค.ศ. 2017 ในปีเดียวกัน ศาลในอินเดียก็ดำเนินการแบบเดียวกันกับแม่น้ำคงคาและยมมุนา ถึงแม้ว่าศาลสูงจะพลิกข้อเสนอในอีก 2-3 เดือนต่อม

นักกิจกรรมในชิลี กำลังหวังว่าจะสามารถรับรองสถานะทางกฎหมายในฐานะบุคคลให้กับแม่น้ำของตนซึ่งเป็นเป้าหมายของสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ประเทศอื่นๆ เช่นโบลีเวียและเอกวาดอร์ก็มีการรับรองยุทธศาสตร์แบบเดียวกันเพื่อให้ธรรมชาติมีสถานะเป็นบุคคลทางกฎหมาย

ยังไม่ชัดเจนว่าประชามติของชาวเมืองจะผ่านด่านในชั้นศาลของสหรัฐอเมริกาไปได้หรือไม่ เพราะหลังจากการลงประชามติ กลุ่ม the Drewes Farm Partnership ยื่นคัดค้าน ประชามติว่าขัดหลักกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

ไม่ว่ากฎหมายที่ลงประชามติจะผ่านไปได้หรือไม่ ทนาย Madeline Fleisher จาก ศูนย์ Environmental Law & Policy Center ในเมืองโคลัมบัสบอกกับ Javorsky ของ CityLab ว่า กฎหมายนี้บอกให้รู้ว่าชาวเมือง Toledo ไม่พอใจกับมาตรการปกป้องคุ้มครองทะเลสาบที่เป็นอยู่