
ความแห้งแล้งเกิดทั่วทั้งแอฟริกาตะวันตกหลังจากฤดูกาลของฝนในปลายปี พ.ศ.2561 และ 2562 ไม่อาจนำความชุ่มชื้นมาในพื้นที่ การไร้ซึ่งหยาดน้ำฟ้า(precipitation)นำไปสู่ วิกฤตทางอาหาร โดยที่แหล่งอาหารไม่เพียงพอกับคน
ท้ายที่สุด ฝนที่ตกน้อยลงทำให้ความชื้นในดินน้อยลง ความชื้นในดินที่น้อยลงโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกนั้นสามารถทำให้การเพาะปลูกพืชที่พึ่งน้ำฝนล้มเหลวได้ องค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งนี้สามารถตรวจจับได้จากอวกาศ ข้อมูลดาวเทียมและแบบจำลองพื้นผิวโลกจะช่วยเป็นฐานให้กับระบบติดตามภัยแล้งในภาคเกษตรกรรม ระบบเหล่านี้ใช้ในการเตือนถึงทุกภิกขภัยและลดความเสี่ยงในภูมิภาคที่ไร้ซึ่งความมั่นคงทางอาหาร
แผนที่ด้านบนแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่ผิดแผกไปของความชื้นในดินในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 แสดงถึงความแห้งแล้งและส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกพืชอย่างไร พื้นที่สีเขียวแสดงถึงปริมาณความชื้นในดินชั้นบนที่มีมากกว่าระดับปกติในเดือนเมษายน ส่วนบริเวณสีแดงแสดงปริมาณความชื้นในดินที่มีน้อยกว่า
ความชื้นในดินที่ต่ำนั้นเกิดขึ้นทั่วทั้งเขตจะงอยแห่งแอฟริกา(the Horn of Africa) หนึ่งในภูมิภาคที่เป็นเป้าหมายของเครือข่ายเตือนภัยด้านทุพภิกขภัย(the Famine Early Warning System Network, FEWS NET) ความแห้งแล้งนั้นมาจากปริมาณฝนที่น้อยกว่าปกติในช่วงฤดูฝน(Gu) สองคาบที่ผ่านมา ข้อมูลจาก FEWS NET ปริมาณฝน Gu ในช่วงเดือนพฤษภาคมลดลงเป็นครึ่งหนึ่งจากระดับปกติของฤดูฝน (เมษายนถึงมิถุนายน) ตามมาด้วยฤดูแล้ง(Deyr) ช่วงที่มีฝนน้อยมาก(ตุลาคมและพฤศจิกายน)
ในโซมาเลีย การตกของฝนกระจายเป็นจุดๆ มีสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนอยู่สองสามแห่งในทางตอนเหนือที่เก็บข้อมูลในเดือนเมษายน รายงานของ FAO มีคนมากกว่า 2 ล้านที่อาจเจอกับความอดหยากหิวโหยขึ้นรุนแรงในช่วงเดือนกรกฏาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2562
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โซมาเลียต้องเจอกับภัยแล้งยาวนาน ฝนทิ้งช่วงและไม่มีน้ำเพียงพอการเพาะปลูกและการปศุสัตว์ ภัยแล้งช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 ทำให้ผลผลิตการเกษตรล้มเหลวครั้งใหญ่ ปศุสัตว์ล้มตาย และการอพยพหนีภัยแล้งของคนนับแสน
FEWS NET รายงานว่า โซมาเลียจะไปถึงขั้น “ภัยฉุกเฉิน” ของความไม่มั่นคงทางอาหาร ลำดับที่สี่ของห้าช่วง ตำ่กว่า“ทุพภิกขภัย” ช่วงที่สามคือ “วิกฤต” ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเอธิโอเปีย โซมาเลีย เคนยาและยูกันดา
NASA Earth Observatory image by Lauren Dauphin, using data from the Famine Early Warning Systems Network (FEWS NET) and the U.S. Geological Survey. Story by Kathryn Hansen.