
ในช่วงกลางวันแสกๆ ท้องฟ้ากลับกลายเป็นสีดำในทันที กลางวันกลายเป็นกลางคืนในเซาเปาลู
แน่นอน หมอกควันคือข่าวร้ายในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันตกโดยที่มีรถยนต์ติดยาวหลายไมล์บนท้องถนน
ผู้เชี่ยวชาญพยายามหาว่าเหตุกลางวันมืดในวันจันทร์(19 สิงหาคม 2562) เกิดจากอะไร แต่ข้อสรุปของพวกเขาในเวลานั้นกลับย้อนแย้งกัน สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติระบุว่า เมืองเซาเปาลูซึ่งตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 2,500 ฟุต นั้นตก”อยู่ในเมฆหมอก” ส่วนสำนักอื่นๆ บอกว่ามันเป็นแนวอากาศเย็น บริษัท MetSul ซึ่งเชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาบอกว่า ตัวการคือหมอกควันที่มาจากไฟป่าในโบลิเวีย ปารากวัยและที่อันห่างไกลของบราซิล
ที่จริง ดูเหมือนมาจากปัจจัยสามอย่างนี้รวมกัน เมฆหมอก ควันและแนวอากาศเย็น ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของควันจากจุดกำเนิดในระยะไกล เข้าปกคลุมเมืองจนมืดมิดในเวลากลางวัน

Josélia Pegorim นักอุตุนิยมวิทยาจาก Climatempo ให้สัมภาษณ์ กับ Globo ว่า “หมอกควันไม่ได้มาจากไฟในรัฐเซาเปาลู แต่มาจากควันไฟป่าที่หนาทึบที่เกิดขึ้นเมื่อหลายวันก่อนในเขตรัฐรอนโดเนีย(ของบราซิล)และโบลิเวีย มวลอากาศเย็นเปลี่ยนทิศทางและกระแสลมนั้นได้พาหมอกควันมายังเซาเปาลู
ข่าวสารต่างๆ รายงานถึงจำนวนการเกิดไฟในบราซิล โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 ในปี พ.ศ.2562 นี้ โดยเฉพาะข้อมูลที่ปล่อยออกมาจากสถาบันแห่งชาติว่าด้วยการวิจัยอวกาศ (the National Institute for Space Research หรือ INPE) ในช่วงสัปดาห์
Alberto Setzer นักวิจัยที่ INPE ให้สัมภาษณ์ กับสื่อท้องถิ่นว่า “พื้นที่แอมะซอนส่วนใหญ่นั้นครั้งหนึ่งเป็นพื้นที่ทนไฟ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทำลายป่าสร้างโลกใหม่ขึ้น ไฟป่าเพิ่มความถี่และความเข้มข้นขึ้น จากงานวิจัยต่างๆ ที่มีการศึกษาและนำเสนอไว้”
นักวิจัยชาวอังกฤษเขียน ลงใน the Conversation ปีนี้ ระบุว่า “ไฟป่าในแอมะซอนไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สาเหตุมาจากความแห้งแล้งและกิจกรรมของมนุษย์รวมกัน ทั้งวิกฤตโลกร้อนและการทำลายป่า นั้นเชื่อมโยงกัน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความถี่และความเข้มข้นของความแห้งแล้งในพื้นที่แอมะซอน”

แปลเรียบเรียงจาก Terrence McCoy ใน https://www.washingtonpost.com/world/2019/08/20/sudden-darkness-befalls-sao-paulo-western-hemispheres-largest-city-baffling-thousands/?arc404=true