
ช่วงกลางฤดูกาลไฟในภูมิภาคแอมะซอน นักวิทยาศาสตร์ใช้ดาวเทียมขององค์การนาซาติดตามการเกิดไฟที่ยืนยันว่าเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและความหนาแน่นในผืนป่าแอมะซอนของบราซิลในปี พ.ศ.2562 เรียกได้ว่าเป็นไฟป่าที่มากที่สุดในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา
การเกิดไฟในแอมะซอนเปลี่ยนแปลงปีต่อปี และเดือนต่อเดือนอย่างเห็นได้ชัด โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศ นาย Douglas Morton หัวหน้าห้องปฏิบัติการ the Biospheric Sciences Laboratory ที่ NASA’s Goddard Space Flight Center กล่าวว่า เดือนสิงหาคม 2562 นั้นโดดเด่นสุดเพราะการเกิดไฟที่ขยายวงกว้าง หนาแน่นและยาวนานตามเส้นถนนสายหลักของผืนป่าแอมะซอนตอนกลางเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในอดีตความแห้งแล้งเป็นตัวนำให้เกิดไฟ ช่วงเวลาและตำแหน่งที่มีการตรวจพบการเกิดไฟในช่วงต้นของฤดูแล้งของปี 2562 นี้ สอดคล้องกับการแผ้วถางป่าเพื่อการเกษตรมากกว่าความแห้งแล้ง
Morton กล่าวว่า “ดาวเทียมจะเป็นสิ่งแรกที่ตรวจจับการเกิดไฟในพื้นที่อันห่างไกลของแอมะซอน เครื่องมือหลักๆ ที่ใช้ตรวจจับการเกิดไฟตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 คือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) บนดาวเทียม Terra และ Aqua
ณ ช่วงฤดูกาลเกิดไฟ เครื่องมือ MODIS ได้ตรวจจับจุดเกิดไฟในปี พ.ศ.2562 มากกว่าจุดเกิดไฟทั่วทั้งผืนป่าแอมะซอนของบราซิลนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 รัฐแอมะซอนาสพบจุดเกิดไฟเข้มข้นในปี 2562 นี้
Morton ระบุว่า สถิติการเกิดไฟที่เผยแพร่โดยนาซาและที่เผยแพร่โดย Instituto Nacional de Pesquisas Espaciais (INPE) ของบราซิลนั้นตรงกัน INPE ใช้ข้อมูลจุดเกิดไฟจากเครื่องมือ ตแอมะซอนของบราซิล ผลคือทั้ง นาซาและมีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการเกิดไฟจากเครื่องมือวัด ซึ่งสูงกว่าการเกิดไฟในช่วงช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เครื่องมือ MODIS ที่ตรวจจับการเกิดไฟนำไปวิเคราะห์โดยโครงการ Global Fire Emissions Database (GFED) ทีมงานที่นี่ทำการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของนาซาในช่วง 17 ปีที่ผ่านมาเพื่อทำความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงบทบาทของไฟในการเปลี่ยนแปลงระบบโลก การวิเคราะห์ของพวกเขาในพื้นที่แอมะซอนทางตอนใต้รวมถึงบางส่วนของบราซิล เปรูและโบลิเวียนั้นทำให้เห็นแบบแผนของการเกิดไฟระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ชุดข้อมูลสามามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ https://www.globalfiredata.org/forecast.html


กราฟเหล่านี้แสดงถึงการตรวจจับจุดเกิดไฟจากเครื่องมือวัด MODIS และ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม Suomi NPP ในวันที่22 สิงหาคม 2562 ยืนยันให้เห็นว่าปี 2562 มีจุดเกิดไฟสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2545(ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เครื่องมือวัด VIIRS) ในรัฐทั้งเจ็ดของภูมิภาคแอมะซอนของบราซิล นอกจากนี้ ไฟป่าที่เกิดขึ้นในปี 2562 นี้ยังเข้มข้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยใช้การวัดกำลังการแผ่รังสี(fire radiative power)สะสม


ในวันที่ 19 สิงหาคม 2562 เครื่องมือ MODIS บนดาวเทียมTerra ของนาซาจับภาพสีจริงตามธรรมชาติ(ภาพบนสุด) แสดงไฟป่าที่กำลังลุกในเขต Novo Progressoในรัฐ Pará ของบราซิล เมืองนี้ตั้งอยู่บนทางหลวงสาย BR-163 เส้นทางตรงในแนวเหนือใต้เชื่อมชุมชนเกษตรในแอมะซอนตอนใต้เข้ากับท่าเรือเดินสมุทรริมฝั่งแม่น้ำแอมะซอนในเมือง Santarém พื้นที่เกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กระจายตามแนวทางหลวงเส้นทางอย่างเป็นระเบียบ ทางด้านตะวันตก มีถนนลูกรังเชื่อมกับเหมืองแร่ขนาดเล็กที่ขยายเจาะลึกเข้าไปในป่าฝนเขตร้อน

แผนที่ด้านบนแสดงการตรวจจับจุดเกิดไฟในบราซิลโดยเครื่องมือ MODIS ระหว่างวันที่ 15-22 สิงหาคม 2562 พื้นที่เกิดไฟแสดงเป็นสีส้ม และนำมาซ้อนทับกับภาพถ่ายดาวเทียมเวลากลางคืนโดยเครื่องมือ VIIRS จากข้อมูล พื้นที่เมืองปรากฏเป็นสีขาว พื้นที่ป่าเป็นสีดำ พื้นที่ทุ่งหญ้าเขตร้อนและพื้นที่ป่าละเมาะ (เรียกว่า Cerrado ในบราซิล) เป็นสีเทา จะสังเกตเห็นว่า จุดเกิดไฟในรัฐ Pará และ Amazonas จะกระจุกตัวบนทางหลวง BR-163 และ BR-230
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ระบบ MODIS บนดาวเทียม Aqua และ Terra ของนาซาเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของความร้อน (โดยทั่วไปจากการเกิดไฟ) ทั่วโลก แผนที่จุดเกิดไฟนี้มาจากข้อมูลจากระบบ Fire Information for Resource Management System (FIRMS) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดย the University of Maryland และโครงการ Applied Sciences ของ NASA. FIRMS ให้ข้อมูลไฟป่าใกล้เวลาจริงกับคนทำงานวิจัยทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม สังเกตว่า แต่ละจุดบนแผนที่อาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับการเกิดไฟหนึ่งจุดในพื้นที่จริง จุดเกิดไฟจะแทนศูนย์กลางของพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรโดยมีความร้อนที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติหนึ่งค่าหรือมากกว่า บางครั้งไฟที่เกิดต่อเนื่องกัน 1 ครั้ง จะบันทึกเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหลายๆ ครั้ง และถูกจัดเรียงเป็น 1 เส้น แทนเป็นแนวการเกิดไฟ
ที่มา : NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using MODIS data from NASA EOSDIS/LANCE and GIBS/Worldview, Fire Information for Resource Management System (FIRMS) data from NASA EOSDIS, and data from the Global Fire Emissions Database (GFED). Story by Adam Voiland, with information from Douglas Morton (NASA’s Goddard Space Flight Center).