เขียนโดย Kasha Patel – 5 มีนาคม 2563

เรื่องแรกสุดและสำคัญคือการระบาดของโคโรนาไวรัส(COVID-19) คือประเด็นของสาธารณสุขและความปลอดภัย แต่เมื่อผู้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแบบแผนในชีวิตประจำวันเพื่อกันและหลีกเลี่ยงไวรัส มีผลกรทบที่ลึกซึ้งต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ผิดพลาด ต่อไปนี้เป็นสี่ประเด็นที่โคโรนาไวรัสส่งผลกระทบ(และไม่ส่งผลกระทบ)ต่อสิ่งแวดล้อมในจีน

1. ภาพถ่ายจากดาวเทียมพบการลดลงมลพิษทางอากาศหนึ่งชนิด แต่ไม่ได้หมายถึงว่าอากาศปลอดจากมลพิษทางอากาศทั้งหมด

Image credit: Josh Stevens / NASA Earth Observatory

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 นาซาได้รายงานถึงการลดลงของกิจกรรมทางธุรกิจ อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่งนับตั้งแต่มีการระบาดของโคโรนาไวรัสที่ได้ก่อให้เกิดการลดลงของระดับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเหนือจีนแผ่นดินใหญ่ แต่นักวิจัยระบุว่า การลดลงที่สามารถวัดได้ของมลพิษตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้นทันทีทันใดทั้งประเทศ

ในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักข่าวต่างๆ รายงานข่าวว่า มลพิษทางอากาศในระดับที่เป้นอันตรายต่อสุขภาพในกรุงปักกิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากมลพิษPM 2.5 จากรายงานที่นำเสนอใน South China Morning Post “กระแสลมอ่อน ความชื้นสูงและการผกผันของอุณหภูมิส่งผลให้มลพิษทางอากาศกักตัวอยู่ในเมือง” ดาวเทียมของ NASA ยังแสดงให้เห็นถึงปริมาณละอองลอย(aerosols)ในระดับสูง

นอกจากละอองลอย สภาพอากาศยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าคุณภาพอากาศจะเป็นอย่างไร Fei Liu นักวิจัยของ NASA/USRA บอกว่า แบบแผนของลมและความสูงของชั้นบรรยากาศผิวโลก(the planetary boundary layer) ซึ่งคือแนวบรรยากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกที่สุดของชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์(troposphere) คือปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีความสำคัญ ความสูงชองชั้นบรรยากาศผิวโลก จะส่งให้ผลให้มลพิษทางอากาศรวมตัวกันในแนวดิ่งในลักษณะใด จากนั้นสารมลพิษจะเคลื่อนตัวสูงขึ้นไปและความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศจะรวมตัวกันใกล้พื้นผิว (หรือในทางตรงกันข้าม) อย่างไร Liu และทีมงานกำลังศึกษาว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในสภาวะปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาดังกล่าวในช่วงก่อนและหลังมาตรการปิดเมืองอย่างไร

2. ถนนและการคมนาคมขนส่งโล่งขึ้นในช่วงมาตรการปิดเมือง

การจราจรบนท้องถนนที่ดล่งขึ้นบริเวณสถานีรถไฟนครอูฮั่นในช่วงมาตรการปิดเมือง Image credit: Planet Labs Inc.

ไม่แปลกใจเลยว่าการจราจรบนถนนในเมืองหลักของจีนจะโล่งขึ้นจากการที่คนจำนวนมากต้องกักตัวอยู่ในบ้านและระบบขนส่งสาธารณะต้องปิดตัวลง ภาพถ่ายดาวเทียมของ Planet Labs จับภาพ การจรจาจรที่ลดลงและลานจอดรถที่ว่างเปล่าใกล้สถานรถไฟและสนามบิน รถไฟหยุดเดินรถราวๆ วันที่ 22 มกราคม ในช่วงมาตรการปิดเมืองช่วงแรกเริ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2562 สายการบินในประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 2563 นี้ลดลง ร้อยละ 60 ถึง 70

Bridge traffic disappeared during the quarantine. Image credit: Planet Labs Inc.

3. กิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่ใช้ถ่านหินและน้ำมันลดลงส่งผลให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงด้วย

รายงานของ Carbon Brief ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมหลักในจีนดำเนินการในระดับต่ำกว่าปกติในช่วงมาตรการกักตัว เช่น โรงกลั่นน้ำมันในมณฑลกวางตุ้งมีระดับการผลิตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 การใช้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าก็ต่ำในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ย ผลคือการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำลงร้อยละ 25 ในช่วงตรุษจีนเมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2562 แต่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในช่วงสองสัปดาห์นั้นทำให้ลดปริมาณการปล่อยในภาพรวมลงได้เพียงประมาณร้อยละ 1

Image credit: Carbon Brief

4. ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าเถ้าจากการเผาศพทำให้ให้ระดับซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 แผนที่ ที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ใกล้กับนครอู่ฮั่น บางสำนักข่าวคาดการณ์อย่างตีขลุมไปว่ามาจากการเพิ่มขึ้นของการเผาศพมนุษย์

ภาพดังกล่าวมาจากข้อมูล GEOS earth system model ของนาซาและไม่ได้ใช้การสังเกตตามเวลาจริง Arlindo da Silva จากองค์การนาซาอธิบายว่า ใน GEOS model ความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ประเมินจากแหล่งกำเนิดในช่วงเวลาที่ผ่านมา และเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกโดยกระแสลมวนในชั้นบรรยากาศโลก ดังนั้น แบบจำลอง GEOS model ไม่ได้รวมความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใดของกิจกรรมมนุษย์ (เช่น มาตรการปิดเมิองและกักตัวอยู่บ้าน) ที่สำคัญ ผลของแบบจำลองไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์ในกรณีนี้

สุดท้าย ข้อมูลจาก Snopes การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)นั้นเกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ถ่านหิน—ไม่ได้มาจาการเผาศพมนุษย์