🙀🙀🙀🙀กฏหมายโลกร้อนที่จะเอื้อประโยชน์ต่อ สผ. ในฐานะกลุ่มอีลิทด้านสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายอุตสาหกรรมฟอสซิล🦖🦖🦖🦖

แนวคิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในการผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พรบ.โลกร้อน โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กำลังเป็นจริงจากการให้สัมภาษณ์ของ รอง เลขา สผ. เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น

นี่เท่ากับว่าแผนการปฏิรูปประเทศด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่กำหนดไว้ว่าภายในปี 2563 ประเทศไทยจะต้องมีร่างแรกของ พ.ร.บ.โลกร้อน รวมถึงการมีอนุบัญญัติต่างๆ กำลังเร่งความเร็วขึ้น

ถามว่า พรบ.โลกร้อน จะเป็นประโยชน์กับประชาชนตาดำๆอย่างเราๆ ไหม คำตอบคือ “ยากมาก”

คิดดูว่า สผ. ซึ่งเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันในการร่าง กม. เป็นหน่วยงานรัฐที่สร้างปัญหาให้กับประชาชนมากที่สุดเมื่อพูดถึงกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(และสุขภาพ)ของโครงการของรัฐและเอกชนต่างๆ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โครงการเขื่อน โครงการสัมปทานปิโตรเลียม เป็นต้น การรับฟังความคิดเห็น กระบวนการของผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ชุมชนท้องถิ่นที่ใช้ทรัพยากรจากป่า/ที่ดินต้องเผชิญกับ “คดีโลกร้อน” ที่ไม่เป็นธรรม

การร่างและออกกฎหมายจากกลุ่มชนชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง สผ. ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชนชั้น สผ. และเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่/อุตสาหกรรมฟอสซิลที่พวกเขามีสายสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด

นี่คือข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น กม โลกร้อนครับ https://drive.google.com/file/d/13TRrvreVHbqDKHH0DnbR5Ku283qLAaw3/view