September 14 – 16, 2020

ในเดือนกันยายน 2563 ไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ ทำให้กลุ่มฝุ่นควันไฟยกตัวขึ้นสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ อิทธิพลของกระแสลมบนพัดพาให้ฝุ่นลอยจากตะวันตกไปตะวันออก ดาวเทียมต่างๆ ทำการติดตามฝุ่นควันไฟป่าเมื่อมันแพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ อันตรายที่สอง พายุหมุนเขตร้อน(Tropical cyclones)—ก็ช่วยการกระจายตัวของฝุ่นควันที่ลอยตัวในระดับสูง ในขณะที่พายุเคลื่อนตัวอยู่เหนือตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ(ของสหรัฐ) ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน

ภาพชุดด้านบนแสดงความเข้มข้นและการกระจายตัวของ black carbon ซึ่งเป้นละอองลอย(aerosol) ที่พบในควันไฟป่าโดยที่มันฝ่าขึ้นไปจนถึงชั้นกระแสลมกรด(jet stream winds) กระจายทั่วทั้งสหรัฐ ข้อมูล black carbon มาจากแบบจำลอง GEOS forward processing (GEOS-FP) ที่รวบรวมมาจากดาวเทียม ยานบินและระบบการสังเกตการณ์ภาคพื้นดิน ส่วนเครื่องมือ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียม NOAA-NASA Suomi NPP จะบันทึกภาพของพายุ

เมื่อพายุเฮอร์ริเคน Paulette ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกในวันที่ 14 กันยายน การหมุนตัวของพายุช่วยให้ท้องฟ้าบริเวณโดยรอบปลอดโปร่ง ในวันที่ 15 กันยายน ฝุ่นควันไฟป่าเริ่มเคลื่อนตัวมาถึงขอบด้านนอกของพายุ Paulette จนถึงวันที่ 16 กันยายน พายุ Paulette เคลื่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้กับ Newfoundland เปิดทางให้ฝุ่นขยายออกไปทางตะวันออก

ภาพชุดด้านบนที่แสดงถึงการกระจายตัวของฝุ่นควันไฟป่าเกือบทั่วทั้งสหรัฐฯ นี้ไม่ได้หมายถึงว่า มันจะมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในระดับพื้นดินเท่ากันทั้งหมด ในณะที่คนในรัฐแคลิฟอร์เนียและโอเรกอนที่อยู่ใกล้จุดการเกิดไฟป่าได้รับผลกระทบหนัก คุณภาพอากาศระดับพื้นผิวในพื้นที่ทางตะวันออกของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้เนื่องจากฝุ่นควันลอยและเคลื่อนตัวสูงในบรรยากาศ

อ้างอิงจาก NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using GEOS-5 data from the Global Modeling and Assimilation Office at NASA GSFC and VIIRS data from NASA EOSDIS/LANCE and GIBS/Worldview and the Suomi National Polar-orbiting Partnership. Story by Adam Voiland.

แหล่งที่มาข้อมูล