บทความเรื่อง “โลกที่กำลังถูกเผาผลาญ ทำไมเราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับไฟ” นี้เขียนโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ Stephen J. Pyne แห่ง Arizona State University ท่านเขียนหนังสือเกี่ยวกับไฟไว้หลายเล่ม รวมถึงหนังสือชื่อ Between Two Fires: A Fire History of Contemporary America and To the Last Smoke

Stephen J. Pyne พูดถึงความย้อนแย้งไว้ 3 ประการด้วยกันครับ

ประการแรก – เราพยายามมากที่จะไม่ให้เกิดไฟ ไฟซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการร่วมหรือการมีอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งในระบบนิเวศ การทำไม่ให้เกิดไฟมันได้สร้างเงื่อนไขให้การเกิดไฟรุนแรงขึ้น ชีวมณฑลเสื่อมลง เชื้อไฟถูกอัพเกรดขึ้น ไฟเริ่มควบคุมได้ยากขึ้น เมื่อไฟที่ดีหายไปก็เหลืออยู่แต่ไฟที่เลว

ประการที่สอง อันนี้โคตรย้อนแย้งเลย คือ แม้ว่า เปลวไฟจะดุเดือดรุนแรง และกลายเป็นข่าวที่เห็นกันทั่วโลก แต่จำนวนพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้บนโลกลดลง

A tally of actively burning fires — both natural and human-caused — across the globe from 2000-2019. Credit: NASA
The total area burned globally each year dropped 25 percent between 2003 and 2019. NASA

ข้อนี้ผู้เขียนอธิบายยาวและเป็นวิชาการ สิ่งแรกที่ Stephen J. Pyne ระบุนั้นอ้างอิงมาจากข้อมูลดาวเทียมที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกในช่วงเวลาหลายสิบปี และพื้นที่เผาไหม้ที่ลดลงนั้นอยู่ในพื้นที่เกษตรแบบดั้งเดิม ในบ้านเราก็คือไร่หมุนเวียน

พูดง่ายๆ ก็คือ “ไฟที่ดี” ลดลง “ไฟที่ล้างผลาญรุนแรง” เพิ่มขึ้น ไม่แปลกครับ เราได้เห็นการแย่งชิงทรัพยากรที่ดิน การขยายตัวของเกษตรเชิงเดี่ยว(ที่อาศัยนามของคนยากจนเข้าไปแผ้วถางผืนป่าเพื่อบิ๊กเนมอุตสาหกรรมเกษตร) การทำเหมืองแร่ การขุดเจาะปิโตรเลียมในภาคพื้นดิน เหล่านี้คือเหตุของการปะทุของ “ไฟที่เลว(bad fire)”

ประการสุดท้าย แม้ว่าอารยธรรมมนุษย์จะสามารถยุติยุคเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร้อยปีก่อน ไปสู่ยุคที่เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่อยู่ในสมดุลได้แล้วก็ตาม สังคมมนุษย์ยังจะต้องรักษา “ไฟดี(good fire)” ให้อยู่ในภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ รักษาสมดุล ดิน น้ำ ลม ไฟ ในระบบนิเวศ

อาจารย์ Stephen J. Pyne เป็นฝรั่งตะวันตก นำเสนอผ่านการทำงานวิชาการแบบเชิงประจักษ์(empirical study) ยังเสนอให้ประยุกต์ภูมิปัญญาโบราณ นั่นคือ การเรียนรู้ที่จะอยู่กับไฟ แกปิดท้ายบทความของแกว่า

“We have a lot of fire coming at us. We can fight it and lose. Or we can renew our ancient alliance and turn what has become an implacable enemy back into an indispensable friend. That is not a paradox peculiar to our new age of fire. But it is one, it seems, we must continually relearn.”

“เราต้องเจอกับไฟอีกมาก เราต่อกรและแพ้พ่าย หรือเราสามารถรื้อฟื้นแนวร่วมโบราณของเราและเปลี่ยนศัตรูที่ไร้ความปราณีให้เป็นมิตรที่มีความสำคัญ แยกจากกันมิได้ นี่มิใช่ความย้อนแย้งที่แปลกแยกต่อยุคแห่งไฟยุคใหม่ แต่คือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างต่อเนื่อง”

ที่มา : https://e360.yale.edu/features/our-burning-planet-why-we-must-learn-to-live-with-fire?fbclid=IwAR1rTKuEfEwTRzKFEEodbJH6IFSSaYsSC_lnGDOMBoc350jauVluZ4AiLiA