
ความสนใจเรื่องวิกฤตพลาสติกในมหาสมุทรของผมเริ่มจากการที่ SoulBuffalo องค์กรของเราได้จัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยพลาสติกในมหาสมุทรซึ่งมีทั้งนักเคลื่อนไหวและภาคอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 2019 ลองนึกภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาวุโส 165 คนจากโคคา-โคลา(Coca-Cola), ดาวน์ เคมิคอล(Dow), กรีนพีซ(Greenpeace), สภาอุตสาหกรรมเคมีแห่งสหรัฐอเมริกา(American Chemistry Council), ธนาคารโลก(WB), กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) และตัวแทนของกลุ่มผู้คัดแยกขยะนอกระบบ( 15 ล้านคนทั่วโลก) มาอยู่ด้วยกันบนเรือ ณ ใจกลางแพขยะแอตแลนติกเป็นเวลา 4 วัน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้มีกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ภารกิจของผมคือนำพวกเขามารวมกัน ณ ที่ใจกลางของวิกฤตเพื่อจุดชนวนความสัมพันธ์ใหม่และเร่งลงมือปฏิบัติ เราดำน้ำตื้นด้วยกันในทะเลพลาสติก และเป็นเจ้าภาพการสนทนาที่ขยายขอบเขตออกไประหว่างผู้นำที่ปกติแล้วจะไม่ได้นั่งในห้องประชุมเดียวกัน
เราเห็นความย้อนแย้งของพลาสติกอย่างใกล้ชิด เป็นวัสดุที่น่าพิศวงส่วนหนึ่ง การทำลายสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง การที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง พลาสติกถนอมอาหารไม่เหมือนวัสดุอื่น ถึงกระนั้น พลาสติกแตกออกเป็นไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกซึ่งปัจจุบันสามารถพบได้ทุกหนทุกแห่งบนโลกตั้งแต่มหาสมุทรที่ลึกที่สุดไปจนถึงร่างกายของเราเอง
ทุกๆ วัน พลาสติกหลุดออกสู่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเราในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน เปรียบดังรถบรรทุก 1 คัน ทิ้งขยะพลาสติกทุกๆ นาทีลงในมหาสมุทร ดังที่ผมเขียนลงใน Scientific American ฉบับเดือนสิงหาคม โรคระบาดยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง หน้ากากที่ผลิตออกมาในแต่ละปีนั้นเพียงพอจะนำมาต่อกันเพื่อครอบคลุมสวิตเซอร์แลนด์ได้ทั้งประเทศ
เผชิญหน้ากับความเป็นจริงนี้ร่วมกันในเขตแพขยะแห่งแอตแลนติก(Atlantic Garbage Patch) ได้สร้างสะพานเชื่อมระหว่างอุตสาหกรรมพลาสติกและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม แนวคิด 5 ประการจากเวิร์กช็อบในระหว่างการประชุมสุดยอดนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และเริ่มดำเนินการแล้ว (รวมถึงคณะทำงานด้านปฏิบัติการของคนเก็บขยะพลาสติก) การประชุมสุดยอดก่อให้เกิดผลสะเทือนอย่างยิ่ง แต่วิกฤตมลพิษพลาสติกยังห่างไกลจากการหาทางออก มีความชัดเจนว่า เราจำเป็นต้องยกเครื่องทั้งหมดของระบบที่ล่มสลายเพื่อจัดการขยะ ฉันทามติคือว่า วิธีที่ได้ผลที่สุดจะทำโดยผ่านสนธิสัญญาระดับโลกของสหประชาชาติว่าด้วยพลาสติก(a U.N. Global Treaty on Plastics) ในการประชุมครั้งที่ 5 ของสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEA-5) สหประชาชาติจะตัดสินใจว่าจะเดินหน้าสนธิสัญญาหรือไม่
การก่อเกิด เครือข่ายผู้นำว่าด้วยพลาสติกมหาสมุทรที่มีสมาชิกรวม 70 คนซึ่งเป็นเครือข่ายระหว่างนักเคลื่อนไหว-ภาคอุตสาหกรรมที่ประสงค์จะต่อกรกับวิกฤตพลาสติก บนเรือกลางมหาสมุทรแอตแลนติก นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุ “ความตกลงปารีส” สำหรับพลาสติก
ขณะนี้ เรากำลังดำเนินการจัดทำบทสนทนาบนออนไลน์แพลทฟอร์มตลอดทั้งปีซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจของ UNEA5 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ว่าจะพัฒนาสนธิสัญญาพลาสติกระดับโลกหรือไม่ บทบาทของเราคือการจัดวางโครงร่างฉันทามติระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญเพื่อเร่งทำสนธิสัญญาพลาสติก
ตามธรรมเนียม การเจรจาว่าด้วยสนธิสัญญาระดับโลกเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตพลาสติกทั่วโลกมีจำนวนวนมหาศาลจะเพิ่มความซับซ้อนของงานให้มากขึ้นไปอีก
ในบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับข้อตกลงระดับโลกใหม่เกี่ยวกับมลพิษพลาสติก คือ รัฐบาล 193 ประเทศที่ได้รับรองโดยสหประชาชาติ บริษัทนับพันแห่งที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก กลุ่มการค้าและผู้สนับสนุน นักกิจกรรมเคลื่อนไหว และองค์กรสาธารณะกุศลที่ตั้งโดยภาคอุตสาหกรรม กลุ่มผู้เก็บขยะในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเก็บพลาสติกจากหลุมฝังกลบและพื้นที่ชายฝั่งต่างๆ และผู้บริโภคเจ็ดพันล้านคนที่รีไซเคิลพลาสติกโดยเฉลี่ย 14 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณพลาสติกทั้งหมดที่พวกเขาบริโภค
เราไม่ได้หลอกตัวเองถึงขอบเขตของความท้าทายนี้ เราต้องสร้างเวทีที่ปลอดภัยสำหรับการสนทนาที่ยากลำบากที่จะเกิดขึ้นท่ามกลางกลุ่มที่กว้างขวางและหลากหลายนี้ล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพื่อแจ้งให้คณะเจรจาที่สหประชาชาติทราบและช่วยผลักดันสนธิสัญญาให้คืบหน้า ในคำพูดของนักการทูตชาวคอสตาริกา Christiana Figueres ผู้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการบรรลุความตกลงปารีสเราต้อง “การมองโลกในแง่ดีอย่างไม่หยุดยั้ง” ควบคู่ไปกับ “การร่วมมือกันอย่างถึงรากถึงโคน”
แม้จะมีความซับซ้อนดังกล่าวนี้ เราเชื่อว่าข้อตกลงระดับโลกจะต้องบรรลุอย่างมีความหมาย และจะต้องทำให้มันเกิดขึ้นเร็วกว่าสนธิสัญญาใดๆ มีเหตุผลสำหรับการมองโลกในแง่ดี ในปี 1988 องค์การทางทะเลระหว่างประเทศให้สัตยาบันข้อตกลงระดับโลกที่ชื่อว่า MARPOL Annex V ทำให้เรือที่ทิ้งพลาสติกในมหาสมุทรไม่ว่าที่ใดในโลกนั้นผิดกฎหมาย และยังคงมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า มีแบบอย่างสำหรับข้อตกลงระดับโลกในการปกป้องมหาสมุทรของเรา
บรรดาประเทศในทะเลแคริบเบียน ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก และรัฐในหมู่เกาะแปซิฟิกได้เรียกร้องให้มีข้อตกลงระดับโลกฉบับใหม่ 68 ประเทศได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับสนธิสัญญาพลาสติก เช่นเดียวกับประเทศในแอฟริกาและสหภาพยุโรป แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะนิ่งเฉยในเรื่องนี้ แต่กระแสของการสนับสนุนจากทั่วโลกก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี
ในเดือนพฤศจิกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักรได้ประกาศถึงเวลาที่จะเริ่มเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกแล้ว “ตอนนี้เรามีโอกาสที่จะจัดการกับมลพิษจากพลาสติกในแบบที่ความตกลงปารีสทำไว้สำหรับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ” Lord Zac Goldsmith กล่าว นอกจากนี้ ยังมีความหวังทั่วชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมว่าการบริหารงานของประธานาธิบดี Biden ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งจะเป็นพลังที่มีความหมายต่อสนธิสัญญาพลาสติกเช่นเดียวกับที่รัฐบาลยุคโอบามามุ่งเน้นไปที่สภาพภูมิอากาศ
รายงานสำคัญที่เผยแพร่ในปี 2020 จากภาคอุตสาหกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน และรัฐบาลยังให้ร่างแผนการที่เป็นประโยชน์สำหรับพื้นฐานการอภิปราย กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก(WWF) มูลนิธิ Ellen MacArthur และ Boston Consulting Group ได้วางแผนธุรกิจสำหรับสนธิสัญญาระดับโลก และบริษัทยักษ์ใหญ่ 30 แห่งได้ลงนามใน “ข้อเรียกร้องทางธุรกิจสำหรับสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยมลพิษพลาสติก” พวกเขาเรียกร้องให้คนอื่น ๆ เข้าร่วมในการสนับสนุนการตอบสนองระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับธุรกิจและรัฐบาลและเสนอแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการกับวิกฤตพลาสติก
กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมยังให้การสนับสนุนสนธิสัญญาพลาสติกในรายงานของศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สำนักงานสืบสวนสิ่งแวดล้อม และ GAIA (Global Alliance for Incinerator Alternatives) รายงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก Break Free from Plastic และกรีนพีซ ในที่สุด เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของนอร์ดิกได้เปิดตัวรายงาน 148 หน้าซึ่งให้กรอบคำแนะนำและการจัดวางตำแหน่งแห่งที่สำหรับสนธิสัญญาในอนาคต
รายงานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีการจัดเรียบเรียงในประเด็นพื้นฐานบางประการแล้ว ประการแรก พวกเขาทั้งหมดเรียกร้องให้มีการรายงานที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับพลาสติกตลอดวงจรชีวิต ทำให้สามารถอธิบายทุกสิ่งที่เกิดขึ้นและวิธีการจัดการ สิ่งนี้ต้องการการกำหนดมาตรฐานของข้อกำหนดสำหรับทุกสิ่งที่เป็นพลาสติก ดังนั้น ภูมิภาคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงพูดภาษาเดียวกัน
ประการที่สอง รายงานทั้งหมดแนะนำแผนปฏิบัติการระดับชาติโดยแต่ละประเทศกำหนดแผนการจัดการขยะตามข้อกำหนดขั้นต่ำ เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ที่ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความตกลงปารีส ในที่สุด รายงานต่างๆ เห็นว่าคณะกรรมการทางวิทยาศาสตร์ควรติดตามความคืบหน้าทั่วโลก และกลไกทางการเงินจะต้องสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาและกระจายเงินเงินทุน
ในขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น สมาชิกของ OPLN กรีนพีซ) และกลุ่มอุตสาหกรรม (เช่นสมาชิกของ OPLN สมาชิกของ American Chemistry Council) อาจเห็นด้วยกับโครงร่างพื้นฐานบางประการของข้อตกลงระดับโลก แต่ก็ยังมีประเด็นที่ท้าทายในการแก้ไข
กลุ่มสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้มีเป้าหมายในการลดพลาสติกและกลไกที่บังคับใช้ได้ในสนธิสัญญา ตลอดจนข้อจำกัดในการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่
ในขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมหลายกลุ่มเชื่อว่า สนธิสัญญาสามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องมีเป้าหมายในการลด การบังคับ และเน้นย้ำอย่างมากถึงการขยายตัวของการรีไซเคิลขั้นสูงหรือเทคโนโลยีรีไซเคิลทางเคมี กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มมองว่า แบบจำลองการรีไซเคิลขั้นสูงเป็นใบอนุญาตเพื่อดำเนินการต่อกับสถานะที่เป็นอยู่ของการบริโภคที่ล้นเกิน
รายงานสำคัญจาก Pew Charitable Trusts, SYSTEMIQ และพันธมิตรทางวิชาการต่างๆ ชื่อ “Breaking the Plastic Wave” ชี้ให้เห็นถึงหนทางที่จะช่วยเชื่อมความแตกต่างนี้ : เราจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต้นน้ำทั้งสองอย่าง เช่น เป้าหมายการลดที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสิ่งแวดล้อม และโซลูชันขั้นปลายที่ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรม รวมถึงการแก้ไขระบบรีไซเคิลเชิงกลที่ใช้งานไม่ได้ของเราและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ
การเชื่อมต่อความแตกต่างนี้จะใช้เวลานานเท่าใด? เส้นทางสู่ความตกลงปารีสเริ่มต้นขึ้นจริงในปี พ.ศ.2534 โดยมีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและต่อด้วยพิธีสารเกียวโตในปี พ.ศ.2540 และการประชุมที่ล้มเหลวในโคเปนเฮเกนในปี พ.ศ.2552 ในที่สุด ความตกลงปารีสได้รับการลงนามในปี พ.ศ.2559 เป็นเวลา 25 ปีหลังจากที่กรอบการเจรจาแรกได้เห็นชอบร่วมกัน
พิธีสารมอนทรีออลซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูชั้นโอโซนได้รับการลงนามในปี พ.ศ.2530 14 ปีหลังจาก CFCs ถูกกำหนดว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตราย เป็นกระบวนการที่เร่งให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานของสหประชาชาติ สนธิสัญญาทะเลหลวงเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในน่านน้ำสากลอยู่ระหว่างการหารือเป็นเวลา 12 ปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีแบบอย่างของกรอบเวลาที่รวดเร็วมากขึ้น หากความท้าทายคือพลาสติก ข้อแก้ไขเพิ่มเติมของอนุสัญญาบาเซลรวมขยะพลาสติกไว้ในกรอบที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อให้การค้าขยะพลาสติกทั่วโลกมีความโปร่งใสและมีการควบคุมที่ดีขึ้น นี่เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญและช่วงเวลาระหว่างข้อเสนอแรกและการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ของรัฐบาลนั้นเป็นเวลาเพียง 8 เดือน ก่อนหน้านี้ เป็นกรอบเวลาที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในการเจรจาความตกลงพหุพาคีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
รายงานต่างๆ เช่น “Breaking the Plastic Wave” บอกว่าเราหมดเวลาแล้ว เราต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งต้นน้ำและปลายน้ำอย่างรวดเร็วเพื่อให้มีโอกาสแก้ไขวิกฤตนี้ หากเราชะลอการปฏิบัติการที่จริงจังออกไปเพียง 5 ปี และยังคงไว้ซึ่งมาตรการของรัฐบาลและอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันพลาสติกอีก 80 ล้านเมตริกตันจะจบลงในมหาสมุทรภายในปี พ.ศ.2583 (หรือประมาณครึ่งหนึ่งของพลาสติกทั้งหมดที่สะสมตั้งแต่เริ่มต้นยุคพลาสติกจนถึงปัจจุบัน)
การป้องกันหายนะต่อระบบนิเวศในมหาสมุทร สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ จำเป็นต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการสนทนาระหว่างกลุ่มสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมในขณะนี้ หนทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า คือ ฝ่าฝันสิ่งกีดขวางด้วยความเชื่อว่า การถกเถียงอย่างตึงเครียดหมายถึงความก้าวหน้า และทุกฝ่ายไม่ว่าจะมุมมองและแนวทางใดควรมีที่นั่งในการประชุม
หากเรากล้าพอที่จะมีการสนทนาเหล่านั้น เราก็มีเหตุผลที่จะต้องมองโลกในแง่ดีอย่างไม่ลดละว่าสนธิสัญญาพลาสติก(Global Plastic Treaty)ที่มุ่งมั่นที่สอดคล้องกับขนาดและความเร่งด่วนของความท้าทายนั้น จะเกิดขึ้นในกรอบเวลาที่โลกต้องบันทึกไว้
ที่มา – แปลเรียบเรียงจาก https://www.scientificamerican.com/article/we-need-a-paris-agreement-for-plastics/ โดย Dave Ford
Dave Ford เป็นผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วนของ SoulBuffal เขาเชี่ยวชาญในการรวบรวมนักกิจกรรมเคลื่อนไหวและผู้นำในอุตสาหกรรมมาพบปะกันในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เขาเป็นหัวหอกในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านพลาสติกในมหาสมุทรของ SoulBuffalo ในเดือนพฤษภาคมปี 2019 ซึ่งนำผู้นำองค์กรและองค์กรพัฒนาเอกชน 165 คน ไปยังใจกลางของแพขยะแห่งแอตแลนติก(Atlantic Garbage Patch) ซึ่งนำไปสู่การสร้างเครือข่ายผู้นำด้านพลาสติกในมหาสมุทร (OPLN)