
จากการรายงานของ Asahi Shimbun หน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเพิ่งเปิดเผยระดับรังสีที่พบภายในอาคารเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima หมายเลข 1 นั้น“ สูงมาก” และแย่กว่าที่เคยคิดไว้
รายงานข่าวระบุว่า “ระดับรังสีอยุ่ที่ประมาณ 10 ซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นระดับที่ร้ายแรงสำหรับทุกคนที่ใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงในอาณาบริเวณใกล้เคียง”
จากข้อมูลของหน่วยงานกำกับดูแลนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (NRA) ยังมีวัสดุกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาลติดอยู่ที่ shield plugs ของโอ่งบรรจุ(containment vessel) เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และหมายเลข 3
การค้นพบนี้ถือเป็นปัญหาที่ “ร้ายแรงมาก” ต่อกระบวนการปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่ง NRA มีความพยายามที่จะทำให้เกิดในบริเวณโรงไฟฟ้าโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะโดยรวม
นาย Toyoshi Fuketa ประธาน NRA กล่าวในงานแถลงข่าวว่า “ดูเหมือนว่าจะยังเศษซากนิวเคลียร์จะอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ “ยากเป็นพิเศษ” สำหรับคนงานในการเคลื่อนย้าย shield plugs ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรื้อถอนตามแผน
และจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการทั้งหมดของการปลดระวาง และทำให้ NRA ต้องประเมินแผนงานอีกครั้ง”
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หมายเลข 1 ที่ฟูกูชิมะประสบกับการหลอมละลาย 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 อันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวและสึนามิในพื้นที่โดยรอบ ในระหว่างการหลอมละลาย จากที่ Asahi Shimbun รายงาน “shield plug ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 หลุดออกและได้รับความเสียหายจากการระเบิดของไฮโดรเจนที่เกิดขึ้น ณ อาคารเตาปฏิกรณ์” สารกัมมันตภาพรังสีปริมาณมหาศาลรั่วไหลออกจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ผ่าน shield plug ที่ยึดกับโครงสร้างและได้รับความเสียหาย
การย้ายเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ประมาณ 800 ตันในเตาปฏิกรณ์ 3 เครื่องที่หลอมละลายซึ่งไหลออกมาจากแกนกลางและแข็งตัวที่ด้านล่างของโอ่งบรรจุหลัก(main vessel) นั้นเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุดสำหรับ NRA ตลอดกระบวนการปลดระวางโรงไฟฟ้า
บริษัท Tokyo Electric Power Co. (TEPCO) พร้อมด้วยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ได้วางแผนที่จะเริ่มนำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมละลายชุดแรกออกจากเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 2 ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม TEPCO และ METI ประกาศเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา จะเลื่อนออกไปจนถึงปี 2565 หรือหลังจากนั้น เนื่องจากความล่าช้าในการพัฒนาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงาน หน่วยงานหลายแห่งอ้างถึงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าของแขนหุ่นยนต์ที่ต้องนำมาใช้ในการย้ายเศษเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการพัฒนาร่วมกันในอังกฤษโดย Veolia Nuclear Solutions และ Mitsubishi Heavy Industries
จากรายงานของ Associated Press นาย Shuji Okuda เจ้าหน้าที่ของ METI ที่รับผิดชอบการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กกล่าวว่า “การทดสอบที่จำเป็นนั้นต้องล่าช้าออกไป และตอนแรก คาดว่าจะมีการส่งมอบแขนหุ่นยนต์ในเดือนมกราคม [2021] และต่อมาคาดว่าเป็นเดือนเมษายน [2021]”
แปลเรียบเรียงจาก https://www.breitbart.com/asia/2021/01/01/japan-radiation-levels-fukushima-plant-worse-previously-thought/ เขียนโดย GABRIELLE REYES (1 Jan 2021)