การเปลี่ยนแปลงความเหมาะสมของสภาพอากาศสำหรับโรคติดเชื้อ เส้นทึบแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงต่อปี เส้นประแสดงถึงแนวโน้มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 (สำหรับไข้เลือดออกและมาลาเรีย) และ พ.ศ. 2525 (สำหรับแบคทีเรีย Vibrio) ที่มา : https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)32290-X/fulltext

จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2564 รายงานของ WHO ระบุ การระบาดของ COVID-19 แพร่กระจายไปยัง 217 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยยืนยันแล้วมากกว่า 85,091,012 รายและมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,861,005 ราย ขนาดและขอบเขตของความทุกข์ยากและการสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจจะยังคงขยายเพิ่มขึ้นอีกต่อไป โดยผลกระทบของการระบาดที่น่าจะเกิดต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า [1]

มีการวิเคราะห์และอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อที่มีอยู่เดิมและโรคติดเชื้อใหม่ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลง การทำลายผืนป่าและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน  และสุขภาพสัตว์มานานแล้ว  ทั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศและ COVID-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในและระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น [2] [3] [4]

ผลโดยตรงจากการระบาดของโรค คาดว่าจะมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 8% ในปี 2563 ซึ่งจะเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 1 ปีเป็นประวัติการณ์ [5] ที่สำคัญ การลดลงนี้ไม่ได้สะท้อนถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวที่จำเป็นในการตอบสนองต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เป็นเพียงการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ในทำนองเดียวกัน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 1.4% จากผลของวิกฤตการเงินโลกในปี 2551 ตามมาด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 5.9% ในปี 2553 ในทำนองเดียวกัน การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันจะไม่ยั่งยืน  โดยที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใดๆ จะไม่เพียงพออันเป็นผลมาจากการละเลยถึงนโยบายที่มีความมุ่งมั่นในการบรรเทาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ  แต่เราไม่จำเป็นต้องไปในเส้นทางนี้ [5] ในอีก 5 ปีข้างหน้า การลงทุนทางการเงิน สังคม และการเมืองจำนวนมากจะต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อปกป้องผู้คนและระบบสุขภาพจากผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของ COVID-19 เพื่อเริ่มต้นใหม่และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศและชุมชนในแนวทางที่เตรียมรับแรงกระแทกทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขในอนาคต  การใช้ประโยชน์ร่วมด้านสุขภาพของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จะรับรองถึงความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของความพยายามเหล่านี้ ในขณะเดียวกัน ก็จัดให้มีกรอบการทำงานที่ส่งเสริมการลงทุนในชุมชนท้องถิ่นและระบบสุขภาพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อต่อกรกับความท้าทายด้านสุขภาพที่มีอยู่ [6]

อัตราการเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนต่อปีของประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2557-2561 ที่มา : https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)32290-X/fulltext

มีตัวอย่างมากมายที่พร้อมใช้งานในการจัดเรียงแนวทางดังกล่าวนี้ขึ้นใหม่ เช่น ความคล้ายคลึงกันระหว่างการเตรียมความพร้อมต่อการระบาดของโรคในอนาคต และการปรับตัวด้านสุขภาพจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ [7] ในการปรับตัวด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนอย่างลึกซึ้งจำเป็นต้องประยุกต์หลักการความยืดหยุ่น ความแข็งแกร่ง การลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และความเท่าเทียมในการชี้นำการตัดสินใจ [8] ในระดับที่กว้างขึ้น การลดความยากจนและการเสริมสร้างระบบสุขภาพจะช่วยกระตุ้นและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการขยายคามสามารถในการฟื้นคืนของชุมชนจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ [9]

ในส่วนของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้ายมากขึ้นเรื่อย ๆ และราคาน้ำมันก็แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลคาดว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าภาคอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน [5] หากดำเนินการด้วยความรอบคอบและมีการปกป้องคุ้มครองที่เพียงพอสำหรับคนงาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะต้องจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนระบบพลังงานที่ดีต่อสุขภาพและสะอาดกว่า การรับมือกับ COVID-19 กระตุ้นให้เกิดการคิดใหม่ในเรื่องขนาดและจังหวะก้าวของความมุ่งมั่น ระบบสุขภาพได้ปรับโครงสร้างการบริการในชั่วข้ามคืนเพื่อดำเนินการดูแลเบื้องต้นและการนัดหมายผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์หลายล้านครั้ง และการเปลี่ยนไปใช้งานออนไลน์และการประชุมออนไลน์อย่างทันทีทันใด ทำให้การลงทุนปรับไปสู่โครงสร้างพื้นฐานของระบบการสื่อสารแทนที่การบินและการขนส่งทางถนน [10] [11] การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการตรวจสอบ ปรับปรุงและคงไว้ในปีต่อๆ ไป

จำนวนบทความเฉลี่ยรายเดือนที่รายงานประเด็นวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ และวิกฤตสภาพภูมิอากาศในหนังสือพิมพ์ 61 ฉบับจาก 36 ประเทศ ระหว่างปี 2550–2562 เส้นหยักคือจำนวนบทความเฉลี่ยรายเดือนเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ และวิกฤตสภาพภูมิอากาศในหนังสือพิมพ์ 61 ฉบับเท่านั้น เส้นตรงเป็นแนวโน้มเชิงเส้นของจำนวนบทความว่าด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศโดยเฉลี่ยต่อเดือนระหว่างปี 2550-2562 ที่มา : https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)32290-X/fulltext

เป็นที่ชัดเจนว่า การศึกษาและข้อถกเถียงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นไม่เพียงพอที่จะรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ งานที่จะต้องทำคือใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อผนวกนโยบายสาธารณสุขและนโยบายสภาพภูมิอากาศเข้าด้วยกันในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม การประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ซึ่งจะมีขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักรในปลายปี 2564 นี้ คือโอกาสปัจจุบันที่มีอยู่เพื่อรับรองถึงประสิทธิภาพระยะยาวของการรับมือกับ COVID-19 โดยเชื่อมโยงมาตรการฟื้นฟูกับแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ(NDCs) ภายใต้ความตกลงปารีส ทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสาธารณสุขจะต้องไม่บั่นทอนซึ่งกันและกันให้รุนแรงขึ้นไปอีก และในระยะยาว การรับมือกับ Covid -19 และวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะประสบความสำเร็จมากที่สุดหากเดินหน้าไปด้วยกันอย่างใกล้ชิด

สรุปความจาก https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)32290-X/fulltext

อ้างอิง

  • [1] Strauss D. BoE is financing UK’s coronavirus measures, Bailey acknowledges. May 14, 2020. https://www.ft.com/content/ad63e45c- ad55-41a2-ae2e-8d550ff0ac92 (accessed May 23, 2020).
  • [2] Hopman J, Allegranzi B, Mehtar S. Managing COVID-19 in low- and middle-income countries. JAMA 2020; 323: 1549–50.
  • [3] Ji Y, Ma Z, Peppelenbosch MP, Pan Q. Potential association between COVID-19 mortality and health-care resource availability. Lancet Glob Health 2020; 8: e480.
  • [4] Raju E, Ayeb-Karlsson S. COVID-19: how do you self-isolate in a refugee camp? Int J Public Health 2020; 65: 515–17.
  • [5] International Energy Agency. Global energy review 2020. 2020. https://www.iea.org/reports/global-energy-review-2020 (accessed May 9, 2020).
  • [6] Hallegatte S, Hammer S. Thinking ahead: for a sustainable recovery from COVID-19. March 30, 2020. https://www.preventionweb.net/ news/view/71103 (accessed May 23, 2020).
  • [7] WHO. Operational framework for building climate resilient health systems. Geneva, Switzerland: World Health Organization, 2015.
  • [8] Ranger N, Reeder T, Lowe J. Addressing ‘deep’ uncertainty over long- term climate in major infrastructure projects: four innovations of the Thames Estuary 2100 Project. EURO J Decis Process 2013; 1: 233–62.
  • [9] Intergovernmental Panel on Climate Change. IPCC 2014: climate change 2014: impacts, adaptation, and vulnerability. Part A: global and sectorial aspects. Contribution of working group II to the fifth assessment report of the Intergovernmental Panel on Climate Change. In: Field CB, Barros VR, Dokken DJ, et al, eds. Cambridge, UK and New York, NY: Cambridge University Press, 2014.
  • [10] Gummer JS, King JE. Letter: building a resilient recovery from the COVID-19 crisis to Prime Minister Boris Johnson. May 6, 2020 https://www.theccc.org.uk/publication/letter-building-a-resilient- recovery-from-the-covid-19-crisis-to-prime-minister-boris-johnson/ (accessed May 23, 2020).
  • [11] National Health Service. GP online consultations. 2020. https://www.nhs.uk/using-the-nhs/nhs-services/gps/gp-online-and- video-consultations/ (accessed May 23, 2020).