ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญซึ่งคือ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) มีเทน(CH4) และไนตรัสออกไซด์(N2O) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2562 และ 2563

แถวบนด้านซ้าย : เศษส่วนโมลเฉลี่ยทั่วโลก (เป็นการวัดความเข้มข้น) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1984-2019 ของคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในส่วนต่อล้านส่วน / แถวบนกลาง : มีเทน(CH4)ในส่วนต่อพันล้านส่วน / แถวบนด้านขวา : ไนตรัสออกไซด์(N2O) ในส่วนต่อพันล้านส่วน เส้นสีแดงคือเศษส่วนของโมลเฉลี่ยรายเดือนโดยนำเอาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลออกไป จุดและเส้นสีน้ำเงินแสดงค่าเฉลี่ยรายเดือน แถวล่าง : อัตราการเติบโตที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยต่อปีของเศษส่วนโมลสำหรับคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ส่วนต่อล้านส่วนต่อปีแสดงเป็นคอลัมน์สีเทา (ซ้าย) มีเทน(CH4) ส่วนต่อพันล้านส่วนต่อปี (กลาง) และไนตรัสออกไซด์(N2O) ส่วนต่อพันล้านส่วนต่อปี (ขวา) (ที่มา: WMO Global Atmosphere Watch)

แม้ว่าจะเป็นช่วงปรากฏการณ์ลานีญา(La Niña) แต่ปี 2563 ยังเป็นหนึ่งในจำนวน 3 ปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมารวมถึงปี 2563 นั้นมีแนวโน้มจะเป็นหกปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

ความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีทั่วโลกจากก่อนยุคอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2393-2443) การวิเคราะห์ใหม่ทั้งสองแบบ (ERA5 และ JRA-55) สอดคล้องกับชุดข้อมูลจากแหล่งดั้งเดิม (HadCRUT, NOAAGlobalTemp และ GISTEMP) ในช่วงปี 2524-2553 ข้อมูลปี 2563 เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม
ความผิดปกติของอุณหภูมิเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวปี 2524-2553 จากการวิเคราะห์ใหม่โดยแบบจำลอง ERA5 ในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 เครดิต: Copernicus Climate Change Service, ECMWF

ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นตลอดการบันทึกด้วยมาตรวัดความสูง แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการละลายของพืดน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกมีเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2563 ใกล้เคียงกับปี 2562 และสอดคล้องกับแนวโน้มระยะยาว

(ซ้าย) ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกโดยใช้เครื่องวัดความสูงจากดาวเทียมสำหรับเดือนมกราคม 2536 ถึงตุลาคม 2563 (ข้อมูลล่าสุด: 13 ตุลาคม 2563) ข้อมูลจากโครงการระดับน้ำทะเลภายใต้การริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ ESA ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2536 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 (เส้นโค้งสีดำหนา) เพิ่มเติมโดย Copernicus Marine and Environment Service, CMEMS จนถึงเดือนสิงหาคม 2563 (เส้นโค้งสีน้ำเงิน) และด้วยข้อมูลเครื่องวัดความสูงแบบเรียลไทม์จากภารกิจ Jason-3 พ้นจากเดือนสิงหาคม 2563 (เส้นโค้งสีแดง) เส้นโค้งสีดำบางเป็นฟังก์ชันกำลังสองที่สอดคล้องกับข้อมูลมากที่สุด เส้นประแนวตั้งเป็นจุดเริ่มต้นของแต่ละปีในช่วงปี 2559-2564(ขวา) ความแปรปรวนระหว่างปีของ (โดยลบฟังก์ชันกำลังสองที่แสดงในกราฟด้านซ้ายออกไป) ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลก (เส้นโค้งสีน้ำเงิน) ซ้อนทับด้วยดัชนี ENSO หลายตัวแปร (เส้นโค้งสีแดง)

ระดับน้ำทะเลโลกที่ลดลงเล็กน้อยในช่วงหลังของปี 2020 มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ La Niña ซึ่งคล้ายกับการลดลงชั่วคราวที่เกี่ยวข้องปรากฏการณ์ La Niña ก่อนหน้านี้

กว่า 80% ของพื้นที่มหาสมุทรประสบกับคลื่นความร้อนทางทะเลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มหาสมุทรส่วนใหญ่พบคลื่นความร้อนทางทะเลจัดอยู่ในประเภท ‘เข้มข้น’ (43%) มากกว่า ‘ปานกลาง’ (28%)

ช่วงปี 2503-2562 รวมอนุกรมเวลาเฉลี่ยและรวมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2-sigma, แรเงา) ของความผิดปกติของปริมาณความร้อนในมหาสมุทรทั่วโลก(OHC) ที่สัมพันธ์กับภูมิอากาศปี 2548-2560 สำหรับ 0-300 เมตร (สีเทา), 0-700 เมตร (สีน้ำเงิน), 0-2000 เมตร (สีเหลือง) และชั้นความลึก 700-2000 เมตร (สีเขียว)

ปี 2562 พบว่าปริมาณความร้อนในมหาสมุทรสูงสุดเป็นประวัติการณ์และอัตราการร้อนขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งบ่งชี้ว่า มีการดูดซับความร้อนอย่างต่อเนื่องจากความไม่สมดุลของการแผ่รังสีที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจก

(A) แผนที่โลกที่แสดงหมวดหมู่ Marine Heat Wave(MHW) สูงสุด (สำหรับคำจำกัดความโปรดดูข้อมูลคลื่นความร้อนทางทะเล) ที่พบในแต่ละพิกเซลในช่วงปีที่ผ่านมาโดยประมาณโดยใช้ชุดข้อมูล NOAA OISST v2.1 (ช่วงอ้างอิงปี 2525-2554) สีเทาอ่อนแสดงว่าไม่มี MHW เกิดขึ้นในพิกเซลตลอดทั้งปี (B) พล็อตแท่งแบบเรียงซ้อนแสดงเปอร์เซ็นต์ของพิกเซลมหาสมุทรที่พบ MHW ในวันใดก็ได้ของปี (C) พล็อตแท่งแบบเรียงซ้อนแสดงเปอร์เซ็นต์สะสมของมหาสมุทรที่มี MHW ในช่วงปี เส้นแนวนอนในรูปนี้แสดงเปอร์เซ็นต์สุดท้ายสำหรับ MHW แต่ละประเภท (D) พล็อตแท่งแบบเรียงซ้อนแสดงจำนวนวัน MHW สะสมโดยเฉลี่ยของพิกเซลทั้งหมดในมหาสมุทร (ที่มา: Robert Schlegel, IMEV)

ในอาร์กติก ปริมาณน้ำแข็งในทะเลต่ำสุดต่อปีนั้นลดลงเป็นประวัติการณ์ และพบว่ามีน้ำแข็งในทะเลต่ำเป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฎาคมและตุลาคม ระดับน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกยังคงใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะยาว

ความแตกต่างของขอบเขตทะลน้ำแข็งจากค่าเฉลี่ยปี 2524-2553 ในอาร์กติก (ซ้าย) และแอนตาร์กติก (ขวา) สำหรับเดือนที่มีน้ำแข็งปกคลุมสูงสุด (อาร์กติก : มีนาคม / แอนตาร์กติก : กันยายน) และน้ำแข็งปกคลุมต่ำสุด (อาร์กติก : กันยายน / แอนตาร์กติก : กุมภาพันธ์) ข้อมูลจาก EUMETSAT OSI SAF v2p1 (Lavergne et al., 2019) และ NSIDC v3 (Fetterer et al., 2017)
ความผิดปกติของอุณหภูมิสำหรับอาร์กติกเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวปี 2524-2553 จากการวิเคราะห์ใหม่ของแบบจำลอง ERA5 ในเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2563 เครดิต: Copernicus Climate Change Service, ECMWF (ขวาบน) Fire Radiative Power ซึ่งเป็นหน่วยวัดความร้อนที่ส่งออกจากไฟป่าใน Arctic Circle ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2563 Credit: Copernicus Atmosphere Monitoring Service, ECMWF (ล่างซ้าย) ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดในเดือน ม.ค. – ก.ย. 2563 แสดงเป็นเปอร์เซ็นไทล์ของช่วงเวลาอ้างอิงในปี 2494-2553 สำหรับพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุด 20% (สีน้ำตาล) และฝนตกชุก 20% (สีเขียว) ของปีในช่วงเวลาอ้างอิงโดยมีเฉดสีน้ำตาลและเขียวเข้มขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุดและฝนตกชุกที่สุด 10% ตามลำดับ เครดิต: Global Precipitation Climatology Center (GPCC) (ด้านล่างขวา) ความผิดปกติของความเข้มข้นของทะเลน้ำแข็งในเดือนกันยายน 2563 เครดิต: ข้อมูล EUMETSAT OSI SAF พร้อมข้อมูล R&D จาก ESA CCI

พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ยังคงสูญเสียมวลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความสมดุลของมวลพื้นผิวจะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะยาว แต่การสูญเสียน้ำแข็งเนื่องจากการหลุดของภูเขาน้ำแข็งนั้นอยู่ในระดับสูงสุดจากระบบข้อมูลที่บันทึกโดยดาวเทียมในช่วง 40 ปี โดยรวมแล้วน้ำแข็งประมาณ 152 กิกะตัน สูญหายไปจากพืดน้ำแข็งระหว่างเดือนกันยายน 2562 ถึงสิงหาคม 2563

ส่วนประกอบของสมดุลมวลรวมของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ ปี 2529-2563 สีน้ำเงิน : สมดุลของมวลพื้นผิว /สีเขียว : การละลายของมวลน้ำแข็ง / สีแดง : ความสมดุลของมวลรวม ผลรวมของสมดุลมวลพื้นผิวและการละลายของมวลน้ำแข็ง

ฝนตกหนักและน้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาและเอเชียในปี 2563 ฝนตกหนักและน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาค ซาเฮล(Sahel) และ Greater Horn of Africa) ของแอฟริกา อนุทวีปอินเดียและพื้นที่ใกล้เคียง จีน เกาหลีและญี่ปุ่น และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงเวลาต่างๆ ของปี

(ซ้าย) ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดในเดือน ม.ค. – ก.ย. 2563 ซึ่งแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ไทล์ของช่วงเวลาอ้างอิงปี 2494-2553 สำหรับพื้นที่ที่ฝนตกชุก 20% (สีน้ำตาล) และฝนตกชุก 20% (สีเขียว) ของปีในช่วงเวลาอ้างอิง โดยมีเฉดสีน้ำตาลและเขียวเข้มขึ้นแสดงว่าแห้งแล้งที่สุด และฝนตกชุก 10% ตามลำดับ (ที่มา: Global Precipitation Climatology Center (GPCC), Deutscher Wetterdienst, Germany) (ขวา) ความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 ที่สังเกตได้ของปริมาณน้ำฝนรายวันทั้งหมดในเดือน ม.ค. – ก.ย. 2563 และค่าเฉลี่ยระยะยาวตามปี 2525-2559 (ทั้งปี) สีน้ำเงินหมายถึงเหตุการณ์ฝนตกในแต่ละวันที่รุนแรงมากขึ้นและสีน้ำตาลน้อยกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว

ด้วยพายุที่ได้รับการตั้งชื่อ 30 ลูก (ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน) ฤดูกาลพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือมีจำนวนพายุที่ได้รับการตั้งชื่อมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ พายุลูกสุดท้ายของฤดูกาล(จนถึงปัจจุบัน) พายุ Iota ยังเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในระดับ 5

ปรากฏการณ์พายุโซนร้อนในมหาสมุทรอื่นๆ มีความใกล้เคียงหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แม้ว่าจะมีผลกระทบรุนแรงก็ตาม

ภัยแล้งที่รุนแรงส่งผลกระทบหลายส่วนของทวีปอเมริกาใต้ในปี 2563 โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา ปารากวัย และพื้นที่ชายแดนทางตะวันตกของบราซิล ความสูญเสียทางการเกษตรอยู่ที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณในบราซิลโดยมีความเสียหายเพิ่มขี้นในอาร์เจนตินา อุรุกวัยและปารากวัย

จำนวนคนที่ขาดสารอาหารในโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2019 ค่าที่คาดการณ์ไว้ในภาพแสดงเป็นเส้นประและวงกลมว่างเปล่า พื้นที่สีเทาแสดงถึงการคาดการณ์สำหรับระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นจากปี 2562 ถึงปีเป้าหมาย 2573 (ที่มา: FAO)

เหตุการณ์สภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชากรอย่างมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมถึงผู้คนในภูมิภาคแปซิฟิกและอเมริกากลาง

สรปความจาก https://reliefweb.int/report/world/wmo-provisional-report-state-global-climate-2020