คำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ของศาลแห่งเมืองดัชต์ ให้อุตสาหกรรมฟอสซิลรายใหญ่อย่างเชลล์ต้องต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ในปี 2573 ตามเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะภัยและผลกระทบที่ไม่สามารถย้อนกลับได้จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ มีความน่าสนใจและข้อสังเกตหลายประการดังนี้

1) เป็นผลจากการศึกษาเชิงสืบสวนสอบสวนโดยใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ซึ่งริเริ่มโดย Carbon Disclosure Project (CDP) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อม CDP ได้ตีพิมพ์รายงานชื่อ Carbon Majors Database ในปี 2560 ระบุว่า มีอุตสาหกรรมฟอสซิลจำนวน 100 แห่งทั่วโลกมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 71% ของการปล่อยรวมทั้งหมด และหนึ่งในนั้นก็คือ Shell

2) ทำไมต้องเป็น Shell และเป็นศาลเนเธอร์แลนด์ เหตุผลก็คือ Shell จริงๆ แล้วก็คือ Royal Dutch Shell Public Company Limted ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเฮก เริ่มแรกเป็นการรวมตัวของ Koninklijke Nederlandse Petroleum Maatschappij และ the Shell Transport and Trading Company Limited ของสหราชอาณาจักร จากนั้น Oil and Gas Supermajor อย่าง Royal Dutch Shell ก็สยายปีกไปทั่วโลก ไม่มีใครไม่รู้จัก ดังนั้น การฟ้องร้องที่นำโดยกลุ่ม non-profit ที่จดทะเบียนในเนเธอร์แลนด์อย่าง Friends of the Earth Netherlands (Milieudefensie) ร่วมกับกรีนพีซ เนเธอร์แลนด์, ActionAid, Both ENDS, Fossielvrij NL, Jongeren Milieu Actief, Waddenvereniging และโจทก์ร่วมทั้ง 17,379 คน นั้นก็สมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง

3) อันนี้ต้องอุทานออกมาดังๆ คำตัดสินของ The Hague District Court ก็ยิ่งชัดเจน ขึ้นต้นว่า The Hague District Court has ordered Royal Dutch Shell (RDS) to reduce the CO2 emissions of the Shell group by net 45% in 2030, compared to 2019 levels, through the Shell group’s corporate policy และศาลเขายึดมั่นไม่เฉพาะหลักการทางกฎหมาย แต่หลักการทางวิทยาศาสตร์ด้วยโว้ย ใครมีเวลาลองเข้าไปอ่าน verdict เวอร์ชันอังกฤษของเขาดูที่ https://uitspraken.rechtspraak.nl/inziendocument?id=ECLI:NL:RBDHA:2021:5339&showbutton=true&keyword=Shell