วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เครื่องมือ Operational Land Imager (OLI) บนดาวเทียม Landsat 8 บันทึกภาพสีธรรมชาติของเรือเดินสมุทรที่มีควันไฟลอยพุ่งขึ้นมาบริเวณนอกชายฝั่งทะเลศรีลังกา

จากการรายงานข่าว เรือเดินสมุทรบรรทุกสินค้าลำนี้เกิดไฟใหม้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมช่วงที่เรือซึ่งกำลังบ่ายหน้าไปยังสิงคโปร์ทำการทอดสมอในทะเลบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโคลัมโบเพื่อรอเทียบท่าเรือ ลูกเรือใช้เวลาราวสองสัปดาห์ในการดับเพลิงที่ลุกไหม้ หลังจากนั้นไม่นาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้เรือพยายามให้เรือเคลื่อนย้ายออกไปในเขตทะเลที่มีน้ำลึกกว่า พวกเขาทำได้เพียงลากจูงเรือออกไปในระยะสั้นๆก่อนที่ส่วนท้ายของเรือจะจมลง

เรือลำนี้บรรทุกคอนเทนเนอร์กว่า 1,400 อัน มีบางคอนเทนเนอร์ได้หลุดตกลงในทะเลไปแล้ว เม็ดพลาสติกขนาดเล็กที่เรียกว่า nurdle จำนวนมหาศาลกระจายออกไปตกค้างอยู่ตามชายหาด ยังมีความกังวลเรื่องการรั่วไหลของกรดไนตริก และน้ำมัน รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่อาจจะกระทบกับระบบนิเวศวิทยาทางทะเล

หน่วยงานระหว่างประเทศและสหรัฐอเมริกามีบทบาทในการรับมือเฉพาะหน้ากับหายนะครั้งนี้ NASA เองก็มีบทบาทในการช่วยสังเกตติดตามและวิเคราะห์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา NASA ได้พัฒนาขีดความสามารถอย่างแข็งขันเพื่อแบ่งปันข้อมูล Earth observations เพื่อยกระดับการคาดการณ์ การเตรียมความพร้อม การรับมือ และการฟื้นฟูจากหายนะภัยทางธรรมชาติและเทคโนโลยี

NASA และ กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ตอบรับการร้องขอข้อมูลและภาพถ่ายที่รวบรวมจาก International Charter for Space and Major Disasters ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกของหน่วยงานด้านอวกาศต่างๆ โดยให้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมฟรีกับกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในกรณีนี้ ศูนย์ Asian Disaster Reduction Center ร่วมมือกับศูนย์การจัดการภัยพิบัติของศรีลังกา โดยรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล( remote sensing) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหายนะภัยของไฟไหม้เรือครั้งนี้โดยสามารถดูได้ที่นี่

นอกเหนือจากเหตุไฟไหม้เรือบรรทุกสินค้า ศรีลังกายังเผชิญกับอุทกภัยและดินถล่มอย่างหนักอันเนื่องมาจากพายุมรสุม ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่

หมายเหตุ : NASA Earth Observatory images by Lauren Dauphin, using Landsat data from the U.S. Geological Survey. Story by Adam Voiland.

ที่มาข้อมูล